น้ำท่วม 2565 วันนี้! เช็ก สถานการณ์น้ำท่วม 17 จังหวัด จาก "พายุโนรู"
น้ำท่วมวันนี้ ข่าวพายุโนรูล่าสุด หลังจากที่ "พายุโนรูเข้าไทย" ได้อ่อนกำลังลง แต่ยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจาก "ฝนตกหนัก" ซึ่งทำให้เกิด "น้ำท่วมขัง" หลายพื้นที่ เช็กด่วน! น้ำท่วม วันนี้ มีที่ไหนบ้าง อัพเดทข่าวน้ำท่วม ที่นี่
จากสถานการณ์ "พายุโนรู" ได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ส่งผลกระทบในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีฝนตกหนักหลายพื้นที่และมีฝนตกหนักมากบางแห่งกับมีลมแรง รวมกับมวลน้ำในพื้นที่ที่มีอยู่เดิม ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก
น้ำท่วมวันนี้ มีที่ไหนบ้าง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับผลกระทบพายุโนรู ทำให้เกิดสถานการณ์ภัยในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี ชัยนาท สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา รวม 83 อำเภอ 197 ตำบล 572 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,249 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ผู้สูญหาย 2 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 17 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยนาท ปราจีนบุรี และพังงา รวม 72 อำเภอ 178 ตำบล 548 หมู่บ้าน ขณะที่สถานการณ์น้ำล้นตลิ่งยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และสิงห์บุรี รวม 17 อำเภอ 132 ตำบล 685 หมู่บ้าน ประสานพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหายและให้ช่วยเหลือประชาชน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากอิทธิพลร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันตก ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับผลกระทบจากสถานการณ์พายุโนรู ส่งผลทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยในช่วงวันที่ 28 ก.ย. – 2 ต.ค. 65 เกิดสถานการณ์ภัยในพื้นที่ 22 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน พะเยา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิจิตร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ ยโสธร อุบลราชธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ มุกดาหาร สระบุรี ชัยนาท สระแก้ว ปราจีนบุรี และพังงา รวม 83 อำเภอ 197 ตำบล 572 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 8,249 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย ผู้สูญหาย 2 ราย ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ในพื้นที่ 17 จังหวัด 72 อำเภอ 178 ตำบล 548 หมู่บ้าน ดังนี้
- น้ำท่วม แม่ฮ่องสอน น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง ประชาชนได้รับผลกระทบ 2 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม พะเยา น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองพะเยา รวม 7 ตำบล 28 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม เชียงใหม่ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอจอมทอง อำเภอดอยเต่า อำเภอฮอด อำเภอสันป่าตอง อำเภอหางดง และอำเภอสันทราย รวม 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม ลำพูน น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลี้ อำเภอเมืองลำพูน อำเภอแม่ทา อำเภอบ้านโฮ่ง และอำเภอป่าซาง รวม 8 ตำบล 20 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม ลำปาง น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเถิน อำเภอแม่พริก อำเภอเกาะคา อำเภอเมืองลำปาง และอำเภอห้างฉัตร รวม 18 ตำบล 51 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม สุโขทัย น้ำท่วมในพื้นที่อำเภอศรีสัชนาลัย รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม เพชรบูรณ์ น้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ อำเภอบึงสามพัน อำเภอหนองไผ่ อำเภอหล่มสัก รวม 21 ตำบล 86 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 140 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- น้ำท่วม พิจิตร น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอสามง่าม อำเภอวชิรบารมี อำเภอดงเจริญ อำเภอทับคล้อ อำเภอ บึงนาราง และอำเภอบางมูลนาก รวม 25 ตำบล 113 อำเภอ ระดับน้ำทรงตัว
- น้ำท่วม ศรีสะเกษ น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอห้วยทับทัน อำเภอยางชุมน้อย อำเภอวังหิน อำเภอภูสิงห์ อำเภอน้ำเกลี้ยง และอำเภออุทุมพรพิสัย รวม 16 ตำบล 46 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,301 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 2 ราย และ อพยพประชาชน 379 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 16 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- น้ำท่วม อุบลราชธานี น้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอเดชอุดม อำเภอดอนมดแดง อำเภอสำโรง อำเภอพิบูลย์มังสาหาร อำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอตระการพืชผล รวม 19 ตำบล 59 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,336 ครัวเรือน อพยพประชาชน 61 ชุมชน 2,336 ครัวเรือน ไปยังศูนย์พักพิงชั่วคราว 60 จุด ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- น้ำท่วม ขอนแก่น น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองขอนแก่น และอำเภอชนบท รวม 6 ตำบล 7 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม ชัยภูมิ น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเนินสง่า อำเภอจัตุรัส อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอบ้านเขว้า และอำเภอเมืองชัยภูมิ รวม 10 ตำบล 21 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 10 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
- น้ำท่วม นครราชสีมา น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอลำทะเมนชัย และอำเภอสูงเนิน รวม 4 ตำบล 4 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 5 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม บุรีรัมย์ น้ำท่วมในพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านด่าน อำเภอพุทไธสง อำเภอสตึก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอนางรอง อำเภอปะคำ อำเภอบ้านกรวด อำเภอกระสัง และอำเภอคูเมือง รวม 14 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 277 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
- น้ำท่วม ชัยนาท น้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองชัยนาท อำเภอวัดสิงห์ อำเภอมโนรมย์ อำเภอหันคา และอำเภอสรรพยา รวม 16 ตำบล 64 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,079 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- น้ำท่วม ปราจีนบุรี น้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรี และอำเภอเมืองปราจีนบุรี รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 61 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
- น้ำท่วม พังงา น้ำท่วมในพื้นที่ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า อยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหาย ระดับน้ำลดลง
ขณะที่สถานการณ์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เมื่อช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทย มีฝนตกหนักบางแห่ง และน้ำในแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขามีปริมาณมาก ยังคงทำให้มีสถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ตาก พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และสิงห์บุรี รวม 17 อำเภอ 132 ตำบล 685 หมู่บ้าน ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่และให้การดูแลช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง และจะได้จัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับ แจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอปพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
ข้อมูล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<