ราชกิจจา ประกาศเกณฑ์แพลตฟอร์ม ฟู้ดดิลิเวอรี-ร้านอาหาร
เมื่อวันที่ 23 พ.ย.63 เว็ปไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้ออกประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง ” แนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร” ซึ่งมีรายละเอียดคือ
โดยที่เป็นการสมควรให้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติ เพื่อพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร กับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 17 (3) แห่งพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 2 ในประกาศนี้ “ดิจิทัลแพลตฟอร์ม” หมายความว่า ธุรกิจออนไลน์ที่สร้างความเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ผู้จัดส่งอาหารและผู้บริโภค
“ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางรับคำสั่งซื้ออาหารและส่งอาหาร ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ผู้ให้บริการจัดส่งอาหารและผู้บริโภค หรือระหว่างผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารและผู้บริโภคในการรับคำสั่งซื้ออาหาร
“ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร” หมายความว่า ผู้ประกอบธุรกิจที่จำหน่าย ผลิตเพื่อจำหน่ายอาหาร ที่ใช้หรืออาศัยบริการช่องทางการจำหน่ายทางดิจิทัลแพลตฟอร์ม
“อาหาร” หมายความว่า วัตถุทุกชนิดในรูปแบบปรุงสุก กึ่งปรุงสุก หรือรูปแบบอื่นใดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แต่ไม่รวมถึงยา
ข้อ3 การปฏิบัติทางการค้าระหว่างผู้ประกอบธุรกิจ ให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร กับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ให้ยึดหลักการประกอบธุรกิจที่เสรีและเป็นธรรม ซึ่งต้องเป็นการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นการบังคับ ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ ไม่เป็นการกีดกัน มีบรรทัดฐานชัดเจนมีข้อตกลงล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และเป็นการดำเนินการตามธุรกิจปกติที่มีเหตุผลอธิบายได้
ข้อ4ภายใต้บังคับข้อ 3 การปฏิบัติทางการค้าของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร ซึ่งอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารมีแนวทางในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
(1)การเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เป็นธรรม เช่นพฤติกรรมดังต่อไปนี้
(ก)การเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้ (Commission Fee หรือ Gross Profit (GP)) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติ อันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
1)การเรียกเก็บค่าส่วนแบ่งรายได้ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรจากอัตราที่เคยเรียกเก็บ
2)การเรียกเก็บในอัตราที่แตกต่างกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรระหว่างผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารที่จำหน่ายสินค้าเดียวกัน โดยพิจารณาจากปริมาณ มูลค่าการจำหน่าย ต้นทุนการจำหน่ายจำนวนสาขาและคุณภาพ เป็นต้น
(ข) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโฆษณา (Advertising Fee) ทั้งในส่วนของอัตราค่าโฆษณาและพื้นที่การโฆษณาบนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นการเรียกเก็บ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เช่น การเรียกเก็บอัตราค่าโฆษณา เพื่อส่งเสริมการขายโดยผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ที่จ่ายค่าโฆษณาไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่ตกลงกันอย่างไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น
(ค)การเรียกเก็บค่าส่งเสริมการขายในโอกาสพิเศษทางการตลาด (Promotion) ที่เป็นการเรียกเก็บโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(ง)การเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทน หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่เคยมีการเรียกเก็บมาก่อน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ความในข้อ ๔
(๑) ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหาร จะต้องแจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารทราบล่วงหน้าถึงเหตุผลและความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลาที่เหมาะสม
(2)การก าหนดเงื่อนไขทางการค้าอันเป็นการจ ากัดหรือขัดขวางการประกอบธุรกิจของผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรม เช่น การกำหนดเงื่อนไขที่เป็นการจำกัดสิทธิ (Exclusive Dealing) ของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารที่มีลักษณะเป็นการบังคับ โดยการห้ามจำหน่ายอาหารผ่านช่องทางของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารรายอื่น โดยไม่มีเหตุผลอันสมควรและหากผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษด้วยวิธีทางการค้าต่างๆ เช่น การคิดอัตราค่าส่วนแบ่งรายได้ในอัตราที่สูงขึ้น ไม่ให้หรือระงับส่วนลดอัตราค่าส่วนแบ่งรายได้ คิดอัตราค่าใช้จ่าย ค่าตอบแทนหรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น
(3)การใช้อำนาจตลาดหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่าอย่างไม่เป็นธรรม
(ก)การแทรกแซง หรือจำกัดความเป็นอิสระในการกำหนดราคาของผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (ข)การกำหนดเงื่อนไขบังคับด้านราคาที่เท่ากันในทุกช่องทางการจำหน่าย (Rate Parity Clause) เช่น การกำหนดบังคับให้ต้องจำหน่ายอาหารชนิดเดียวกัน ในราคาเท่ากันในทุกช่องทางการจำหน่าย โดยไม่มีทางเลือกด้านราคาโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร