รู้สักนิด! วิธีช่วยคนเผลอ 'กินสารเคมี' ก่อนส่งโรงพยาบาล ผ่านกรณี 'น้านงค์ เชิญยิ้ม'
โซเชียวฯ ห่วงขอ “น้านงค์ เชิญยิ้ม” ตลกสายฉ่อย หนึ่งในผู้ดำเนินรายการหลักคุณพระช่วยร่วมกับ “น้าโย่ง เชิญยิ้ม” และ “น้าพวง เชิญยิ้ม” ปลอดภัย หลังหยิบผิดเผลอดื่มน้ำยาล้างเครื่องเงิน จนต้องหามเข้าห้อง ICU
ทั้งนี้ การเผลอกินสารพิษโดยไม่ตั้งใจ หรือไม่รู้ตัว สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง กับทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก ไปจนถึงผู้สูงวัย
วันนี้ TrueID รวมรวมวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยเหลือคนเผลอกินสารเคมี หรือได้รับสารพิษ เข้าร่างกายก่อนนพผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล มาดูกันเลย
การประเมินภาวะการได้รับสารพิษ
สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์ ระบุข้อมูลเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษว่า การได้รับสารพิษ เป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการปฐมพยาบาลที่รีบด่วน และเฉพาะเจาะจง
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดคือ จะต้องประเมินจำแนกให้ได้ว่าอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยนั้น ว่าเกิดจากสารพิษใด นอกจากประเมินอาการแล้ว ยังจำเป็นต้องสังเกตสภาพการณ์ สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยร่วมด้วย ดังนี้
- การคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง น้ำลายฟูมปาก หรือมีรอยไหม้นอกบริเวณริมฝีปาก มีกลิ่นสารเคมีบริเวณปาก
- เพ้อ ชัก หมดสติ มีอาการอัมพาตบางส่วนหรือทั่วไป ขนาดช่องม่านตาผิดปกติ อาจหดหรือขยาย
- หายใจขัด หายใจลำบาก มีเสมหะมาก มีอาการเขียวปลายมือปลายเท้า หรือบริเวณริมฝีปาก ลมหายใจมีกลิ่นสารเคมี
- ตัวเย็น เหงื่อออกมาก มีผื่นหรือจุดเลือดออกตามผิวหนัง
- สภาพการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่บ่งชี้ถึงภาวะการได้รับสารพิษ
- เกิดอาการผิดปกติขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน โดยที่ผู้ป่วยเป็นคนที่แข็งแรงสมบูรณ์มาก่อน
- เกิดอาการขึ้นกับคนหลาย ๆ คน หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน
- ในบริเวณที่พบผู้ป่วยมีภาชนะบรรจุสารพิษ หรือเป็นแหล่งของสัตว์มีพิษ เช่น งูพิษ แมงป่อง แมงกะพรุนไฟ
- มีปัญหาทางด้านจิตใจ ได้แก่ เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย มีประวัติพยายามฆ่าตัวตาย ผิดหวังในชีวิต หรือการทำงาน มีศัตรูปองร้าย
การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษ
จำแนกตามวีถีทางที่ได้รับ 3 ทาง ดังนี้
- การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางปาก
- การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางการหายใจ
- การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับสารพิษทางผิวหนัง
ผู้ช่วยเหลือต้องทำการประเมินผู้ที่ได้รับสารพิษก่อน แล้วจึงพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ ดังนี้
- ทำให้สารพิษเจือจาง ในกรณีรู้สึกตัวและไม่มีอาการชัก โดยการดื่มน้ำชาซึ่งหาได้ง่าย แต่ถ้าได้นมจะดีกกว่า เพราะว่าจะช่วยเจือจางสารพิษแล้ว ยังช่วยเคลือบและป้องกันอันตรายต่อเยื่อบุทางเดินอาหาร
- นำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้องเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร
- ทำให้ผู้ป่วยอาเจียน เพื่อเอาสารพิษออกจากกระเพาะอาหาร ในกรณีที่ต้องใช้เวลานานในการนำส่งผู้ป่วย เช่น ใช้นิ้วล้วงคอ ใช้ไม้พันสำลีกวาดคอซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้ รู้สึกอยากขย้อน อยากอาเจียน
ข้อห้ามในการทำให้ ผู้ป่วยอาเจียน
- หมดสติ
- ได้รับสารพิษชนิดกัดเนื้อ เช่น กรด ด่าง
- รับประทานสารพิษพวก น้ำมันปิโตรเลียม เช่น น้ำมันก๊าด เบนซิน
- มีสุขภาพไม่ดี เช่น โรคหัวใจ
อีกทั้ง ให้สารดูดซับสารพิษในระบบทางเดินอาหาร เพื่อลดปริมาณการดูดซึมสารพิษเข้าสู่ร่างกาย สารที่ใช้ได้ผลดี คือ Activated charcoal มีลักษณะเป็นผงถ่านสีดำ ใช้ 1 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำ 1 แก้ว ให้ ผู้ป่วย ดื่ม ถ้าหาไม่ได้ อาจใช้ไข่ขาว 3 - 4 ฟอง ตีให้เข้ากันให้ ผู้ป่วยรับประทาน ซึ่งควรใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
- รับประทานสารพิษเข้าไปเกินครึ่งถึง ๑ ชั่วโมง เพราะสารพิษผ่านกระเพาะอาหารลงไปยังลำไส้แล้ว การให้อาเจียนอาจไม่ได้ผล
- หลังจากทำให้อาเจียนแล้ว ไม่แน่ใจว่าสารพิษจะถูกขับออกมาหมดโดยการอาเจียน
- ไม่สามารถทำให้ ผู้ป่วยอาเจียนได้
- นำส่งโรงพยาบาล เมื่อให้การปฐมพยาบาลแล้ว ขณะนำส่งให้สังเกต อาการและอาการแสดง ตลอด เวลาและให้การช่วยเหลือถ้า ผู้ป่วยหยุดหายใจและหัวใจหยุดเต้น โดยการนวดหัวใจและการผายปอด