รีเซต

'หมอธีระวัฒน์' แจงเคสป่วย 'โควิด-19' ซ้ำ ชี้เกิดได้แต่โอกาสน้อย ขึ้นกับสภาพร่างกาย

'หมอธีระวัฒน์' แจงเคสป่วย 'โควิด-19' ซ้ำ ชี้เกิดได้แต่โอกาสน้อย ขึ้นกับสภาพร่างกาย
มติชน
22 เมษายน 2563 ( 08:54 )
134
'หมอธีระวัฒน์' แจงเคสป่วย 'โควิด-19' ซ้ำ ชี้เกิดได้แต่โอกาสน้อย ขึ้นกับสภาพร่างกาย

 

โควิด-19 – เมื่อวันที่ 22 เมษายน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้กรณีมีการตรวจพบว่า ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 อย่างน้อย 2 ราย ในประเทศไทย หายป่วยแล้ว แต่ยังกลับมามีอาการด้วยโรคเดิม และยังตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19 ในร่างกาย ซึ่งขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) อยู่ระหว่างสอบสวนโรคนั้น ว่า ภาวะดังกล่าวมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส รวมถึงไวรัสโควิด-19 แต่โอกาสน้อยมาก ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละคน

 

ทั้งนี้ข้อความระบุว่า

“มีเป็นใหม่ได้หรือไม่ และ หายแล้วได้ยังแพร่ได้ อีกระยะหนึ่งหรือไม่?

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
22/4/63

ทั้งนี้ขึ้นกับว่าร่างกายพัฒนาระบบกำจัดไวรัสได้สมบูรณ์หรือไม่ และถ้ากำจัดได้ไม่สำเร็จก็จะใช้วิธีการควบคุมระยะยาว

และขึ้นกับว่าไวรัสสามารถหลบกระบวนการที่กำจัดหรือควบคุมระยะยาวได้เพียงใด และการที่ซ่อนตัว แฝงตัว ในที่ๆ การตรวจตราเข้าไม่ถึง รวมทั้งไวรัสเองยังสามารถที่จะแทรกแซงกระบวนการในการกำจัดไวรัสได้ทั้งในระยะต่างๆได้เก่งแค่ไหน

 

การกลับเป็นใหม่ยังขึ้นกับ : ระบบกำจัดไวรัสหลังจากที่มีการติดเชื้อแล้วจะอยู่ได้คงทน นานเพียงใด และ ‘ระบบจดจำ memory’ ต่อไวรัสเมื่อมีไวรัสเข้ามาใหม่ก็สามารถทำลายได้ทันที จะดีเหียงใด แต่ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมากนักและต้องประเมินสถานการณ์ตามพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

 

 

ดังนั้น การที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นและที่เกิดนั้นจะพบได้มากน้อยบ่อยเพียงใด จำเป็นที่จะต้องทราบการประพฤติการปฏิบัติตัวของไวรัส การวิวัฒนาการของไวรัส ที่มีผลต่อการแพร่ ต่อความรุนแรง ต่อการปรับตัวเข้ากับคนและสัตว์ชนิดต่างๆ มากชึ้นไปอีกหรือไม่ โดยไม่ได้ดูแต่รหัสพันธุกรรมอย่างเดียว

 

และต้องทราบการต่อสู้ของเซลล์ ของระบบน้ำเหลืองของคนที่ติดเชื้อ ควบรวมกับ การติดตามทางระบาดวิทยา รวมกระทั่งถึงการเฝ้าระวัง ลักษณะการแสดงโรคที่อาจผิดเพี้ยนไปจากเดิมไม่ว่าในระบบเดิม ที่เป็นอาการสำคัญ หรือเกิดขึ้นในระบบอวัยวะใหม่

 

ทั้งหมดนี้เป็นการ ‘มองโรค’ ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมดเสียทีเดียว ที่เกิดจากไวรัสโดยเฉพาะในกลุ่ม RNA ไม่ว่าจะเป็นไวรัสในกลุ่มสมองอักเสบ ในกลุ่มไข้เลือดออก และในกลุ่มทางเดินหายใจรวมทั้งถึงโควิด-19 ด้วย”

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง