รีเซต

ทั่วโลกเผชิญวิกฤตราคาน้ำมัน หลังวิกฤตยูเครน-โควิด ทำราคาพุ่งสูง

ทั่วโลกเผชิญวิกฤตราคาน้ำมัน หลังวิกฤตยูเครน-โควิด ทำราคาพุ่งสูง
TNN ช่อง16
21 มิถุนายน 2565 ( 15:55 )
77

Editor’s Pick: ราคาน้ำมันโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ผลักดันให้ประชาชนลดการเดินทางและงดใช้รถยนต์ส่วนตัว 


สำนักข่าว AP รายงานว่า วิกฤตในยูเครนและการระบาดของโควิด-19 เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันทั่วโลกพุ่งสูงต่อเนื่อง ขณะที่ประชาชนในหลายประเทศเตรียมรับมือกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น


---จ่ายเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณน้อยลง---


'แบรนด์ มิวเลอร์อยู่ในปั๊มน้ำมันใกล้เมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี เฝ้ามองตัวเลขยอดเงินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ปริมาณน้ำมันกลับเพิ่มขึ้นอย่างช้า  


ผมกำลังจะขายรถช่วงเดือนตุลาคม ไม่ก็พฤศจิกายนนี้” มิวเลอร์ กล่าว “ผมเลิกขับแล้ว เพราะราคาน้ำมันและค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเรื่อย  เมื่อถึงจุดหนึ่ง คุณต้องตัดสินใจลดค่าใช้จ่าย


ผู้ขับขี่ทั่วโลกเฉกเช่นเดียวกับมิวเลอร์ กำลังทบทวนพฤติกรรมและฐานะทางการเงินของตน หลังราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว โดยได้แรงหนุนจากปฏิบัติการทหารรัสเซียในยูเครน และการที่ทั่วโลกฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19 


ทั้งนี้ ราคาพลังงานเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนหลักของอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก และทำให้ค่าครองชีพแพงขึ้น


---กระทบภาคการขนส่ง---


การแก้วิกฤตเศรษฐกิจในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ผู้บริโภค โดยประชากรบางประเทศอาจเดิน ใช้รถจักรยาน โดยสารรถไฟใต้ดิน รถไฟฟ้า หรือรถประจำทาง เพื่อทบทวนว่าการเดินทางบนท้องถนนด้วยรถยนต์ส่วนตัวนั้นคุ้มค่าหรือไม่


'เหงียน จอง ทูเยนคนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างในกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม ซึ่งทำงานให้กับ Grab บริการเรียกรถออนไลน์ กล่าวว่า เขาปิดการใช้งานแอปพลิเคชันในช่วงเวลาเร่งด่วน


ถ้าผมติดอยู่บนท้องถนนในช่วงรถติด ค่าโดยสารที่ได้จะไม่ครอบคลุมค่าน้ำมัน” เขากล่าว โดยผู้ขับขี่หลายคนทำเช่นเดียวกับ 'เหงียนทำให้ผู้โดยสารจองการเดินทางผ่านแอปฯ ได้ยากกว่าเดิม 


ในกรุงมะนิลา เมืองหลวงของฟิลิปปินส์ 'โรนัลด์ ซิเบยีเคยจ่ายค่าน้ำมันดีเซลแค่ 900 เปโซต่อวัน (ราว 588 บาทเพื่อขับรถจี๊ปนีย์ ขนส่งสาธารณะที่เป็นที่นิยมในฟิลิปปินส์ แต่ตอนนี้เขากลับเสียค่าน้ำมันมากถึง 2,200 เปโซต่อวัน (ราว 1,437 บาท


นั่นควรเป็นรายได้มากกว่า ตอนนี้เราไม่ได้กำไรสักบาท” 'ซิเบยีกล่าว โดยรายได้ของเขาลดลงประมาณ 40% จากการขึ้นราคาน้ำมัน


---ค่าเงินกับความผันผวนของราคาน้ำมัน---


ราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลเป็นสมการที่ซับซ้อน จากทั้งต้นทุนน้ำมันดิบ ภาษี กำลังซื้อและความมั่งคั่งของแต่ละประเทศ เงินอุดหนุนจากรัฐบาล และการตัดราคาโดยพ่อค้าคนกลาง เช่น โรงกลั่น 


เนื่องจากน้ำมันกำหนดราคาเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ดังนั้น หากประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นผู้นำเข้าพลังงาน อัตราแลกเปลี่ยนก็จะมีบทบาทสำคัญ โดยค่าเงินยูโรที่อ่อนค่าลงเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้ราคาน้ำมันในยุโรปปรับตัวสูงขึ้น


อีกทั้ง มักมีปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ เช่น วิกฤตในยูเครน โดยผู้ซื้อหลีกเลี่ยงน้ำมันจากรัสเซีย ส่วนมาตรการของตะวันตกที่แบนน้ำมันรัสเซีย ก็ทำให้ตลาดพลังงานเกิดความผันผวน หลังเผชิญกับอุปทานที่ตึงตัวจากการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของการระบาดใหญ่


ราคาน้ำมันทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ราว 3,885 บาทแต่ไม่มีราคาปั๊มในตลาดโลก เนื่องจากภาษีและปัจจัยอื่น  


ในฮ่องกงและนอร์เวย์ อาจต้องจ่ายมากกว่า 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อแกลลอน (ราว 353 บาทส่วนในเยอรมนี อาจอยู่ที่ 7.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อแกลลอน (ราว 264 บาทและในฝรั่งเศสประมาณ 8 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 282 บาท)


---วิกฤตที่ยังต้องจับตาต่อไป---


รายงานของสมาคมปั๊มน้ำมันเยอรมนี ระบุว่า ความจริงแล้ว โลกสูบน้ำมันมากพอ  กับที่สูบก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19


ผู้คนยังเติมเต็มถังเหมือนแต่ก่อน แม้พวกเขาจะบ่นบ้างแต่ก็ยอมรับมัน” 'เฮอร์เบิร์ต ราเบิลโฆษกสมาคม กล่าว


หากถามว่าราคาน้ำมันมีสัญญาณปรับลดลงหรือไม่ ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าวิกฤตในยูเครนจะส่งผลกระทบต่อตลาดน้ำมันโลกอย่างไร


นักวิเคราะห์ กล่าวว่า น้ำมันบางส่วนของรัสเซียเกือบจะสูญเสียพื้นที่ทางตลาด เนื่องจากสหภาพยุโรปซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย ได้ให้คำมั่นว่าจะยุติการซื้อน้ำมันส่วนใหญ่จากรัสเซียภายใน 6 เดือน


อย่างไรก็ตาม อินเดียและจีนต่างสั่งซื้อน้ำมันรัสเซียเพิ่มขึ้น ขณะที่ยุโรปต้องซื้อน้ำมันจากที่อื่น เช่น ผู้ส่งออกในตะวันออกกลาง แต่กลุ่ม OPEC+ ซึ่งรวมถึงรัสเซีย กลับผลิตน้ำมันได้ไม่ถึงเป้า

————

แปล-เรียบเรียงพัชรี จันทร์แรม

ภาพ: Reuters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง