สังคมจีนช่วยลด "การแบ่งแยกทางดิจิทัล" ดึงผู้สูงวัยเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่
(แฟ้มภาพซินหัว : ชายแซ่หยางโชว์อิโมติคอนออนไลน์ที่เขาเพิ่งทำให้เพื่อนบ้านดู ในชุมชนแห่งหนึ่งของเมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน วันที่ 6 ก.ย. 2019)
กว่างโจว, 6 พ.ย. (ซินหัว) -- อุปสรรคอย่างแรกที่หวังเจียเซียงวัย 70 ปีต้องเผชิญหลังย้ายจากหมู่บ้านมาอยู่ในเมืองใหญ่พร้อมกับลูกชาย คือโลกเสมือนจริงในออนไลน์หลังจากเดินทางมาถึงกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกว่างตงทางตอนใต้ของจีน ชาวบ้านจากมณฑลกุ้ยโจวทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนรายนี้ก็ได้รับรู้ว่า ในปัจจุบันนี้ ชาวเมืองใช้แอปพลิเคชันมือถือในการจัดการธุระส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวันอย่างไรก็ตาม หวังไม่อาจเข้าใจว่าจะใช้ "ไอคอนสีสันสดใส" บนสมาร์ตโฟนของเขาเพื่อนัดหมายแพทย์ จองตั๋วรถไฟ สั่งซื้ออาหารกลับบ้าน หรือเรียกแท็กซี่ได้อย่างไรหวังเคยขอให้ลูกชายสอนวิธีการจองตั๋วรถไฟผ่านโทรศัพท์ แต่ไม่อาจทำตามขั้นตอนที่ซับซ้อนได้จนจบ เนื่องจาก "สายตาและความจำไม่ดี" หลังจากพยายามอยู่หลายครั้ง หวังก็ยอมแพ้ ในขณะที่ลูกชายของเขาเริ่ม "หมดความอดทน""ในเมืองใหญ่
ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะทำได้ด้วยสมาร์ตโฟน ซึ่งเป็นเรื่องยากเกินไปสำหรับผม ผมใช้ระบบคุยด้วยเสียงในวีแชตได้เท่านั้น" หวังกล่าวหวังไม่ได้เป็นเพียงคนเดียวที่มีปัญหานี้ในสังคมจีนที่กำลังกลายเป็นสังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็ว ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีในจีน มีจำนวนถึง 254 ล้านคนเมื่อนับถึงสิ้นปี 2019 และประเมินว่ามีผู้สูงอายุมากกว่า 100 ล้านคนที่ไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ตอกย้ำถึงความยากลำบากของผู้สูงอายุ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทสำคัญในการต่อต้านไวรัส ตั้งแต่การใช้รหัสสุขภาพที่ใช้กันทั่วทุกแห่ง ไปจนถึงการสั่งอาหารผ่านรหัสคิวอาร์แทนเมนู และกระแสอีคอมเมิร์ซที่เฟื่องฟู นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่บีบคั้นทุกทางเพื่อจัดการกับการแบ่งแยกทางดิจิทัลดังกล่าว หลายเมืองในจีนจึงต้องปรับมาตรการรองรับในช่วงวันหยุดวันชาติช่วงต้นเดือนตุลาคม
สถานีรถไฟอู๋ซีในมณฑลเจียงซูทางตะวันออกของจีนได้เปิดช่องทางสำหรับผู้ที่ไม่มีรหัสสุขภาพดิจิทัล ซึ่งได้รับเสียงชื่นชมในเรื่องการอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวสูงอายุทางการท้องถิ่นในมณฑลซื่อชวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน สั่งให้โรงพยาบาลจัดตั้งช่องทางเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้พวกเขาสามารถต่อแถวลงทะเบียน พบแพทย์ และชำระค่าธรรมเนียมได้โดยไม่ต้องใช้สมาร์ตโฟนขณะเดียวกันในตำบลเล่อฉง เมืองโฝซาน มณฑลกว่างตง นักสังคมสงเคราะห์เข้ามาช่วยเหลือผู้สูงอายุให้เอาชนะปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
ชั้นเรียนการใช้สมาร์ตโฟนที่จัดขึ้นในชุมชนท้องถิ่นทุกวันอังคารได้รับความนิยมในหมู่ผู้สูงอายุอย่างยิ่ง"คนชราจำนวนมากกระตือรือร้นที่จะตามสังคมดิจิทัลที่กำลังเติบโตให้ทัน" เฉินจือฮุ่ย เจ้าหน้าที่ชุมชนตำบลเล่อฉงและผู้สอนหลักสูตรสมาร์ตโฟนกล่าวและเสริมว่าผู้อยู่อาศัยในวัยชราจำนวนมากรู้สึกลังเลที่จะรบกวนลูกหลานที่ทำงานยุ่งและยินดีขอความช่วยเหลือจากชุมชนมากกว่าเฉินสอนการใช้แอปวีแชท โต่วอิน (ติ๊กต็อกเวอร์ชันภาษาจีน) และแอปนำทางตามหลักสูตรฝึกอบรม
เธอจะแสดงคำแนะนำของแอปด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าใจง่ายขึ้น"ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เพราะคนชราต้องอ่านเนื้อหาซ้ำหลายครั้งกว่าจะจดจำได้" เฉินกล่าว "ฟังก์ชันทั่วไปที่วัยรุ่นทำความเข้าใจได้ไม่ยาก สำหรับคนชราแล้วจำเป็นต้องทำซ้ำๆ ประมาณ 4-5 ครั้ง"เซี่ยคุนตี้ หญิงชราวัย 70 ปี เชื่อว่าชั้นเรียนนี้เกิดประโยชน์ หลังจากเรียนรู้การใช้สมาร์ตโฟนอย่างเชี่ยวชาญ เซี่ยและสามีของเธอก็ชอบเดินทางและทำอัลบั้มเพลงจากภาพที่ถ่ายระหว่างการเดินทาง พวกเขาแบ่งปัน "ผลงาน" ในกลุ่มวีแชทครอบครัว และรู้สึกยินดีที่ได้รับ "ไลก์" จากสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆโอวหยางจือเจี๋ย เลขาธิการของศูนย์บริการงานสังคมสงเคราะห์กว่างตงรุ่ยจือเรียกร้องให้หลายฝ่ายช่วยกันพยายามลดช่องว่างทางดิจิทัลนี้เขากล่าวว่า "หน่วยงานของรัฐต้องทำให้บริการดิจิทัลของตนเป็นมิตรกับผู้สูงอายุ และต้องรักษาช่องทางการให้บริการแบบออฟไลน์เอาไว้ ส่วนนักพัฒนาแอปก็ควรสร้างเวอร์ชันที่เหมาะกับผู้สูงอายุสำหรับผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงอายุ"ซุนหยาง นักสังคมสงเคราะห์ในกว่างโจว แนะนำว่าสมาชิกวัยเยาว์ในครอบครัวควรอดทนและกระตือรือร้นในการสอนเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้พวกเขาปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้ดียิ่งขึ้น