รีเซต

เตือน! ประชาชน 10 จังหวัด ต่อไปนี้ ชายแดนติดเมียนมา เฝ้าระวัง โควิด-19

เตือน! ประชาชน 10 จังหวัด ต่อไปนี้ ชายแดนติดเมียนมา เฝ้าระวัง โควิด-19
ข่าวสด
28 กันยายน 2563 ( 13:36 )
185
เตือน! ประชาชน 10 จังหวัด ต่อไปนี้ ชายแดนติดเมียนมา เฝ้าระวัง โควิด-19

โฆษก ศบค. เผย ติดเชื้อเพิ่ม 22 คน วอนประชาชน 10 จังหวัด ติดเมียนมา ปฏิบัติมาตรการเข้ม! สวมหน้ากาก-ล้างมือ ต้านการแพร่ระบาด โควิด-19

 

เมื่อเวลา 11.45น. วันที่28 ก.ย.ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ศบค. แถลงผลประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธาน ว่า

 

ที่ประชุมรับทราบรายงานสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้านซึ่งในประเทศพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 22 คน ในสถานที่กักกันตัวของรัฐ รวมผู้ติดเชื้อสะสม 3.545 คน หายป่วยแล้ว 3,369 คน รักษาตัว 117 คน เสียชีวิต59คน

 

สำหรับผู้ติดเชื้อใหม่ คนแรก เป็นนักเรียนชายไทย อายุ 13 ปี เดินทางมาจากประเทศปากีสถาน ถึงไทยวันที่ 13 ก.ย.ตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ และตรวจซ้ำในวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา พบติดเชื้อโดยไม่แสดงอาการและรักษาตัวอยู่ที่จ.ชลบุรี

 

และ 16 คน มาจากซูดานใต้ เป็นชายไทย อาชีพรับราชการทหาร เดินทางกลับจากปฎิบัติภารกิจ โดยเครื่องบินเช่าเหมาลำในวันที่ 22 ก.ย.ที่ผ่านมา กักตัวที่จ.ชลบุรี และตรวจหาเชื้อวันที่ 26 ก.ย.พบเชื้อทั้งหมด โดยไม่แสดงอาการ โดยเข้ารักษาตัวที่รพ.พระมงกุฏเกล้าฯ กทม.อีกหนึ่งคนเป็นชายไทย อายุ 24 ปี รับราชการทหาร เดินทางมาจากประเทศฟิลิปปินส์ รักษาตัวที่รพ.แหลมฉบัง จ.ชลบุรี

 

และอีก4คนที่เหลือ 2 แรก เป็นมารดาและบุตรเพศหญิง สัญชาติอินเดีย อายุ 35 และ 7 ปี และเป็นชายสัญชาติอินเดีย อายุ 38 เป็นกรรมการบริษัท มีใบอนุญาตทางาน เดินทางมาถึงไทยวันที่ 23 ก.ย. ตรวจหาเชื้อเมื่อวันที่ 26 ก.ย.ที่ผ่านมา

 

ผลตรวจพบเชื้อ โดยไม่มีอาการ เข้ารับการรักษารพ.เอกชนแห่งหนึ่ง กทม. คยสุดท้ายเป็นชายสัญชาติอินเดีย อายุ 30 ปี อาชีพพนักงานบริษัท เดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ 25 ก.ย. และตรวจพบเชื้อ ไม่มีอาการ เข้ารับการรักษารพ.เอกชนแห่งหนึ่ง กทม.

 

ด้านสถานการณ์โลกพบผู้ป่วยยืนยันสะสม 33,281,318 คน กลับบ้านแล้ว 24,595,002 คน รักษาใน รพ.7,684,561 ราย และเสียชีวิตสะสม 1,001,755 ราย โดยสหรัฐอเมริกาอินเดีย บราซิล รัสเซีย และโคลัมเบียพบผู้ติดเชื้อสูงสุดตามลำดับ ขณะที่ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 138 นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับตัวเลขผู้ติดเชื้อในเมียนมา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย มีผู้ติดเชื้อ 10,734 คน และพบเชื้อต่อเนื่อง

 

จึงขอความร่วมมือประชาชนบริเวณขอบชายแดนติดต่อระหว่างไทย และ เมียนมา 10 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และ จ.ระนอง ในการดูแลพิ้นที่ชายขอบของประเทศไทย

 

 

และรักษามาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาด โดยสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ป้องกันก่อนที่จะมีวัคซีน เนื่องจากก่อนหน้านั้นสถานการณ์ในเมียนมา ที่มีพื้นที่ติดต่อระหว่างอินเดียและบังกลาเทศ เคยมีการแพร่ระบาดและได้ลุกลามเข้าสู่เมียนมามาก่อนแล้ว

 

ในส่วนของการตรวจคัดกรองเพื่อเฝ้าระวังมาที่อ.แม่สอด จ.ตาก ได้มีการเริ่มตรวจตั้งแต่ต้นเดือนก.ย.ที่ผ่านมา จำนวน 2,462คน ยังไม่พบมีผู้ติดเชื้อ ทั้งนี้ยังคงตรวจคัดกรองต่อเนื่องโดยตรวจในประเทศผ่านห้องปฏิบัติการเครือข่ายกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 229 แห่งไปแล้ว 977,854ตัวอย่าง พร้อมกันนี้ขอความร่วมมือในการใช้แอพพลิเคชัน เพื่อยืนยันและติดตามบุคคลในกรณีสงสัย ซึ่งขณะนี้มีคนลงทะเบียนใช้แล้วประมาณ 45 ล้านคน

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 ในเมียนมาซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึงหลักหมื่นคน ศบค.ได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้ถึงข้อเสนอของ นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญ ส่งทีมแพทย์เข้าไปตรวจสอบหาเชื้อในเมียนมาหรือไม่

 

เพราะเป็นพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่เนื่อง นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า โดยหลักการของการจัดการหรือควบคุมโรคติดต่อ ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านได้มีความร่วมมืออย่างดี ทั้งไข้มาลาเรีย ไข้เลือดออก ก็ร่วมมือกันอย่างดี ทั้งนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.สาธารณสุข

 

ได้มอบนโยบายให้กระทรวงสาธารณสุข ประสานกับกระทรวงการต่างประเทศ และองค์การอนามัยโลกหรือWHOในพื้นที่ พูดคุยหารือกับประเทศต้นทางที่มีการระบาด ซึ่งเราพร้อมให้ความร่วมมือในการตรวจ โดยอย่างน้อย 10 จังหวัด ชายแดนติดต่อกันซึ่งมีคนต่างชาติเข้ามา เราก็รอการตอบรับการร่วมมือในเชิงลึกมากขึ้น เพื่อดูแลประชาชนทั้งสองประเทศได้

 

เมื่อถามถึงกรณีหน้ากากอนามัยในขณะนี้ที่มีเพียงพอแก่ความต้องการหรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผ่อนคลายแล้ว คณะกรรมการเฉพาะกิจและคณะกรรมการบูรณาการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการหน้ากากอนามัย

 

โดยนายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ประชุมกันหลายรอบ มีการปรับแนวทางและหลักเกณฑ์การบริหารจัดการหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศเข้าสู่ระบบปกติตามกลไกตลาด ทั้งหลายบริษัทเอกชนก็หันมาทำและมีมาตรฐานมากขึ้น

 

และป้อนสินค้าเข้ามาในตลาดมากขึ้น เมื่อประเมินแล้วสามารถกำหนดให้ผู้ผลิตจำหน่ายตามกลไกปกติแล้ว และสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ผลิตผลิตจำหน่ายให้รัฐได้ทันทีที่ภาครัฐมีความจำเป็นและเกิดวิกฤตเร่งด่วน และให้จำหน่ายปลีกไม่สูงกว่าชิ้นละ 2.50 บาท

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยได้รับคำชื่นชม เกิดขึ้นจากการความร่วมมือในการใช้หน้ากากอนามัย สถานการณ์ขณะนี้แม้จะผ่อนคลายแต่ประชาชนยังต้องเข้มงวด ถ้าเรายังเข้มงวด ก็จะได้ใช้มาตรการผ่อนคลายและเศรษฐกิจเราก็จะเข้มแข็งขึ้น

 


 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง