รีเซต

แหม่มฝรั่งเศสหายโควิด สมุยเข้าระยะปลอดภัยแล้ว แจงปมลดกักตัวเหลือ 10 วัน

แหม่มฝรั่งเศสหายโควิด สมุยเข้าระยะปลอดภัยแล้ว แจงปมลดกักตัวเหลือ 10 วัน
ข่าวสด
4 พฤศจิกายน 2563 ( 16:00 )
86
แหม่มฝรั่งเศสหายโควิด สมุยเข้าระยะปลอดภัยแล้ว แจงปมลดกักตัวเหลือ 10 วัน

เผยแหม่มฝรั่งเศสหายจากโควิด กลับบ้านแล้ว ส่วนสมุยเข้าระยะปลอดภัย แจงลดกักตัวเหลือ 10 วันเพียงพอ หากใช้ 2 มาตรการควบคู่กันไป

 

วันที่ 4 พ.ย.63 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รักษาการอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการสอบสวนโรคหญิงฝรั่งเศสติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศไทยว่า ขณะนี้กำลังทบทวนผลแล็บทั้งหมดว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนและอธิบายได้ ต้องขอเวลาอีกสักระยะหนึ่ง แต่เบื้องต้นหญิงฝรั่งเศสรายนี้หายดีและกลับบ้านได้แล้ว มีชีวิตตามปกติ ชาวสมุยก็ไม่ตื่นกลัวอะไร ดำเนินชีวิตตามปกติ เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งว่า ไม่ได้ติดเชื้อเป็น 0 แล้วใช้ชีวิตตามปกติเป็นอย่างไร ที่สมุยจึงเป็นตัวอย่างว่าเจอผู้ติดเชื้อควบคุมสอบสวนได้เร็ว ไม่แพร่กระจาย ก็ไม่ต้องไปปิดนั่นนี่ให้วุ่นวาย ถือเป็นตัวอย่างที่ดี

 

อ่านข่าว ผลออกแล้ว! แหม่มฝรั่งเศสติดโควิดในไทย ไม่ได้รับเชื้อจาก 3 รายในสถานกักตัว

 

"ที่สรุปได้คือเราควบคุมสถานการณ์ได้ ไม่มีการแรพ่กระจายเชื้อ ถ้าเทียบกับแม่สอด สมุยอยู่ในการควบคุมสมบูรณ์และน่าจะเข้าสู่ระยะปลอดภัยแล้ว แต่สาเหตุว่าติดจากอะไรอย่างไร ต้องว่ากันอีกที เพราะเหมือนตำรวจสอบสวนคดี ผ่านมาหลายวันแล้ว บางทีหลักฐานไม่เหลือ เราไปตั้งสมมติฐานก็ตั้งได้ แต่คนถามว่าพิสูจน์อย่างไรก็ไม่อยากพูดในเชิงวิชาชีพในการสอบสวนโรค ต้องดูตามหลักฐาน หากให้ตั้งสมมติฐานว่าติดจากไหน ก็คงติดจากในอัลเทอร์เนทีฟ สเตท ควอรันทีน แต่ใครติดใครคงต้งใช้เวลาอีก" นพ.โอภาส กล่าว

 

ถามถึงกรณีการลดระยะเวลากักตัวเหลือ 10 วัน นพ.โอภาส กล่าวว่า ขณะนี้หลายประเทศมีนโยบายลดวันกักตัวลง ซึ่งการลดระยะเวลากักตัวเหลือ 10 วันในกลุ่มประเทศเสี่ยงต่ำหรืออัตราการติดเชื้อใกล้เคียงประเทศไทยถือว่าเพียงพอ แต่ถามว่าปลอดภย 100% หรือไม่ ไม่มีใครการันตี เพราะแม้แต่การกักตัว 21 วัน ก็สามารถหลุดได้ แต่ 10 วันมีความเหมาะสม การเพิ่มขึ้น 4 วันไม่ค่อยเกิดประโยชน์ ส่วนที่จะเพิ่มการเจาะเลือดและตรวจมากขึ้น ผลการศึกษากำลังจะออกแล้วรอสรุปสุดท้าย

 

แต่ผลเบื้องต้นบอกว่า 1.ทั้งการเจาะเลือดและการตรวจหาเชื้อทางโพรงจมูก โดยการตรวจวันที่ 1, 5 และ 9 ของการกักตัว จะช่วยตรวจผู้ป่วยได้เร็วขึ้นก็สามารถลการกักตัวลงได้ 2.วันที่ 11-14 ที่หายไปจะทำอย่างไร เราจะมีการติดสายข้อมือเพื่อให้ตามตัวได้ว่าเขาไม่ไปไหน และจดชื่อ โทรหาทุกวันว่าอาการเป็นอย่างไร จนครบ 14 วัน เชื่อว่า 2 มาตรการนี้จะช่วยทดแทนการกักตัว 14 วันได้ไม่ต่างกัน และ 3.เลือกประเทศที่มีความเสี่ยงน้อยก่อน เช่น จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ เป็นต้น ซึ่งความเสี่ยงเท่ากับประเทศไทย

 

"การกักตัวมากหรือน้อยขึ้นกับความเสี่ยงของเขากับของเรา สังเกตสหรัฐอเมริกาไม่กักใคร เพราะเขาเยอะสุดแล้ว เขาไม่กลัวคนเพิ่ม อย่างยุโรป หากประเทศไทยไปไม่ต้องกัก เพราะเขาเชื่อ การกักตัวไม่ได้ทำเหมือนกันทุกที่ขึ้นกับบริบทประเทศนั้นว่ามากน้อยแค่ไหน ส่วนไทยเราไม่เจอผู้ติดเชื้อรายใหม่ เจอก็แบบกระปริบกระปรอย ก็ห่วงคนเข้ามาจึงต้องมีมตรการกักตัว แต่ทำอย่างไรกักตัวแล้วชีวิตเราดำเนินได้ตามปกติ ก็มองว่า 10 วันน่าจะพอ แล้วจัดกลุ่มประเทศ โดยกลุ่มเสี่ยงต่ำอาจลดจาก 14 เหลือ 10 วัน โดยอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เพื่อเสนอที่ประชุม ศบค.สธ. คาดว่าเป็นวันที่ 5 พ.ย. ซึ่งมีปลัด สธ.เป็นประธาน ว่าวิธีการที่ทำเป็นอย่างไร เพื่อเสนอเข้าสู่ ศบค.ต่อไป" นพ.โอภาส กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง