รีเซต

09.00 INDEX บทบาท TONY WOODSOME จุดประกาย และสร้าง 'ความหวัง' ใหม่

09.00 INDEX บทบาท TONY WOODSOME จุดประกาย และสร้าง 'ความหวัง' ใหม่
มติชน
17 มีนาคม 2564 ( 08:38 )
74

 หากสภาพการณ์ทางการเมืองยังเป็นอย่างที่เป็นอยู่ ไม่สามารถสร้าง ‘ความหวัง’ ให้เกิดขึ้นได้ ใครก็ตามที่ ‘จุดประกาย’ แห่งความหวังแม้แต่เพียงริบหรี่ก็จะเป็นที่เรียกร้องต้องการ

 

ถามว่าภาพของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สามารถเป็น ‘ความหวัง’ ในความรู้สึกของประชาชนคนไทยหรือไม่

คำถามนี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ อาจจะมั่นใจเป็นอย่างสูง คำถามนี้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล อาจจะมั่นใจเป็นอย่างสูง คำถามนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ อาจจะมั่นใจไม่ยิ่งหย่อนกัน

 

คำถามนี้หากไปถามคนที่ติดตามการปรากฏตัวของ ‘ลุง TONY WOODSOME’ อย่างต่อเนื่องจากการจัดของกลุ่ม CARE: คิด เคลื่อน ไทย เมื่อคืนวันที่ 16 มีนาคม อาจได้อีกคำตอบ

เป็นคำตอบที่เกิดการเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญกับระหว่าง ความสำเร็จของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับความสำเร็จของรัฐ บาลพรรคไทยรักไทยภายหลังการเลือกตั้งเดือนมกราคม 2544

 

หากคำตอบนี้คือเป้าหมายที่ กลุ่ม CARE:คิด เคลื่อน ไทย ต้องการก็ถือว่าประสบความสำเร็จ

ความสำเร็จของพรรคไทยรักไทย ไม่ว่าภายหลังการเลือกตั้งเดือน มกราคม 2544 ไม่ว่าภายหลังการเลือกตั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2548 มี ลักษณะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

 

แต่ละรายละเอียดแม้จะเพียงในเรื่องของการเจรจาต่อรองกับนานาชาติ ลุง TONY WOODSOME นำมาเล่าได้ดีอย่างยิ่ง

ดีจนทำให้ภาพของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ถูกพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตยระบายสีสันไปอีกอย่างหนึ่งได้เริ่มปรากฏขึ้นใหม่

 

ดีจนทำให้ความหงุดหงิดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ได้ยินชื่อนายกรัฐมนตรีอันมาจากพรรคไทยรักไทยในห้วงระหว่างเดือน มกราคม 2544 ถึง เดือนกันยายน 2549 มีความแจ่มชัด

แจ่มชัดและเข้าใจในความหงุดหงิดอันบังเกิดขึ้น

 

ความสำเร็จจากรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในอดีตนั้นเองที่เริ่มมีบทบาทเป็นอย่างสูงในการจุดประกายและสร้าง ‘ความหวัง

การเชื้อเชิญ ลุง TONY WOODSOME ให้ดำรงอยู่ในสถานะโฆษกของรัฐบาลพรรคไทยรักไทยในห้วงจากเดือนมกราคม 2544 ถึงเดือนกันยายน 2549 จึงเป็นการเชื้อเชิญที่มีนัยสำคัญ

 

ทำให้รู้ว่านายกรัฐมนตรี ‘มืออาชีพ’ เป็นอย่างไร ทำให้รู้ว่านายก รัฐมนตรี ‘มือสมัครเล่น’ เป็นอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง