รีเซต

รวม โรงเรียน - มหาวิทยาลัย เลื่อนปิด - เปิด คุมโควิด!

รวม โรงเรียน - มหาวิทยาลัย เลื่อนปิด - เปิด คุมโควิด!
TeaC
19 เมษายน 2564 ( 15:48 )
349

 

พิษโควิด-19 ระลอกใหม่ ระบาดไปทั่วประเทศ รวมถึงสถาบันการเรียน การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน มหาวิทยาลัย ต่าง ๆ ที่เข้าขบวนพาเหรดพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จนทำให้งัดมาตรการสู่ยุเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อป้องกันโควิดไม่ให้แพร่กระจายไปมากกว่านี้ ส่งผลให้มีการปรับการเรียนการสอนสู่การเรียนออนไลน์อย่างเต็มตัว

 

 

วันนี้ TrueID รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเรียน การสอน โรงเรียน มหาวิทยาลัย ที่มีบุคคลากรติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 จนต้องออกมาตรการเลื่อนเปิด-ปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2564 ผ่านเฟซบุ๊ก จะมีที่ไหนกันบ้าง เช็กได้เลยที่นี่

 

 

 

1. โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ เลื่อนเปิดเรียนเสริมระหว่างปิดภาคเรียนทุกระดับชั้น

 

จากการรายงานข่าวของศูนย์บริหารสถานการณ์"โควิด-19" (ศบค.) ที่พบการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในหลายพื้นที่  ณ ขณะนี้ และคาดว่าการแพร่ระบาดขยายวงกว้างออกไป

 

 

ดังนั้น ทางโรงเรียนได้พิจารณา โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียนและผู้ปกครองทุกคนเป็นหลัก ทางโรงเรียนจึงขอเลื่อนวันเปิดเรียนเสริมระหว่างปิดภาคเรียนทุกระดับชั้น เป็นวันที่ 26 เม.ย.ถึงวันที่ 14 พ.ค. 2564 (หยุดวันที่ 4 พ.ค.2564) รวม 14 วัน

 

ทั้งนี้ ในวันที่นักเรียนมาเรียนเสริมระหว่างปิดภาคเรียน ทางโรงเรียนจะดำเนินการทางด้านสุขอนามัยของทุกคน ตามมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

 

 

 

 

 

 

2. โรงเรียนหอวัง 

 

 

 

 

 

ภายหลังได้รับแจ้งจากครูพิเศษ ปฎิบัติหน้าที่จัดการเรียนการสอนด้านดนตรี (ภาคปฎิบัติ) โครงการห้องเรียนพิเศษดนตรี มีผลติดเชื้อไวรัสโควิด -19 ยืนยันการติดเชื้อ วันที่ 13 เม.ย. 2564 เวลา 23.30 น. โดยมีเวลาติดต่อและใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.2564 ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 9-11 เม.ย.2564 ปฎิบัติกิจกรรม ณ โรงเรียนหอวัง

 

 

ดังนี้  วันที่ 9 เม.ย.2564 สอนดนตรี (ภาคปฎิบัติ) กับนักเรียน 11 คน วันที่ 10 เม.ย.2564 สอนเปียโนกับนักเรียน 1 คน และวันที่ 11 เม.ย.2564 สอนกีตาร์เบสกับนักเรียน 1 คน 

 

"มาตรการป้องกัน" คือ

 

1. ดำเนินการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อในบริเวรณที่มีผู้ติดเชื้อสัมผัสและบริเวณใกล้เคียง

2. ให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน 2564 เฝ้าสังเกตอาการ และหากพบอาการต้องสงสัยให้ไปรับการตรวจคัดกรองที่ศูนย์สาธารณสุขใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด หรือพบแพทย์เพื่อตรวจอาการ และรับคำแนะนำในการปฏิบัติต่อไป

3. กรณีใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้เฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน และปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด

4. งดการจัดกิจกรรมทุกประเภท ตั้งแต่วันที่ 14-27 เมษายน 2564 กรณีการรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกาษปีที่ 4 ให้ดำเนินการด้วยระบบออนไลน์ ผ่านเว็บไซด์ www.bangkok2.org และ www.horwang.ac.th 

 

ต่อมา วันที่ 16 เม.ย.2564 ทาง โรงเรียนหอวัง ได้ออกประกาศเพิ่มเติม เนื่องจากพบครูติดเชื้อเพิ่มอีก 1 ราย  เมื่อวันที่ 15 เม.ย.ที่ 2564 เวลา 20.30 น.ที่ผ่านมา  

 

ทางโรงเรียนจึงได้ดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ดังนี้ งดใช้งานอาคารดนตรี และห้องซ้อม 14 วัน เพื่อพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในบริเวณที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสและบริเวณใกล้เคียง ให้ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในระหว่างวันที่ 9-15 เม.ย. 2564 เฝ้าสังเกตอาการ และหากพบอาการต้องสงสัยให้ไปรับการตรวจคัดกรองที่ศูนย์สาธารณสุขใกล้บ้านโดยเร็วที่สุด หรือพบแพทย์เพื่อตรวจอาการ และรับคำแนะนำในการปฏิบัติ

 

 

 

 

 

 

3. โรงเรียนสายน้ำผึ้ง

 

 

มีบุคลากรของโรงเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างประเทศ จำนวน 4 ท่าน ติดเชื้อโควิด-19  ทั้งนี้ขอให้ครู บุคลากร และนักเรียน ที่มีประวัติใกล้ชิดกับบุคลากรทั้ง 4 ท่าน ให้กักตัวอยู่ในที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน และสังเกตอาการ หากมีอาการไอ เจ็บคอ มีไข้ หรือหายใจเหนื่อยหอบ ให้รีบไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้เคียง และหากมีผลเป็นบวก ให้รีบรายงานต่อผู้อำนวยการโรงเรียนโดยด่วน

 

5. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ

 

ตามที่ได้มีการประกาศการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 10) ลงวันที่ 30 มี.ค.2564 แต่เนื่องจากสถานการณ์ที่ยังคงแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องของ จ.สมุทรปราการ 

 

 

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้าสมุทรปราการ จึงมีมาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค"โควิด-19" รอบที่ 3 อาทิ  ห้ามการดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค จัดตั้งจุดคัดกรองเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายบริเวณประตูทางเข้า-ออก จัดให้มีการทำความสะอาดห้องเรียน ห้องปฎิบัติการและพื้นที่อื่น ๆ ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย  คัดกรองบุคคลภายนอกอย่างเคร่งครัด โรงเรียนจัดเป็นพื้นที่ควบคุม การสั่งสิ่งของหรืออาหารโดยใช้บริการ Delivery เป็นต้น

 

 

  • การรับสมัครนักเรียนชั้น ม.1 และม.4 ปีการศึกษา 2564 ประเภทห้องเรียนปกติ

ในระหว่างวันที่ 24-28 เม.ย.2564

ให้เป็นการสมัครในรูปแบบออนไลน์ โดยติดตามข้อมูลได้จากทาง www.tuns.ac.th

 

 

  • การยื่นหลักฐานมอบตัวนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับชั้น ม.1 ห้องเรียนพิเศษหลักสูตร Mini-English Program และชั้น ม.4 ห้องเรียนพิเศษหลักสูตร Intensive-Gifted Program

 

เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 3 พ.ค.2564 เวลา 9.00 น. ณ ห้องประชุม 1 อาคาร 2 ชั้น 2  

หากมีการเปลี่ยนแปลง ทางโรงเรียนจะแจ้งวันและเวลาในการยื่นหลักฐานมอบตัวนักเรียนให้ทราบในครั้งต่อไป

 

 

มหาวิทยาลัย ปิดสถานศึกษาชั่วคราว 

 

 

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

ตามที่มหาวิทยาลัยได้มีประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การปิดสถานที่ทำการชั่วคราว การจัดการเรียนการสอน และการปฏิบัติงาน ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค "โควิด-19" ลงวันที่ 8 เม.ย.2564 โดยให้มหาวิทยาลัยปิดสถานที่ทำการในเขตกรุงเทพมหานครเป็นการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย.2564  ถึง 25 เม.ย.2564 รวมทั้งปรับรูปแบบการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานของบุคลากรนั้น

 

 

เนื่องจากปรากฏว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโรค “โควิด-19” มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการระบาดระลอกใหม่นี้ได้กระจายออกไปในหลายพื้นที่อย่างรวดเร็ว รัฐบาลโดยข้อเสนอของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 จึงได้ออกข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 16 เม.ย.2564

 

 

กำหนดพื้นที่สถานการณ์เพื่อการบังคับใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและพื้นที่ควบคุม  สำหรับจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นที่เป็นสถานที่ทำการที่ตั้งนอกเขตกรุงเทพมหานคร  ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและลดโอกาสติดเชื้อโรค “โควิด-19” แก่นักเรียน นิสิต และบุคลากร รวมทั้งให้การดำเนินงานของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

 

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 27  และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2551 จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการดังนี้

 

 

1.ให้ขยายเวลาการปิดสถานที่ทำการที่ตั้งในเขตกรุงเทพมหานครออกไปจนถึงวันที่ 23 พ.ค.2564

2.ให้ปิดสถานที่ทำการที่ตั้งนอกเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 19 เม.ย.2564 ถึง 23 พ.ค.2564 ขอให้นักเรียน นิสิต และบุคลากรปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวต่อไปอย่างเคร่งครัด

 

 

2. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

 

ประกาศ เรื่องการเรียนการสอนและการสอบ หลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาภาคปลาย ปีการศึกษา 2563 และภาคฤดูร้อน 2564  เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยจะเป็นการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ทั้งหมด  สำหรับรายวิชาปฎิบัติการ การฝึกงาน สหกิจศึกษา ขอให้อาจารย์ผู้สอนคำนึงถึงความครอบคลุมเนื้อหาวิชา และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน

 

 

 

ขณะเดียวกัน  ม.เกษตรศาสตร์ ได้ประกาศมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  โดยการปฎิบัติงานของบุคลากร กำหนดมาตรการในการปฎิบัติงานจากที่พัก (Work from home) แบบเต็มขีดความสามารถ และให้มาปฎิบัติงานที่มหาวิทยาลัยเท่าที่จำเป็น

 

 

 

 

 

3. มหาลัยธรรมศาสตร์

 

จากการติดตามสถานการณ์และข่าวสารของศูนย์บริหารสถานการณ์ "โควิด-19" (ศบค.) ปรากฏว่ามีจำนวนผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และกระจายไปทั่วประเทศเกือบทุกจังหวัด เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและลดโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อของคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษาซึ่งจะต้องเดินทางมาปฏิบัติงานหรือดำเนินกิจกรรมในด้านต่าง ๆในมหาวิทยาลัย จึงออกมาตรการ

 

 

ดังนี้ การปฏิบัติงานในช่วงระหว่างวันที่16 - 30 เมษายน พ.ศ. 2564 ให้คณาจารย์และบุคลากรใช้รูปแบบการปฏิบัติงานภายในที่พักหรือการปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from Home) หรือ "WFH" โดยให้รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการสำนักหรือสถาบัน ผู้อำนวยการกอง เลขานุการคณะ/สำนักหรือสถาบัน หรือตำแหน่งเทียบเท่าซึ่งเรียกชื่ออย่างอื่นสับเปลี่ยนเข้ามาปฏิบัติงานในสำนักงานของตนเพื่อให้การดำเนินงานของส่วนงานคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพและไม่กระทบต่อการปฏิบัติงานโดยจะต้องมีการดำเนินมาตรการทางด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

 

 

ส่วนการจัดการเรียนการสอน การสอบ การประชุม การอบรม การสัมมนาและการจัดกิจกรรมต่าง ๆให้ดำเนินการในรูปแบบออนไลน์ ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งไม่สามารถดำเนินการในรูปแบบออนไลน์ได้ให้เสนอขอหัวหน้าส่วนงานเพื่อพิจารณาอนุมัติตามที่เห็นสมควร โดยจะต้องมีการดำเนินการตามมาตรกา ร ทางด้านสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด และให้หัวหน้าส่วนงานรายงานมหาวิทยาลัยเพื่อทราบ

 

 

ขณะที่ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับคณะที่ปรึกษา และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ถึงแนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2554 ซึ่งมีข้อสรุปว่า การเปิดภาคเรียนที่ 1 ยังเป็นไปตามกำหนดเดิม คือ วันที่ 17 พ.ค. แต่หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่เป็นการระบาดรอบใหม่ยังไม่ดีขึ้นก็อาจจะเสนอให้มีการเลื่อนเปิดภาคเรียนออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย.2564 ต่อไป

 

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง