อัปเดตเกณฑ์ ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน-ไม่ผ่าน ก่อนใช้สิทธิ
ข่าวเศรษฐกิจวันนี้ เกณฑ์ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เช็คให้พร้อม หลังเริ่มประกาศผลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใหม่ 1 มี.ค. 66 เช็คสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐล่าสุด ที่นี่
- ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน ทำอย่างไรต่อ แบบละเอียด
- ไม่ผ่านเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำยังไง แบบละเอียด
เกณฑ์ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ล่าสุด
ประกาศผลบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใหม่ 1 มี.ค. 66 ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถไปยืนยันตัวตนได้ที่ (1) ธนาคารกรุงไทยฯ (2) ธนาคารออมสิน หรือ (3) ธ.ก.ส. ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ จะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนด้วย ณ ธนาคารดังกล่าว ตามวันและเวลาทำการของแต่ละธนาคาร สำหรับผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถยื่นขออุทธรณ์ได้ตั้งแต่วันที่1 มีนาคม - 1 พฤษภาคม 2566 (62 วัน)
- ตรวจสอบบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผ่าน ทำอย่างไรต่อ แบบละเอียด
- ไม่ผ่านเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำยังไง แบบละเอียด
ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติผ่านช่องทางใด
ผู้ลงทะเบียนสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 ผ่าน 3 ช่องทาง คือ
- ผ่านเว็บไซต์โครงการ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th โดยระบุเลขประจำตัวประชาชนและวันเดือนปีเกิด ของผู้ลงทะเบียน
- หน่วยงานรับลงทะเบียน ทั้ง 7 หน่วยงาน โดยผู้ลงทะเบียนแสดงบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงให้แก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนเพื่อยืนยันตัวตนก่อนขอตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน
- ตรวจสอบผลทางโทรศัพท์กับหน่วยงานที่กำหนด ได้แก่
- สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง โทร. 09 4858 9794 (เวลาทำการ 08.30 – 16.30 น.)
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3502 3503 3506 3536 3542 3518 หรือ โทร. 08 5842 7102, 08 5842 7103, 08 5842 7104, 08 5842 7105, 08 5842 7106, 08 5842 7107 (เวลาทำการ 08.30 – 16.30 น.)
- Call Center โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โทร. 02 109 2345 (เวลาทำการ 08.30 – 17.30 น.)
ผู้ลงทะเบียนที่ ผ่าน การพิจารณาคุณสมบัติ ต้องดำเนินการอย่างไร
- ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติต้องทำการยืนยันตัวตนด้วยบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) เท่านั้น โดยสามารถทำการยืนยันตัวตนได้ที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส. หรือ ธนาคารออมสินแห่งใดแห่งหนึ่ง
ผู้ลงทะเบียนที่ผ่านการพิจารณาสามารถเริ่มยืนยันตัวตนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป ตามเวลาเปิดให้บริการของแต่ละธนาคาร โดยผู้ผ่านการพิจารณาจะต้องยืนยันตัวตนก่อนการเริ่มใช้สิทธิ - หากผู้ลงทะเบียนที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติไม่มีบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชน ขอให้ผู้ลงทะเบียนผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยผู้ได้รับสิทธิสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้
ทั้งนี้ เมื่อผู้ได้รับสิทธิดำเนินการยืนยันตัวตนเสร็จเรียบร้อยแล้วจะสามารถตรวจสอบสถานะการยืนยันตัวตนของตนเองผ่านทางเว็บไซต์ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th ในวันถัดไป หรือติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่หน่วยงานรับลงทะเบียนทั้ง 7 หน่วยงาน หรือโทรศัพท์สอบถามได้ที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ผู้ลงทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (กลุ่มผู้ลงทะเบียนทั่วไปที่อายุต่ำกว่า 60 ปีและยื่นแบบฟอร์มไม่สามารถตามหาคู่สมรสได้) หากผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ ต้องดำเนินการอย่างไร
- ผู้ลงทะเบียนแบบมีเงื่อนไข (กลุ่มผู้ลงทะเบียนทั่วไปที่อายุต่ำกว่า 60 ปี และยื่นแบบฟอร์มไม่สามารถตามหาคู่สมรสได้) สามารถเดินทางไปยืนยันตัวตนได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ลงทะเบียนต้องเดินทางไปยืนยันตัวตน ที่ธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส. หรือ ธนาคารออมสิน โดยต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนอเนกประสงค์ (Smart Card) เท่านั้น และจะต้องนำเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ใบสำคัญการหย่า ใบมรณบัตร หนังสือรับรองการตาย หรือทะเบียนบ้านที่มีการจำหน่ายตาย อย่างใดอย่างหนึ่ง ประกอบการยืนยันตัวตนต่อเจ้าหน้าที่ โดยจะต้องยื่นเอกสารดังกล่าวภายในระยะเวลา 1 ปี นับ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 จึงจะได้รับสิทธิสวัสดิการ
ผู้ลงทะเบียนจำเป็นต้องมีบัญชีเงินฝากธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์บัตรประชาชนหรือไม่
- ผู้ลงทะเบียนที่ได้รับสิทธิต้องผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิสวัสดิการ โดยผู้ได้รับสิทธิสามารถผูกบัญชีพร้อมเพย์กับธนาคารใดก็ได้
ผู้ลงทะเบียนที่ ไม่ผ่าน การพิจารณาคุณสมบัติ ต้องดำเนินการอย่างไร
ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ สามารถขอยื่นอุทธรณ์ผลการพิจารณาได้ โดย
- ยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองผ่านเว็บไซต์โครงการ https://บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ.mof.go.th หรือ https://welfare.mof.go.th
- ยื่นอุทธรณ์ผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียน ทั้ง 7 หน่วยงาน โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมแจ้งความประสงค์ขออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ (ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติสามารถยื่นอุทธรณ์ผ่านหน่วยงานรับลงทะเบียนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นหน่วยงานรับลงทะเบียนเดียวกับที่ลงทะเบียน)
ทั้งนี้ผู้ลงทะเบียนจะต้องติดต่อหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติที่ผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านคุณสมบัติเพื่อขอปรับปรุงหรือแก้ไขข้อมูลในกรณีที่ข้อมูลไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในวันที่ 1 พฤษภาคมคม 2566
ผู้ลงทะเบียนที่ยื่นอุทธรณ์ต้องพิมพ์เอกสารหลังจากยื่นอุทธรณ์หรือไม่
- ผู้ลงทะเบียนสามารถเลือกพิมพ์เอกสารผลการพิจารณาคุณสมบัติ หากต้องการใช้ประกอบการอุทธรณ์กับหน่วยงานตรวจสอบคุณสมบัติ ยกเว้น ในกรณีที่ผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติเกณฑ์หนี้สิน ผู้ลงทะเบียนจะต้องพิมพ์เอกสารเพื่อใช้ประกอบการขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต
ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสถานะบุคคลกับกรมการปกครองสามารถยื่นอุทธรณ์ได้หรือไม่
- ผู้ลงทะเบียนที่ไม่ผ่านการตรวจสอบสถานะบุคคลกับกรมการปกครอง โดยมีสถานะการลงทะเบียนเป็น "ข้อมูลไม่สมบูรณ์" ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ เนื่องจากได้สิ้นสุดระยะเวลาในการแก้ไขข้อมูลสถานะการลงทะเบียนแล้ว ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนที่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ต้องมีสถานะการลงทะเบียนเป็น "ไม่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ" เท่านั้น
หากผู้ลงทะเบียนไม่สามารถเดินทางมาตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติ หรืออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ กรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติด้วยตนเองได้ที่หน่วยงานรับลงทะเบียน ต้องดำเนินการอย่างไร
กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเป็น ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาตรวจสอบผลการพิจารณาคุณสมบัติ หรืออุทธรณ์ผลการพิจารณาคุณสมบัติ กรณีที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจได้ โดยจะต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้
- หนังสือมอบอำนาจ (สำหรับผู้ลงทะเบียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง) (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์โครงการ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน (ผู้มอบอำนาจ) พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาบัตรประจำตัวคนพิการ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
หากผู้ลงทะเบียนไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนด้วยตนเองได้ ต้องดำเนินการอย่างไร
กรณีที่ผู้ลงทะเบียนเป็น ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมายืนยันตัวตนได้ด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจได้ โดยจะต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้
- หนังสือมอบอำนาจ (สำหรับผู้ลงทะเบียนที่เป็นผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ด้วยตนเอง) (ดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์โครงการ)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน (ผู้มอบอำนาจ)
- บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
- บัตรประจำตัวคนพิการ (ถ้ามี) หรือใบรับรองแพทย์ (ถ้ามี)
ข้อมูลจาก กระทรวงการคลัง
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.
คลิกเลย >>> TrueID Community <<<