รีเซต

หมอยัน ตรวจ เสมหะน้ำลาย ได้ผล แต่หาภูมิคุ้มกันด้วย rapid test ประโยชน์น้อย

หมอยัน ตรวจ เสมหะน้ำลาย ได้ผล แต่หาภูมิคุ้มกันด้วย rapid test ประโยชน์น้อย
มติชน
6 พฤษภาคม 2563 ( 16:38 )
382
หมอยัน ตรวจ เสมหะน้ำลาย ได้ผล แต่หาภูมิคุ้มกันด้วย rapid test ประโยชน์น้อย

หมอยัน ตรวจ เสมหะน้ำลาย ได้ผล แต่ หาภูมิคุ้มกันด้วย rapid test ประโยชน์น้อย

วันที่ 6 พฤษภาคม ที่ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ด้วยวิธีการตรวจด้วยเสมหะน้ำลาย และตรวจภูมิคุ้มกัน(rapid test)

นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคโควิด-19 มี 2 วิธีหลัก คือ วิธีที่ 1 การตรวจหารหัสพันธุกรรม RT-pcr โดยเป็นมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก(WHO)แนะนำ โดยนำตัวอย่างเชื้อจากลำคอและโพรงจมูก ไปจนถึงในปอดระบบทางเดินหายใจ แต่ภายหลังพบว่าเชื้ออาจจะปนอยู่ในเสมหะน้ำลายของผู้ป่วยได้ เนื่องจากจมูกและคอเป็นส่วนที่อยู่ติดกัน อาจทำให้ตัวอย่างการตรวจปนกันไป จึงเกิดอีกวิธีหนึ่งที่ง่ายคือ วิธีที่ 2 ให้ผู้ที่ได้รับการตรวจเก็บเสมหะน้ำลายด้วยตนเอง และนำสิ่งส่งตรวจเข้ากระบวนการตรวจ RT-pcr ซึ่งมีข้อดี เช่น ผู้ที่ต้องการตรวจสามารถเก็บตัวอย่างได้เอง 2.ลดการใช้เจ้าหน้าที่ ชุดป้องกัน PPE หน้ากากอนามัย N95

“โดยในระยะต่อไปหากมีจำนวนผู้ป่วยภายในประเทศลดน้อยลง ก็มีแนวโน้มว่าจะมีระบบเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงต่างๆขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสิงคโปร์พบปัญหาแรงงานที่อยู่ร่วมกันแออัด จึงทำให้เกิดการระบาดขึ้น ดังนั้นเราอาจจะต้องมีระบบเฝ้าระวังในกลุ่มนั้น หากเรามีวิธีการตรวจโดยเสมหะน้ำลายเราสามารถทำให้แต่ละคนเก็บตัวอย่างได้เองและทำให้การตรวจความรวดเร็วและสะดวกยิ่งขึ้น” นพ.โอภาส กล่าว

นอกจากนี้ นพ.โอภาส กล่าวว่า จากการทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่า ตัวอย่างที่เก็บจากเสมหะน้ำลายมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับสิ่งส่งตรวจที่ป้ายมาจากลำคอและโพรงจมูกที่เป็นวิธีมาตรฐาน ดังนั้นวิธีการเก็บเสมหะน้ำลายจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในกรณีที่จะต้องมีการเก็บตัวอย่างของผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยจำนวนมากๆ ขณะนี้มีประเทศที่ทำแบบนี้แล้วคือ ประเทศสิงคโปร์ ได้เริ่มทำเมื่อปลายเดือนเมษายน ประเทศไทยได้ทำการทดสอบโดยวิธีนี้ไปหลายตัวอย่างแล้ว ซึ่งได้ผลดีอย่าง เช่น ในการตรวจพื้นที่ จ.สงขลา สามารถพบเชื้อโควิด-19 จากตัวอย่างเสมหะน้ำลายของผู้ป่วย

ส่วนการตรวจหาภูมิคุ้มกัน (rapid test) ของผู้ป่วย นพ.โอภาส กล่าวว่า จะต้องอธิบายว่าเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายไปแล้ว 7 วัน ที่เรียกว่าระยะฟักตัวของโรค และจะเริ่มแสดงอาการป่วย ในระยะถัดไปอีก 7 วัน ภูมิคุ้มกัน(anti body) จึงจะปรากฏขึ้นในร่างกาย จะสังเกตได้ว่าจะต้องรอประมาณ 14 วันถึงจะตรวจหาภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งแตกต่างจากการตรวจหาเชื้อในลำคอ หรือ โพรงจมูก และเสมหะน้ำลายที่สามารถตรวจได้ทันทีเมื่อผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการป่วย ซึ่งยืนยันว่าองค์การอนามัยโลกแนะนำว่าการตรวจด้วยการหารหัสพันธุกรรม RT-pcr ยังคงเป็นมาตรฐาน เพราะการตรวจหาภูมิคุ้มกันมี่จะต้องรอให้ครบ 14 วัน กว่าจะทำการตรวจพบได้ ผู้ป่วยอาจจะหายจากโรคแล้วหรือไม่ก็อาจจะมีความรุนแรงของโรคมากขึ้น ซึ่งการตรวจด้วยวิธีนี้อาจจะไม่มีประโยชน์มากนัก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง