รีเซต

ภาษีลาภลอยคืออะไร? พื้นที่ไหนที่ต้องจ่าย? บ้าน-คอนโดฯ กระทบแค่ไหน!

ภาษีลาภลอยคืออะไร? พื้นที่ไหนที่ต้องจ่าย? บ้าน-คอนโดฯ กระทบแค่ไหน!
NewsReporter
27 กุมภาพันธ์ 2566 ( 11:32 )
234
ภาษีลาภลอยคืออะไร? พื้นที่ไหนที่ต้องจ่าย? บ้าน-คอนโดฯ กระทบแค่ไหน!

"ภาษีลาภลอย" (Windfall Tax) “แนวคิดของร่างกฎหมายดังกล่าว ถือว่าเป็นกฎหมายที่มองไปในอนาคต ว่า เมื่อเมืองมีการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นระบบรถไฟฟ้า ทางด่วน เป็นต้น ทำให้ราคาที่ดินในบริเวณใกล้เคียงโครงการของรัฐ ปรับราคาขึ้น ก็ควรแบ่งผลประโยชน์ส่วนหนึ่งมาให้กับรัฐ”  วันนี้ TrueID จะพาทุกท่านไปรู้จักกับภาษีดังกล่าว

 

กฎหมายภาษีลาภลอยคืออะไร ?

กฎหมายภาษีลาภลอย หรือ ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ (Windfall Tax) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเป็นธรรมในระบบภาษีและสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการลงทุนสาธารณูปโภคของรัฐ ที่ส่งผลให้ราคาที่ดินในบริเวณรัศมีโครงการสาธารณูปโภคปรับราคาสูงขึ้น

 

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีลาภลอย ?

สำหรับผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีนี้ จะเป็นทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล ที่มีที่ดินตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรจากตัวสถานีขึ้นลง ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ท่าเรือ สนามบิน โครงการทางด่วนพิเศษ และโครงการอื่นๆ ที่จะกำหนดในกฎกระทรวง โดยภาษีตัวนี้ จะเก็บเฉพาะราคาที่ดินที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจากผลของโครงการสาธารณูปโภค โดยหักตัวมูลค่าอาคารออกไป

 

ระบบการจัดเก็บ

การจัดเก็บภาษี จะแบ่งเป็น 2 ช่วง

- เก็บระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โครงการพื้นฐานของรัฐ การซื้อขายที่ดินในช่วงนี้ จะถูกจัดเก็บภาษี windfall Tax ในทุกครั้งที่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ โดยเก็บภาษีเฉพาะมูลค่าที่ดิน ที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยใช้ฐานราคาประเมินของกรมธนารักษ์ ณ วันที่ได้รับที่ดินแปลงนั้นมา กับราคาประเมินที่ดินในช่วงระหว่างก่อสร้างโครงการนั้น (ช่วงระหว่างการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภค)


- ช่วงที่ก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคนั้นแล้วเสร็จ จะเก็บภาษีเพียงครั้งเดียว (one Time) ไม่ได้เก็บทุกครั้งที่เปลี่ยนมือ โดยเก็บภาษีจากมูลค่าที่ปรับเพิ่มขึ้น เฉพาะที่ดิน หรือห้องชุดเฉพาะส่วนที่ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านบาทขึ้นไปเท่านั้น โดยกรมที่ดินเป็นผู้จัดเก็บ

 

เพดานอัตราภาษี


- จัดเก็บไม่เกิน 5% (ของมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนา)

- อาคารชุด จัดเก็บ 20% (ของมูลค่าที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนา)

 

อะไรบ้างที่ยกเว้นการเก็บภาษี

 

- ที่อยู่อาศัย เกษตรกรรม และมรดกตกทอดจะไม่มีการเก็บภาษี (จะจัดเก็บเฉพาะโครงการภาครัฐ ที่เกิดใหม่เท่านั้นจะไม่มีการจัดเก็บย้อนหลัง)
 
 

โครงการพัฒนาของรัฐที่ไหนบ้าง? ที่อยู่ในข่ายต้องจัดเก็บภาษี (รัศมีรอบโครงการโดยประมาณ)


1. รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (พื้นที่ในรัศมี 2.5 กิโลเมตร รอบสถานี)

2. ท่าเรือ (พื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากแนวเขตที่ดินของท่าเรือ)

3. โครงการทางด่วนพิเศษ (พื้นที่ในรัศมี 2.5 กิโลเมตร รอบทางขึ้นและทางลง)

4. สนามบิน (พื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตร จากแนวเขตห้ามก่อสร้างของสนามบิน)

 

ทั้งนี้ ภาษีลาภลอย เป็นวิธีจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน เพราะเดิมมีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว หากกฎหมายดังกล่าวทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับสูงขึ้น คาดว่าภาษีทั้งหมดนี้ก็จะถูกรวมอยู่ในราคาซื้อขายอสังหาฯ ซึ่งเป็นฐานภาษีอยู่แล้ว

 

นอกจากนี้กฎหมายดังกล่าวครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ ๆ มีการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานใหม่เท่านั้น ไม่รวมถึงสาธารณูปโภคเดิมที่มีอยู่เดิม

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง