เวเนซุเอลา เงินเฟ้อขั้นรุนแรง! เงินเดือนขึ้น 300% ยังไม่พอซื้อไข่ไก่
ถ้ากล่าวถึงประเทศเวเนซุเอลาก็คงนึกถึงบรรดาสาวงามที่เคยไปคว้ามงกุฎเวทีระดับโลกอยู่หลายครั้ง แต่ถ้าพูดในแง่ของความเป็นอยู่และเศรษฐกิจแล้ว หลายๆคงของนึกภาพเงินมหาศาลที่กองอยู่เกลื่อนถนนเป็นแน่
เวเนซูเอลาประกาศขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจาก 400,000bs (48 บาท) ต่อเดือน เป็น 1,200,000bs (146 บาท) และยังได้สแตมป์อาหารจาก 400,000bs (48 บาท) ต่อเดือน เป็น 800,000bs (93 บาท) รวม 2,000,000Bs (244 บาท) ต่อเดือน และเป็นการขึ้นค่าแรงก้าวกระโดดครั้งที่ 3 ของประเทศเวเนซุเอลา หลังจากขึ้นครั้งแรกในเดือนมกราคม และครั้งที่ 2 ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็ยังต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงมาก ซึ่งในปีที่ผ่าน ๆ มา มีประชาชนกว่า 5 หมื่นคนที่พยายามหนีออกจากประเทศ และพบว่าประชาชนอีก 90 เปอร์เซ็นต์กำลังประสบปัญหาความยากจนอย่างหนักอีกด้วย นายคาร์ลอส การ์เซีย รอว์ลินส์ ช่างภาพของสำนักข่าวรอยเตอร์ เคยได้ถ่ายภาพเพื่อสะท้อนให้เห็นสภาวะเงินเฟ้อของประเทศเวเนซุเอลา ว่าประชาชนต้องใช้เงินมากเท่าไหร่ ถึงจะสามารถซื้ออาหาร และของใช้ในชีวิตประจำวันได้
"เวเนซุเอลา" ประเทศที่เคยร่ำรวย เมื่อย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 60 ปีที่แล้ว ประชาชนเวเนซุเอลามีรายได้ขั้นต่ำมากกว่าคนไทยถึง 11 เท่าตัว ในปีค.ศ. 1960 คนเวเนซุเอลา มีรายได้ต่อเดือนถึง 2 หมื่นบาท ในขณะที่คนไทยมีรายได้ต่อเดือนเพียง 2 พันกว่าบาท เวเนซุเอลาส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหนักมากกว่าร้อยปี ตั้งแต่ปี 1917 แต่ใครจะคิดละว่าประเทศที่สามารถหารายได้จากจากน้ำมันตกปีละหลายพันล้านต่อปี จะต้องประสบปัญหาเศรษฐกิจและกลายเป็นประเทศที่ล้มละลายมาถึงปัจจุบัน
เวเนซุเอลาประสบปัญหาเงินเฟ้อขั้นสูงผิดปกติ แปลว่า ประชาชนชาวเวเนซุเอลาต้องเจอกับปัญหาการขึ้นราคาของสินค้าและอาหารแบบก้าวกระโดดแบบเฉียบพลันจากข้าวที่เคยจานละ 20 บาทก็ขึ้นเป็นจานละ 120 ในเวลาเพียง 1 ปี โดยภาพที่เราเห็นก็บ่อย ๆ เช่นรูปภาพเงินเกลื่อนถนน คนแบกเงินเป็นกระสอบเพื่อไปซื้อไข่ไก่ สาเหตุของความพินาศทางเศรษฐกิจของเวเนซุเอลามาจากนโยบาย "ประชานิยม"
รัฐบาลเวเนซุเอลาสนับสนุนนโยบายการแจกจ่ายเงินให้กับประชาชน ซึ่งนโยบายประชานิยมนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น นักวิชาการหลายคนก็ได้ออกมาบอกแล้วว่าการทำเช่นนี้ไม่ได้เป็นช่วยในการพัฒนาเศรษกิจ แถมยังทำให้ประเทศไม่พัฒนาอีกด้วย เนื่องจากแม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศจะอยู่ในขั้นวิกฤติ แต่พวกเขาก็ไม่ได้รู้สึกเดือดร้อนเพราะว่ามีเงินรัฐบาลหนุนหลังอยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะในยุคของประธานาธิบดีฮูโก ชาเบช ที่ออกนโยบายกดราคาสินค้า เพื่อให้ประชาชนได้ซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าต้นทุน ทำให้บริษัทเอกชนไม่สามารถสู้ได้และทยอยปิดตัวลงในที่สุด ในปี 1970 การลงทุนภาตเอกชนของเวเนซุเอลาอยู่ในอัตราที่ต่ำกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ของ GDP เป็นเหตุให้ทางรัฐบาลเวเนซุเอลาต้องนำเข้าสินค้ามาจากต่างประเทศ บวกกับปัญหาคอรัปชั่น เส้นสายที่มีอยู่ในองค์กรขาดและการประสานงานการค้าจากภาคเอกชน และนั่นคือเหตุผลที่ทำให้เวเนซุเอลาพบกับหายนะ
จากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลงและโครงการประชานิยมที่รัฐบาลเคยสร้างไว้ ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้อขั้นรุนแรง เงินที่เคยมีก็เริ่มไม่พอใช้รัฐบาลจึงต้องจำเป็นที่จะพิมพ์ธนบัตรขึ้นมาใช้เอง เวเนซุเอลามีผู้ที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนถึง 55.6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ ในปี 1997 และในปี 2016 ราคาน้ำมันได้ลดลงอย่างหนัก ทำให้ทางกองการคลังไม่มีเงินตราต่างประเทศเหลืออยู่แล้วในขณะที่สินค้าแทบทุกอย่างต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
จากสถิติปี 2019 ธนาคารกลางเวเนซุเอลาระบุว่า อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 9,585 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เวเนซุเอลาต้องลดอัตราการผลิตน้ำมันจาก 3.2 ล้านบาร์เรลต่อวันเมื่อทศวรรษก่อนเหลือเพียง 900,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น ซึ่งปัญหาเศรษฐกิจดูเหมือนว่ายังไม่คลี่คลายและยังรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆอีกด้วย
ขอขอบคุณที่มา elimpulso.com/moneybuffalo.in.th