รีเซต

ปธ.ซัมมิท โอโตบอดี้ฯรับอุตชิ้นส่วนเริ่มลดพนักงาน เหตุออเดอร์ยังรวน ภาวนามิ.ย.ฟื้น

ปธ.ซัมมิท โอโตบอดี้ฯรับอุตชิ้นส่วนเริ่มลดพนักงาน เหตุออเดอร์ยังรวน ภาวนามิ.ย.ฟื้น
มติชน
2 มิถุนายน 2563 ( 07:02 )
334
ปธ.ซัมมิท โอโตบอดี้ฯรับอุตชิ้นส่วนเริ่มลดพนักงาน เหตุออเดอร์ยังรวน ภาวนามิ.ย.ฟื้น

 

ปธ.ซัมมิท โอโตบอดี้ฯรับอุตฯชิ้นส่วนเริ่มลดพนักงาน เปิดสมัครใจลาออกเน้นซัพคอนแทรค-ลดเวลาทำงาน เหตุออเดอร์ยังรวน ภาวนามิ.ย.ฟื้น ลุ้นรบ.หนุนรถเก่าแลกใหม่พร้อมลดภาษี

 

นายกรกฤช จุฬางกูร ประธานบริหาร บริษัท ซัมมิท โอโตบอดี้ อินดัสตรี จำกัด และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์หลังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนตที่ยอดผลิตรถยนต์ลดลงจากผลกระทบโควิด-19 ว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ได้รับผลกระทบอย่างหนักหลังจากยอดการผลิตรถยนต์ลดลงเฉลี่ยถึง 80% ซึ่งบริษัท ซัมมิท โอโตบอดี้ฯ และบริษัทในเครือ

 

รวมทั้งบริษัทอื่นๆต่างได้รับผลกระทบ ดังนั้นเวลาการปรับตัวของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯคือต้องพยายามลดต้นทุน อาทิ การปรับลดเวลาทำงานจาก 2 กะเหลือ 1 กะ การสลับกันทำงานของแรงงานที่มีอยู่ การเปิดให้ลาออกโดยสมัครใจจะเน้นที่กลุ่มสัญญารับช่วง(ซัพคอนแทรค)ก่อน เพราะแรงงานประจำของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯเป็นกลุ่มที่มีฝีมือ หรือซัพคอนแทรคหลายรายก็มีฝีมือ ผู้ประกอบการจึงพยายามรักษาการจ้างงานให้มากที่สุด โดยตัวเลขแรงงานทั้งระบบล่าสุดปี 2562 ประเมินอยู่ที่ 550,00 คน แบ่งเป็น แรงงานในอุตสาหกรรมรถยนต์ 100,000 คน และแรงงานในอุตสาหกรรมชิ้นส่วน 450,000 คน

 

“กรณี กลุ่ม บริษัท ไทยซัมมิท พีเคเค เปิดโครงการสมัครใจลาออก พร้อมจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมาย เป็นเหตุการณ์ที่บริษัทพยายามปรับตัวและรักษาการจ้างงานให้มากที่สุด ซึ่งอุตสาหกรรมชิ้นส่วนมีการหารือร่วมตลอด แต่ต้องยอมรับว่าผลกระทบจากโควิด-19 ค่อนข้างมาก ปกติคำสั่งซื้อล่วงหน้าคือ 3 เดือนไม่ค่อยเปลี่ยน แต่ปัจจุบันแทบจะเปลี่่ยนทุก 1 เดือน ความไม่แน่นอนทำให้เราต้องปรับตัว”นายกรกฤชกล่าว

 

นายกรกฤช กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อุตสาหกรรมชิ้นส่วนประเมินว่าช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม น่าจะเป็นเดือนที่ยอดขายต่ำที่สุด และเดือนมิถุนายนนี้จะกลับมาดีขึ้น โดยตลอดทั้งปีนี้คาดการณ์ยอดผลิตรถยนต์น่าจะอยู่ที่ 1,000,000 คัน หวังว่าจะไม่ลดลงไปกว่านี้ ซึ่งสถานการณ์นี้ภาคอุตสาหกรรมทั้งผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนอยากให้ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือ ที่ผ่านมาเสนอไป 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.มาตรการลดภาษีสรรพสามิต 50% แต่เบื้องต้นน่าจะเป็นไปได้มากเพราะปัจจุบันภาษีไม่สูงมาก ลดภาษีจึงไม่ส่งผลต่อราคาขายมากนัก 2.มาตรการรถเก่าแลกใหม่ พร้อมลดภาษีให้วงเงินประมาณ 100,000 บาท และ3.เสนอให้เลื่อนการบังคับใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร5และยูโร6 ซึ่ง 2 มาตรการหลังภาครัฐอยู่ระหว่างพิจารณา โดยกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนฯจะติดตามความคืบหน้าต่อ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง