รีเซต

‘บิ๊กอู๊ด’ ห่วงคนกีฬานอกระบบ ไร้ทั้งงานไร้ทั้งเงินอดตายแน่นอน

‘บิ๊กอู๊ด’ ห่วงคนกีฬานอกระบบ ไร้ทั้งงานไร้ทั้งเงินอดตายแน่นอน
มติชน
7 พฤษภาคม 2563 ( 04:26 )
90
‘บิ๊กอู๊ด’ ห่วงคนกีฬานอกระบบ ไร้ทั้งงานไร้ทั้งเงินอดตายแน่นอน

‘บิ๊กอู๊ด’ ห่วงคนกีฬานอกระบบ ไร้ทั้งงานไร้ทั้งเงินอดตายแน่นอน

“บิ๊กอู๊ด” ดร.ภิญโญ นิโรจน์ ส.ส.นครสวรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตประธานกรรมมาธิการกีฬา สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า หลังจากเมื่อวันก่อนที่ตนได้เอ่ยถึงการช่วยเหลือบุคคลในวงการกีฬา ที่ประสบกับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ก็ได้จัดสรรงบประมาณช่วยเหลือแล้ว แต่ในส่วนนั้นเป็นบุคคลากรกีฬาที่อยู่ในระบบ อีกทั้งมีสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยต้นสังกัดคอยช่วยเหลือดูแลบ้างแล้วบางส่วน

ดร.ภิญโญ กล่าวว่า สิ่งที่ตนเองอยากจะพูดถึงในประเด็นต่อไปคือ “คนกีฬา” ที่ไม่อยู่ในระบบ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และประกาศเคอร์ฟิว ทำให้สถานที่ประกอบการด้านกีฬาไม่สามารถเปิดให้บริการ หรือดำเนินธุรกิจได้ อย่างเช่น โต๊ะสนุกเกอร์ ลองคิดภาพดูว่าในประเทศไทยมีโต๊ะสนุกเกอร์กี่แห่ง แต่ละแห่งมีพนักงานกี่คนที่ต้องตกงานในช่วงนี้ บางคนโชคดีก็ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาลเดือนละ 5,000 บาท แต่มีจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับเงินส่วนนี้ แล้วเขาจะมีชิตอยู่อยู่อย่างไร หลายคนต้องดูแลครอบครัว ดูแลลูก

“นอกจากโต๊ะสนุกเกอร์แล้ว ยังมีสนามมวยและค่ายมวยในต่างจังหวัด เริ่มจากสนามมวยถูกห้ามจัดมวยชก นักมวยก็ขาดรายได้ ผมเชื่อว่านักมวยในประเทศไทยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ กกท. มีเป็นหมื่น ๆ คน ตั้งแต่อายุ 7-8 ขวบ ไปถึงนักมวยรุ่นใหญ่ พวกนี้อาศัยชกตามงานวัด ค่าตัวหลักร้อย บางคนก็เป็นเสาหลักในการหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว เมื่อไม่มีเวทีให้ชก ก็ไม่รู้จะเอาเงินมาจากไหน ขณะที่ค่ายมวยเองก็ลำบากไม่แพ้กัน บางค่ายดูแลนักมวยเป็นสิบ ๆ คน แค่ค่าข้าวค่าอาหารวันหนึ่งก็หลายร้อยบาท ไม่รวมค่าน้ำค่าไฟ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ นักมวยก็ไม่มีเงิน เจ้าของค่ายก็ย่ำแย่ ยังไม่รนับรวมกับกรรมการให้คะแนน กรรมการห้ามบนเวที และพวกปี่กลองที่ไม่มีงานมากว่า 2 เดือนแล้ว เขาจะอยู่จะกินกันอย่างไร อดตายแน่นอน” ดร.ภิญโญ กล่าว

“บิ๊กอู๊ด” กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้พวกโรงเรียนสอนเทควันโดที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เวลานี้ไม่มีนักเรียนมาเรียน รายได้ก็ไม่มี แต่ยังต้องจ่ายค่าเช่า ค่าน้ำ ค่าไฟตามปกติ ที่ตนยกตัวอย่างมาแค่ 3 ชนิดกีฬาเท่านั้น แต่น่าจะมีคนกีฬาเดือดร้อนหลายหมื่นคน เชื่อว่ายังมีกีฬาอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในระบบเดือนร้อนเช่นกัน บุคคลกีฬาเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น นักกีฬา เจ้าของกิจการ เจ้าของค่าย กรรมการผู้ตัดสิน หรือคนที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับกีฬาพื้นฐาน กีฬาพื้นบ้าน พวกเขาไม่รู้จะไปร้องเรียนกันหน่วยงานใด ตนจึงอยากจะฝากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้หามาตรการช่วยคนกีฬานอกระบบพวกนี้ให้รอดจากวิกฤติในครั้งนี้ เอาเฉพาะผู้ที่เดือดร้อนไม่มีงาน และไม่ได้รับเงินเยียวยาจากรัฐบาล ส่วนใครที่มีงานประจำก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง