รีเซต

1 มี.ค. รักษาโควิด รพ.เอกชน ต้องจ่ายเอง! สธ.จ่อปลดพ้นยูเซ็ป ปชช.ใช้ตามสิทธิ

1 มี.ค. รักษาโควิด รพ.เอกชน ต้องจ่ายเอง! สธ.จ่อปลดพ้นยูเซ็ป ปชช.ใช้ตามสิทธิ
มติชน
10 กุมภาพันธ์ 2565 ( 14:25 )
106
1 มี.ค. รักษาโควิด รพ.เอกชน ต้องจ่ายเอง! สธ.จ่อปลดพ้นยูเซ็ป ปชช.ใช้ตามสิทธิ

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นการเตรียมยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากบริการยูเซ็ป หรือ การให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP) ว่า ขณะนี้ สธ.โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เตรียมที่จะเปลี่ยนแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ให้ออกจากยูเซ็ป และให้ใช้แนวทางรักษาแบบตามสิทธิของประชาชน เช่น สิทธิบัตรทอง สิทธิประกันสังคม และประกันสุขภาพต่างๆ ทั้งนี้ ย้ำว่า แม้จะออกจากยูเส็ปแล้ว แต่ไม่กระทบต่อการรักษาของประชาชนที่ยังมีสิทธิรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งคาดว่าจะลงนามได้เร็วๆ นี้ เพื่อให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคมนี้เป็นต้นไป

 

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีแนวทางการปรับการเบิกจ่ายอย่างไร นายอนุทิน กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะมีการปรับค่าใช้จ่ายในการตรวจ RT-PCR ตามวิธีการตรวจ คือ ตรวจ 2 ยีนส์ จะจ่าย 900 บาท และ 3 ยีนส์ จ่าย 1,100 บาท แต่จะมีไม่ค่าตรวจ (Swap) ส่วนการตรวจด้วย ATK จะจ่าย 350 บาท และ 250 บาท ขึ้นอยู่กับประเภทที่ใช้ตรวจ แต่จะต้องเป็น ATK แบบที่บุคลากรแพทย์ใช้ (professional use) รวมถึงปรับค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้ารับการดูแลในฮอสปิเทล (Hospitel) เป็น 1,000 บาทต่อวัน เท่ากับการรักษาที่บ้าน (HI)

 

“การปรับจากระบบฉุกเฉินมาเป็นระบบปกตินั้น ยืนยันว่าไม่เกิดผลกระทบกับประชาชน รัฐยังให้การดูแลตามสิทธิ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ นี้ รัฐเป็นผู้จ่ายให้ ยกเว้นว่าประชาชนต้องการรับบริการที่นอกเหนือจากนี้ เช่น จะเข้าโรงพยาบาล (รพ.) เอกชนก็จะต้องจ่ายเอง” นายอนุทิน กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง