รีเซต

อังกะลุง คืออะไร เปิดประวัติ อังกะลุง เครื่องดนตรีเขย่าสร้างเสียงจากประเทศอินโดนีเซีย

อังกะลุง คืออะไร เปิดประวัติ อังกะลุง เครื่องดนตรีเขย่าสร้างเสียงจากประเทศอินโดนีเซีย
Ingonn
16 พฤศจิกายน 2565 ( 12:56 )
3.2K

อังกะลุง คือเครื่องดนตรี ที่สมัยเด็กๆ หลายคนคงเคยได้ลองเล่นที่โรงเรียนกันมาบ้างแล้ว โดยวันที่ 16 พฤศจิกายน เป็นวันสำคัญทางมรดกโลกของ อังกะลุง อีกด้วย จึงทำให้ Google Doodle ขึ้นภาพเฉลิมฉลองเครื่องดนตรี อังกะลุง วันนี้ TrueID จึงจะพาไปเปิดประวัติ อังกะลุง ว่าอังกะลุง มาจากประเทศอะไร และมีวิธีการบรรเลงอังกะลุง อย่างไรบ้าง

 

อังกะลุง

อังกะลุง คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง โดยอังกะลุง มาจากประเทศอินโดนีเซีย มีต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่เป็นจังหวัดชวาตะวันตกและจังหวัดบันเตินของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน

 

ประวัติอังกะลุง

อังกะลุง มาจากภาษาซุนดา ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้พูดในหมู่ชาวซุนดา ประเทศอินโดนีเซียในเขตชวาตะวันตก โดยชาวซุนดาเป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้มานานหลายศตวรรษ ถือเป็นวัฒนธรรมของชาวซุนดาและบันเติน โดยในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 ยูเนสโก ได้รับรองว่าอังกะลุงอินโดนีเซียเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ พร้อมสนับสนุนให้ชาวอินโดนีเซียรักษา ถ่ายทอด วัฒนธรรมการการเล่นอังกะลุง และสนับสนุนงานช่างฝีมืออังกะลุงต่อไป

 

ภาพจาก ADEK BERRY / AFP

 

วิธีการบรรเลงอังกะลุง

วิธีการเล่นอังกะลุง การเล่นอังกะลุงต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานกัน อาจเล่นเป็นวงดนตรีอังกะลุงโดยเฉพาะ หรือเล่นรวมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ก็ได้ มักพบในวงดนตรีของสถาบันการศึกษามากกว่าวงดนตรีอาชีพ

 

โดยทั่วไปเครื่องหนึ่งจะมีเสียงเดียว การเล่นอังกะลุงให้เป็นเพลงจึงต้องใช้อังกะลุงหลายเครื่อง โดยมักจะให้นักดนตรีถืออังกะลุงคนละ 1–2 เครื่อง เมื่อต้องการโน้ตเสียงใด นักดนตรีประจำเสียงนั้นก็จะเขย่าอังกะลุง การเล่นอังกะลุงจึงต้องอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นอย่างมาก

 

นอกจากอังกะลุงเครื่องละหนึ่งเสียงแล้ว ยังมีการผลิตอังกะลุงที่มีเครื่องหนึ่งมากกว่า 1 เสียงด้วย เรียกว่า อังกะลุงราว

 

วงอังกะลุงวงหนึ่งจะมีอังกะลุงอย่างน้อย 7 คู่ หรือ 5 คู่ ก็ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่และงาน โดยจะมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง, กลองแขก นอกจากนี้มักมีเครื่องตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ธงชาติ, หางนกยูง เป็นต้น มีมากในเขตนนทบุรี

 

อังกะลุงไทย

หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. 2451 เมื่อครั้งที่โดยเสด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดช ขณะเสด็จพระราชดำเนินประพาสเกาะชวา

 

อังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ 3 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา (อินโดนีเซีย) คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียง โดยหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวงที่วัดราชาธิวาสในสมัยรัชกาลที่ 6

 

อังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้นมี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดทั้งตัวอังกะลุงและราง ภายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชกาลที่ 6 เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการเขย่าแทน นับว่าเป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

 

ภาพจาก OKA BUDHI / AFP

 

ข้อมูล วิกิพีเดีย

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง