รีเซต

ญี่ปุ่นเตรียมปล่อย "น้ำเสีย" ลงทะเล หลังทะเลสะอาดเกินไป จนสัตว์ขาดสารอาหาร

ญี่ปุ่นเตรียมปล่อย "น้ำเสีย" ลงทะเล หลังทะเลสะอาดเกินไป จนสัตว์ขาดสารอาหาร
ข่าวสด
26 ตุลาคม 2563 ( 17:42 )
370
ญี่ปุ่นเตรียมปล่อย "น้ำเสีย" ลงทะเล หลังทะเลสะอาดเกินไป จนสัตว์ขาดสารอาหาร

ภาพที่น่าตื่นตาตื่นใจ และพบได้ในญี่ปุ่นเท่านั้น คงหนีไม่พ้นภาพคูคลองที่สะอาดจนเห็นปลาสีสวย แหวกว่ายอย่างสนุกสนาน ที่มีผลพลอยได้มาจากระบบการบำบัดน้ำเสียจนสะอาด แต่ใครจะไปรู้ว่าการบำบัดน้ำสะอาดเกินไปก็ส่งผลกระทบได้เช่นกัน

 

 

น้ำเสีย มักจะมีสิ่งเจือปน ไม่ว่าจะเป็น ขยะ ตะกอน หรือสารเคมีอยู่มากมาย ซึ่งสารบางชนิดที่เจือปนอยู่นั้นกลับเป็นแหล่งพลังงานให้กับ แพลงตอนพืช ในกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ที่สามารถเติบโตได้ดีในทะเลที่มี แอมโมเนีย ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส มาก ซึ่งแพลงตอนนั้นเป็นสิ่งมีชีวิตมีบทบาทสำคัญต่อทะเลเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าเป็นผู้ผลิตขั้นต้นของห่วงโซ่อาหาร และเป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด

 

ทำให้ กระทรวงสิ่งแวดล้อมของญี่ปุ่น เตรียมวางแผนที่จะใช้มาตรการที่จะป้องกันไม่ให้ ทะเลในเซโตะ "สะอาดเกินไป" อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประมง หลังจากพบว่า ทะเลในเซโตะนั้นมีความหนาแน่นของเกลือ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัสลดลง ส่งผลให้สาหร่ายเปลี่ยนสี และจำนวนปลาที่ลดน้อยลง

 

 

ก่อนหน้านี้ทะเลในเซโตะเสื่อมโทรมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการปล่อยน้ำเสียจากอุตสาหกรรมลงทะเล ในช่วงที่เศรษฐกิจมีการเติบโตสูง ในปี 1973 ให้กระทรวงสิ่งแวดล้อมจึงได้ออกกฏหมาย เริ่มต้นบำบัดน้ำเสียโดยการลดเกลือที่มีส่วนสร้างสารอาหารในน้ำลง

ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำขุ่นมัว เน่าเหม็น และเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลของ แพลงตอนพืช ส่งผลให้พืช และสัตว์น้ำในบริเวณนั้นตายลง รวมถึงเริ่มมีการจำกัดการปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น

 

 

แต่การลดการปล่อยเกลือสารอารหารลงน้ำนั้น ทำให้ปริมาณของแพลงตอนลดต่ำลงทำให้สาหร่ายเปลี่ยนสีและจำนวนปลาก็ลดลงด้วย ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการประมงในพื้นที่ และฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่าย เป็นอย่างมาก

เพื่อไม่ให้ขัดกับข้อกฎหมายเดิม ทำให้ทางกระทรวงได้พิจารณา และจะส่งร่างพระราชบัญญัติเพื่อแก้ไข กฏหมายมาตรการพิเศษเกี่ยว กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของทะเลเซโตะในสภาไดเอทแห่งชาติญี่ปุ่นซึ่งมีกำหนดจัดประชุมในต้นปีหน้า เพื่อกำหนดปริมาณเกลือ และดำเนินมาตรการให้บรรลุเป้าหมาย

 

 

โดยมาตรการดังกล่าวจะดำเนินการโดยหน่วยงานของท้องถิ่น เพราะมีความเข้าใจในพื้นที่มากกว่า ซึ่งมาตรการพิเศษดังกล่าว คาดว่าจะเริ่มในช่วงฤดูการเลี้ยงสาหร่ายระหว่างฤดูใบไม้ร่วง จนถึงฤดูใบไม้ผลิในปีถัดไป โดยจะมีการเพิ่มปริมาณเกลือ โดยการปล่อยน้ำออกจากโรงบำบัดน้ำเสีย เขื่อน รวมถึงอ่างเก็บน้ำ เพื่อให้แหล่งเกลือสารอาหารเข้าสู่ทะเล

ที่มา : japantimes / greenpeace

ข่าวที่เกี่ยวข้อง