รีเซต

นักวิชาการ เปิดข้อเท็จจริง น้ำท่วม นิคมฯ บางปู

นักวิชาการ เปิดข้อเท็จจริง น้ำท่วม นิคมฯ บางปู
TNN ช่อง16
31 สิงหาคม 2564 ( 07:27 )
119

สถานการณ์น้ำท่วมรอบนิคมอุตสาหกรรมบางปู เกิดขึ้นหลังจากฝนตกลงมาอย่างหนักอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ทำให้ถนนหลายสายและหมู่บ้านมีปริมาณน้ำท่วมขังสูง โดยเฉพาะถนนสุขุมวิท ถนนศรีนครินทร์ ถนนพุทธรักษา รวมทั้งถนนเทพารักษ์ เอ่อท่วมล้น เนื่องจากระบายน้ำไม่ทัน

 

นายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ในฐานะอดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานนโยบายและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับข้อมูลในรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ของนิคมอุตสาหกรรมบางปู ว่า   ระบบป้องกันน้ำท่วมของนิคมบางปูในรายงานอีไอเอกับสถานการณ์จริง

 

1. นิคมอุตสาหกรรมบางปูเกิดน้ำท่วมหนัก ได้เร่งสูบระบายน้ำต่อเนื่องตั้งแต่เวลา 02.00 น.ของวันที่ 30 สิงหาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน ลงในคลองโดยรอบเพื่อลงสู่ทะเลต่อไป ซึ่งน้ำเริ่มจะเต็มคลองแล้วประกอบกับน้ำทะเลหนุนทำให้ระดับน้ำลดลงได้ช้า

 

2. ข้อมูลในรายงานอีไอเอของนิคมอุตสาหกรรมบางปู จังหวัดสมุทรปราการโครง การปรับปรุงระบบป้องกันน้ำท่วมซึ่งเสนอต่อสผ.ในปี 2557ระบุว่าจะใช้งบประ มาณรวม 970ล้านบาทในการป้องกันน้ำท่วมด้วยการสร้างระบบเขื่อนเป็นคันดินสูง+2.20 ม. รทก.และ +2.25ม.รทก.ล้อมรอบพื้นที่ของโครงการขนาด 5472ไร่ (มีโรงงาน 420แห่ง) โดยทำเป็นคันดินยาวประมาณ17.10กม.บางส่วนมีลักษณะเป็นกำแพงเสริมคอนกรีตบนคันดินเดิมด้วย สามารถป้องกันน้ำจากภายนอกเข้ามาท่วมสูงสุดได้ในรอบ 70 ปี

 

3. ในรายงานอีไอเอระบุว่าระบบระบายน้ำฝนภายในนิคมจะแยกออกจากระบบรวบ รวมน้ำเสีย โดยมีสถานีสูบน้ำลงสู่คลองโดยรอบ14 สถานี คิดเป็นปริมาณน้ำรวม 78,432ลบ.ม./ชม. และมีบ่อหน่วงน้ำ11 บ่อ มีความจุกักน้ำฝนได้รวม83,900 ลบ.ม.และมีลำรางระบายน้ำฝนขนาด 274,076 ลบ.ม.ภายในนิคมซึ่งสามารถชะลอน้ำฝนเก็บไว้ในโครงการได้อีก 

 

สรุปได้ว่าระบบบ่อหน่วงน้ำฝนในนิคมอุตสาหกรรมบางปูจะสามารถรองรับน้ำฝนได้อย่างเพียงพอซึ่งคิดในกรณี worst case แล้ว กล่าวคือคิดปริมาณน้ำจากกรณีที่ฝนตกหนักในรอบ 70 ปี ดังนั้น นิคมบางปูจึงเสนอไว้ในรายงานว่าในช่วงฝนตกหนักจะไม่มีการระบายน้ำออกนอกนิคมฯ เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ชุมชนโดยรอบ

 

4. แต่ในข้อเท็จจริงแล้วฝนที่ตกลงมาในวันที่ 29 สค.64 ทำให้นิคมอุตสาหกรรมบางปูเกิดน้ำท่วมอย่างหนัก บ่อหน่วงน้ำเก็บน้ำไว้ได้ไม่เพียงพอ เขื่อนคันดินโดยรอบนิคมฯ กลายเป็นกำแพงกันไม่ให้น้ำไหลออกไปข้างนอก ลำคลองหลังนิคมถูกถมเป็นถนน เป็นต้น จนเกิดน้ำท่วมในนิคมสร้างความเสียหายแก่โรงงานที่ตั้งอยู่ภายในอย่างหนัก จนต้องทำการสูบน้ำลงคลองโดยรอบตั้งแต่ตี 2 ของคืนที่ผ่านทำให้น้ำล้นตลิ่งท่วมชุมชนมากขึ้น

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง