รีเซต

พิธีบูชาพระแม่ลักษมี กลุ่มคนในระนองฉลองเทศกาลดีปาวลี มีส่องเลขด้วย

พิธีบูชาพระแม่ลักษมี กลุ่มคนในระนองฉลองเทศกาลดีปาวลี มีส่องเลขด้วย
ข่าวสด
15 พฤศจิกายน 2563 ( 05:54 )
637

พิธีบูชาพระแม่ลักษมี - เมื่อเวลา 00.09 . วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นคืนที่พระจันทร์มืดมิดที่สุดในรอบปี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มผู้นับถือฮินดูที่จังหวัดระนองทำพิธีบูชาและต้อนรับพระแม่ลักษมี ฉลองคืนดีปาวลีหรือเทศกาลแห่งแสงไฟของศาสนาฮินดู

 

ดีปาวลี เป็นวันที่พี่น้องทั่วโลกที่นับถือ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูศาสนาซิกข์, ศาสนาเชน ร่วมเฉลิมฉลองตามอาคาร บ้านเรือน ร้านค้า ถนนหนทาง และศาสนสถาน โบสถ์พราหมณ์ของฮินดู, คุรุทวาราของซิกข์ และ เชนสถานของเชน จะตกแต่งด้วยสีสดใสและประดับแสงไฟสว่างไสว เพื่อเฉลิมฉลอง ในเทศกาลดีวาลี คืนที่มืดมิดที่สุดของเดือน การ์ติกา ตามปฏิทินฮินดู

 

 

ที่อำเภอเมือง จังหวัดระนอง มีกลุ่มคนเล็กๆจำนวนหนึ่ง ที่นับถือพระพิฆเนศ ทำพิธีบูชาและต้อนรับ พระแม่ลักษมี เทวีแห่งโชคลาภความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง

 

ทุกคนได้นำ กระเป๋าสตางค์ สมุดบัญชีธนาคารมาใส่พานร่วมพิธีด้วย ตามความเชื่อให้มีเงินงอกงามเพิ่มพูน บนโต๊ะบูชาไฟก็จะมี 5 น้ำอัมฤทธิ์ คือ น้ำนมสด น้ำเนย น้ำเชื่อม น้ำโยเกิร์ต และน้ำเชื่อม เพื่อตักอาบและถวายเทวรูปพระลักษมี

 

 

เริ่มจากการนำดอกกุหลาบจุ่มน้ำบริสุทธิ์มาปะพรมตามองค์เทวรูป ตามด้วยการสรงน้ำอัมฤทธิ์ทั้ง 5 ตามความเชื่อสิ่งบูชาทุกสิ่งเกิดจาก 4 ธาตุ คือ ดอกไม้ ผลไม้ เกิดจาก ธาตุดิน, น้ำอมฤตทั้ง 5 เกิดจาก ธาตุน้ำ

 

 

ธาตุไฟคือแสงจากไฟและแสงจากประทีปที่จุดสว่างไสว,ส่วนธาตุลม เกิดจากมนตราที่ออกจากปากที่ออกมา รวมทั้งกำญาณหรือธูปที่จะจุดต่อจากนี้ เพราะฉะนั้นการบูชาทั้ง ทางพุทธและฮินดู ก็ถือว่าเป็นการบูชาธรรมชาติเพื่อกลับคืนสู่ธรรมชาติ เป็นเรื่องปกติ

 

 

ระหว่างสรงน้ำอมฤตห้องค์พระลักษมี ด้วย นมสด น้ำเนย น้ำเชื่อม โยเกิร์ต และน้ำเชื่อม จะมีรอยเยิ้มไปตามตัวองค์เทวรูป ผู้มาร่วมพิธีต่างเห็นเป็นตัวเลข ชุดแรก 673 หลายคนต้องเอากล้องมือถือมาถ่ายเป็นภาพนิ่งเก็บไว้ด้วย

 

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง