รีเซต

จิตอาสาพระราชทานนครพนม พร้อมใจปลูกป่า 8,826 ต้น ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า

จิตอาสาพระราชทานนครพนม พร้อมใจปลูกป่า 8,826 ต้น ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า
77ข่าวเด็ด
24 กรกฎาคม 2563 ( 07:08 )
94

นครพนม – วันที่ 24 กรกฎาคม 2553 ที่บ้านอูนนา หมู่ที่ 11 ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม นายรังสรรค์ คัมภิรานนท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานนำคณะประชาชนจิตอาสา หัวหน้าส่วนราชการ ตลอดจนเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันปลูกต้นกล้าไม้ตามโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ที่ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จัดขึ้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎร

โดยพระองค์ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการแก่ประชาชนชาวไทย ความว่า เราจะสืบสานรักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป สะท้อนถึงพระราชปณิธานและพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ในการทรงงาน เพื่อจะสืบสาน รักษาและต่อยอด โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยให้ความสำคัญและห่วงใยในเรื่องน้ำและป่า เนื่องจากการสูญเสียพื้นที่ป่าต้นน้ำ เป็นสาเหตุหลักที่แท้จริงของปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยทรงพระราชทานแนวพระราชดำริ พระราชทานคำแนะนำ ตลอดจนพระราชทานทรัพย์สินส่วนพระองค์ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินการแก้ปัญหามีความยั่งยืน สามารถบูรณาการทุกภาคส่วนร่วมกันแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

โดยโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า ได้กำหนดพื้นที่ป่าที่ได้รับการฟื้นฟูและมีพื้นที่สีเขียวนอกเขตป่าภายใต้โครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่าเพิ่มขึ้นรวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 2.68 ล้านไร่ ใน 76 จังหวัดและกรุงเทพมหานคร มีระยะดำเนินการตั้งแต่ปี 2563-2570 โดยในระยะเร่งด่วนของโครงการ พสกนิกรจังหวัดนครพนมได้น้อมนำทฤษฎีการปลูกป่าตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปลูกเลียนแบบธรรมชาติ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ในวันนี้บนพื้นที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าหนองไผ่ ที่มีเนื้อที่รวม 102 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา ประกอบไปด้วย อินทนิล 13 ต้น ไม้พะยูง 600 ต้น ไม้ประดู่ 700 ต้น มะค่าโมง 600 ต้น ไผ่รวก 500 ต้น ไผ่ซางนวล 500 ต้น สะเดา 500 ต้น หวาย 600 ต้น ไม้แดง 200 ต้น ขี้เหล็ก 500 ต้น และหางนกยูงฝรั่ง 100 ต้น รวมทั้งสิ้น 8,826 ต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง