รีเซต

โพลเผยปชช.มองยาบ้าหาง่าย ไม่เห็นด้วยนโยบาย ‘ผู้เสพคือผู้ป่วย’

โพลเผยปชช.มองยาบ้าหาง่าย ไม่เห็นด้วยนโยบาย ‘ผู้เสพคือผู้ป่วย’
TNN ช่อง16
16 ตุลาคม 2565 ( 12:02 )
58

วันนี้(16 ต.ค. 65)ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 10-12 ตุลาคม 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ 

รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.63 ระบุว่า ยาบ้าหาซื้อได้ง่าย รองลงมา ร้อยละ 48.02 ระบุว่า กฎหมายยาเสพติดอ่อนแอเกินไป ร้อยละ 47.86 ระบุว่า ยาบ้ามีราคาถูก ร้อยละ 31.83 ระบุว่า มาตรการการปราบปรามยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 30.92 ระบุว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายหย่อนยานในการดำเนินการ ร้อยละ 26.56 ระบุว่า สภาพทางสังคมทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.49 ระบุว่า นโยบายของรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 25.42 ระบุว่า

มาตรการการป้องกันยาเสพติดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 21.30 ระบุว่า ผู้เสพไม่มีจิตสำนึกเอง และร้อยละ 20.31 ระบุว่าสภาพทางเศรษฐกิจทำให้คนเสพยาเพิ่มขึ้น

ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อประมวลกฎหมายยาเสพติดที่ยึดหลัก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.15 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย เพราะ ควรมีบทลงโทษเพื่อป้องกันผู้เสพหน้าใหม่ ผู้เสพอาจกลายเป็นผู้ขายเนื่องจากไม่เกรงกลัวบทลงโทษตามกฎหมาย

ขณะที่บางส่วนระบุว่า ผู้เสพไม่มีความตั้งใจที่จะเข้ารับการบำบัดตั้งแต่ต้นอาจกลับมาติดยาเสพติดซ้ำ รองลงมา ร้อยละ 20.31 ระบุว่า เห็นด้วยมาก เพราะ ผู้เสพอาจเป็นผู้หลงผิดจึงควรได้รับการบำบัดรักษา เป็นการให้โอกาสในการปรับตัวกลับเข้าสู่สังคม

ผู้เสพที่เป็นเยาวชนมีจำนวนมากควรใช้วิธีการบำบัดแทนการจำคุก ร้อยละ 15.57 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย เพราะผู้เสพที่ต้องการเลิกยาเสพติดสามารถเข้าสู่กระบวนการบำบัดได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกดำเนินคดี ขณะที่บางส่วนระบุว่า การบำบัดเป็นการช่วยแก้ปัญหานักโทษล้นคุก ร้อยละ 13.89 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะ ผู้เสพควรได้รับบทลงโทษตามกฎหมาย หากไม่มีบทลงโทษอาจทำให้มีผู้เสพเพิ่มมากขึ้น และควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ การนำผู้เสพมาบำบัดอาจไม่ช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในสังคม และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อปริมาณการครอบครองยาบ้าเพื่อเสพที่จะเข้ากับหลักการ "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" พบว่า ตัวอย่าง

ร้อยละ 34.96 ระบุว่า ยืนยันว่าไม่เห็นด้วย/ไม่ค่อยเห็นด้วยกับหลักการ "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" รองลงมา ร้อยละ 30.76 ระบุว่า ไม่เกิน 1 เม็ด ร้อยละ

16.11 ระบุว่า ประมาณ 2-3 เม็ด ร้อยละ 7.33 ระบุว่า ประมาณ 4-6 เม็ด ร้อยละ 3.59 ระบุว่า ประมาณ 10-12 เม็ด ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ประมาณ

7-9 เม็ด และไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และร้อยละ 1.75 ระบุว่า ประมาณ 13-15 เม็ด

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการรู้จักคนเสพหรือเคยเสพยาเสพติด พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.11 ระบุว่า ไม่รู้จัก ขณะที่ ร้อยละ 43.89 ระบุว่า รู้จัก เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.18 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 17.94 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.51 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.82 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้

ข้อมูลจาก : นิด้าโพล

ภาพจาก  : AFP

ข่าวที่เกี่ยวข้อง