รีเซต

หมอทวีศิลป์ ยัน 'บิ๊กตู่' ตั้งศูนย์บูรณาการฯไม่ซ้ำซ้อนศบค. ปลื้มตัวเลขผู้หายป่วยวันนี้มากกว่าผู้ป่วย

หมอทวีศิลป์ ยัน 'บิ๊กตู่' ตั้งศูนย์บูรณาการฯไม่ซ้ำซ้อนศบค. ปลื้มตัวเลขผู้หายป่วยวันนี้มากกว่าผู้ป่วย
มติชน
6 พฤษภาคม 2564 ( 13:21 )
51
หมอทวีศิลป์ ยัน 'บิ๊กตู่' ตั้งศูนย์บูรณาการฯไม่ซ้ำซ้อนศบค. ปลื้มตัวเลขผู้หายป่วยวันนี้มากกว่าผู้ป่วย

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) แถลงรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า ยอดรวมสะสมตั้งแต่ปีที่แล้วจึงถึงปัจจุบันยอมรวม 76,811 คน เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 8 ราย สำหรับการติดเชื้อระลอกใหม่นี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม ยอดรวมสะสม 47,948 ราย ผู้หายป่วย 19,369 ราย และในวันนี้มีผู้หายป่วยมากกว่าป่วย โดยหายป่วยเพิ่มขึ้น 2,435 ราย อยู่ครบกำหนด 14 วันก็จะออกจากโรงพยาบาลอย่างช่วงที่เราเคยตรวจเจอ 2 พันราย ก็จะเห็นว่ามีการหายป่วยออกไป2พันกว่าเช่นกัน เสียชีวิต 18 ราย เพิ่มขึ้นในระลอกนี้คิดเป็น 0.5 เปอร์เซ็นต์ กทม. 6 ราย สมุทรปราการ 3 ราย นนทบุรี เชียงใหม่ สมุทรสาคร จังหวัดละ 2 ราย ปทุมธานี ยะลา สิงห์บุรี จังหวัดละ 1 ราย ภาระงานอยู่ในโรงพยาบาลรวมแล้ว 29,680 เป็นการรักษาในโรงพยาบาลสนาม 1,743 ราย อยู่ใน โรงพยาบาล 29,037 ราย วัคซีนฉีดแล้วสะสม 1,167,719 เพิ่มขึ้น 17,155 โดยเป็นการฉีดเข็มแรก ทางกระทรวงสาธารณสุข ก็ได้มีการประชุมในเรื่องนี้เพื่อเร่งการดำเนินการฉีดวัคซีน

 

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศรายใหม่และสะสม ไล่ตามลำดับ กทม. 739 ราย ,นนทบุรี 273 ราย ,สมุทรปราการ 143 ราย ,ชลบุรี 76 ราย,สมุทรสาคร 65 ราย,สุราษฎร์ธานี 53 ราย,นครปฐม 47 ราย ,นครศรีอยุธยา 35 ราย,ฉะเชิงเทรา 35 ราย,ปทุมธานีและนครศรีธรรมราช 31 ราย

 

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า อีกตัวเลขหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้ต้องมีคณะกรรมการบูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในกทม.1บวกอีก5จังหวัดปริมณฑล เป็นตัวเลขที่เกินครึ่งหนึ่งของประเทศไทยในหลายวันที่ผ่านมา จึงเป็นเหตุให้พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.)นั่งเป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ ซึ่งจะเห็นจากขุดข้อมูลของวันนี้รวมทั้งหมดกทม.ละปริมณฑล 1,398 ราย ถึงแม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อจะน้อยกว่าเมื่อวานแต่รายละเอียดเหล่านี้ได้ถูกนำเสนอในที่ประชุมของคณะกรรมการดังกล่าวเมื่อเช้านี้ เนื่องจากตัวเลขของกราฟยังไม่น่าไว้วางใจ

 

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการฯให้แจ้งเรื่องการดำเนินและนำชุดข้อมูลมาให้เห็นถึงการป่วยสะสมของโควิด-19ระลอกใหม่ ของกทม.ที่ได้มีรายงานเข้ามา 15,309 ราย แนวโน้มดูจะสูงขึ้นและมีการรายงานว่าเขตที่มีจำนวนยอดสะสม10 อันดับสูงสุด 1.ห้วยขวาง 463 ราย 2.ดินแดน 426 ราย 3.บางเขน 357 ราย 4.วัฒนา 330 ราย 5.จตุจักร 356 ราย 6.ลาดพร้าว 325 ราย 7.วังทองหลาง 300 ราย 8.สวนหลวง 290 ราย 9.บางกะปิ 282 ราย 10.บางแค 241 ราย ตัวเลขนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 5 พฤษภาคม ที่สูงสุด และได้มีการลงพื้นที่พูดคุยกับชุมชนที่เป็นคลัสเตอร์สำคัญคือ ชุมนุมคลองเตย ชุมนุมพัฒนาบ่อนไก่ปทุมวันและชุมชนบ้านขิงเขตบางแค

 

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ข้อมูลของชุมนุมบางแคที่เกิดขึ้นมีรายงานข่าวว่าจากการตรวจห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในข่วงเวลาตั้งแต่ 28 และ 30 เมษายน ต่อมา 1 พฤษภาคม ได้ลงพื้นที่และตรวจ 1,413 ราย พบเชื้อ 68 ราย เท่ากับ 4.8 เปอร์เซ็นต์ นี้เป็นกลุ่มที่เชื่อมโยงกับห้างสรรพสินค้า ต่อมเป็นกลุ่มท่าปล่อยรถเมล์ที่มีพนักงานประมาณ 100 คน ได้ทำการตรวจพบเชื้อ 74 คนและเชื่อมโยงไปถึงบ้านของคนกลุ่มนี้ ซึ่งอยู่ในชุมชนบ้านขิง จากได้ลงพื้นที่ตรวจตรวจเชิงรุก 316 ราย พบผู้ติดเชื้อ 24 ราย ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน และในวันที่ 3 พฤษภาคม ได้ลงตรวจอีก 576 ราย พบเชื้อ 25 ราย ในขณะนี้นำตัวเลขและชุดข้อมูลมาแล้วทำการแยกคนป่วยแยกคนปกติออก

 

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผลการเฝ้าระวังเชิงรุก ระหว่างวันที่ห้าเมษาถึงห้าพฤษภาในพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยมีสถานที่บันเทิง สถานประกอบการ ตลาด ชุมชน ห้างสรรพสินค้า รวม 42,251 คน พบเชื้อ 1,677 คน รอผล 559 คน และตัวเลขตรงนี้สะท้อนภาพตรวจ 100 คนจะพบผู้ติดเชื้อ 4 คน เพราะฉะนั้นการสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยไว้ก่อน และเว้นระยะห่าง เพราะเราไม่รู้เลยว่าใครติดเชื้อบ้าง

 

 

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า รถชีวนิรภัยพระราชทาน จะดำเนินแผนการตรวจเชิงรุก วันที่ 6 พฤษภาคม หรือวันนี้ที่ ชุมชนหมู่บ้านพัฒนา เป้าหมาย 1,000 คน ส่วนในวันที่ 7 พฤษภาคม หรือพรุ่งนี้ จะดำเนินการตรวจที่ สำเพ็ง เป้าหมาย 500 คนและ ชุมชนหมู่บ้านพัฒนา เป้าหมาย 1,000 คน กทม.มีแผนตรวจเชิงรุกให้ได้ 26,850 รายต่อสัปดาห์ แบ่งเป็นการตรวจเชิงรุกในคลัสเตอร์สำคัญ 8,300 รายต่อสัปดาห์ เฝ้าระวังเชิงรุกใน 6 โซน กทม. วันละ 3,000 ราย หรือ 15,000 รายต่อสัปดาห์ การสุ่มตรวจในผู้สัมผัสเสี่ยงสูง 250 ตัวอย่างต่อวัน หรือ 1,750 รายต่อสัปดาห์ และการตรวจในสถานกักตัวของรัฐ ที่มีการจัดเป็นที่พักให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแยกตัวออกมาอยู่ในโรงแรม 3 แห่ง คือ โรงแรมธำรงอินน์ จรัญสนิทวงศ์ โรงแรมมายโฮเทล ห้วยขวาง และโรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท วันละ 600 คนต่อวัน หรือ 1,800 รายต่อสัปดาห์ ขณะเดียวกัน จะมีการจัดเตรียมเตียงรองรับไว้ให้ได้ 1,343 เตียงต่อสัปดาห์ เพื่อรองรับคนที่ตรวจแล้วพบว่าติดเชื้อโควิด-19

 

 

เมื่อถามถึงกรณีคณะกรรมการ 3 ชุดที่นายกรัฐมนตรีได้ตั้งขึ้นเพื่อบูรณาการงานในส่วนของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะทำงานอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความทับซ้อนกับงานของศบค. นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ในที่ประชุมเมื่อช่วงเช้าวันเดียวกันนี้พล.อ.ณัฐพล ได้ชี้แจงในที่ประชุมให้เห็นภาพของความเชื่อมโยงการทำงานกับศบค.ที่มีนายกฯเป็นผอ.โดยเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารงานเพื่อกรุงเทพมหานครและปริมณฑล คือเป็นส่วนหนึ่งในศบค. ทำงานประสานงานเชื่อมโยงระหว่างคณะทำงานชุดต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องและเชื่อมโยงข้อมูลขึ้นมาสู่การบริหารจัดการในระดับที่นายกรัฐมนตรีจะได้เข้ามารับรู้ข้อมูลเป็นรายวันโดยเร็วเพื่อบริหารสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับภาคส่วนอื่นๆก็ยังดูแลกันเหมือนเดิม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง