เปิดข้อมูลกลไกการเกิดโรคเบาหวานหลังติดโควิด คนติดเชื้อมีความเสี่ยง?
วันนี้ (22 มี.ค.65) รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุข้อความว่า กลไกการเกิดโรคเบาหวานหลังติดเชื้อโรคโควิด-19
หลักฐานจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ชี้ให้เห็นว่า คนที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานมากกว่าคนที่ไม่ติดเชื้อ
ความเสี่ยงเกิดได้ทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก
กลไกที่ทำให้เกิดเบาหวานนั้นมีการตั้งสมมติฐานหลายประเด็นที่อาจเป็นไปได้ ดังนี้
1. ไวรัส SARS-CoV-2 อาจติดเชื้อและแบ่งตัวในเซลล์ของตับอ่อน และทำลายเซลล์ทั้งประเภท exocrine และ endocrine
2. จากการชันสูตรศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตพบว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเบต้าเซลล์ ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตอินซูลิน โดยกระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นผ่าน eIF2 signaling pathway
3. การทำให้เกิดการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติไป (autonomic dysfunction)
4. การทำให้เกิดภาวะภูมิต่อต้านตนเอง (induced autoimmunity)
5. การทำให้เกิดกระบวนการอักเสบเรื้อรัง/ต่อเนื่อง (low grade inflammation)
คงต้องมีการติดตามผลการศึกษาต่อไปว่า กลไกใดที่จะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเบาหวานในกลุ่มที่ติดเชื้อโรคโควิด-19
อย่างไรก็ตาม การป้องกันตัวอย่างเป็นกิจวัตรนั้นเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด
อ้างอิง
1. Müller JA Groß R Conzelmann C et al. SARS-CoV-2 infects and replicates in cells of the human endocrine and exocrine pancreas.
Nat Metab. 2021; 3: 149-165
2. van der Heide V Jangra S Cohen P et al. Limited extent and consequences of pancreatic SARS-CoV-2 infection. Cell Rep. 2022; 38110508
3. Tang X Uhl S Zhang T et al. SARS-CoV-2 infection induces beta cell transdifferentiation. Cell Metab. 2021; 33: 1577-1591
4. Khunti K Del Prato S Mathieu C Kahn SE Gabbay RA Buse JB
COVID-19, hyperglycemia, and new-onset diabetes. Diabetes Care. 2021; 44: 2645-2655
5. Narayan KMV et al. Rising diabetes diagnosis in long COVID. The Lancet Diabetes & Endocrinology. 21 March 2022.
ข้อมูลจาก รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์
ภาพจาก TNN ONLINE