จับตาตลาด คริปโทเคอร์เรนซี อะไรที่เป็นอุปสรรคการเก็งกำไร ของนักลงทุนในปี 2022


ช่วงปี 2021 เป็นปีที่วงการ คริปโทเคอร์เรนซี คึกคักอยู่พอสมควร โดยเฉพาะในบ้านเราที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่หลายอย่าง และยังมีอีกหลายประเด็นที่นักลงทุนเฝ้าติดตาม โดยเฉพาะมาตรการต่างๆของเฟด ที่มีเอฟเฟคต่อตลาดการเงิน รวมทั้งคริปโทฯด้วย
1. วงจรการตึงตัวของการเงินโลก
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นได้มาถึงแล้วในปี 2021 ในหลายพื้นที่ของโลก แต่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้ทำให้กระบวนการนี้เป็นไปทั่วโลกอย่างแท้จริง โดยที่ผ่านมาเฟด ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว เนื่องจากเฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยลงภายในระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งเป็นโครงการผ่อนคลายเชิงปริมาณที่ยังคงดำเนินการอยู่ที่ 120,000 ล้านดอลลาร์ต่อเดือน คาดว่าจะเพิ่มช่วงเป้าหมายสำหรับกองทุนเฟดได้มากถึง 75 คะแนนพื้นฐาน(bps)ระหว่างเดือนมีนาคมถึงสิ้นปี โดยจะกระชับมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับเส้นทางเงินเฟ้อในช่วงเวลานั้นๆ
อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงเนื่องจากการใช้เงินออมส่วนเกินในปี 2020 ได้ถูกนำมาใช้ในที่สุด ชี้ให้เห็นว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะอ่อนตัวลงในช่วงปี เฟดเองมองว่ารายจ่ายหลักของผู้บริโภคส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเพียง 2.6% ในปีหน้า หลังจากเพิ่มขึ้น 5.3% ในปีนี้ ปัจจัยสำคัญอื่น ๆ คือความกดดันที่มาจากสภาคองเกรสเนื่องจากการเลือกตั้งมิดเทอมใกล้จะมาถึงในเดือนพฤศจิกายน
แต่ตราบใดที่เฟดยังคงอยู่ในโหมดเข้มงวด แรงกดดันจะเกิดขึ้นต่อธนาคารกลางแห่งอื่น ๆ ยกเว้นสวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และ จีน
ภาพประกอบ : AFP
2. การเงินที่ตึงตัว เป็นการทดสอบที่เข้มงวดของสกุลเงินดิจิทัล
investing.com ได้เปิดเผยการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดการเงินที่ตึงตัวขณะนี้ว่า วงจรการเงินที่ตึงตัวทั่วโลกจะเป็นการทดสอบที่เข้มงวดสำหรับสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่สูงขึ้นกับสินทรัพย์เก็งกำไรในปีที่ผ่านมา สินทรัพย์เก็งกำไรมักจะทำงานได้ไม่ดีเมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น
อย่างไรก็ตามปี 2022 คาดว่าจะเป็นปีที่น่าตื่นเต้น ซึ่งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอินเดียต่างมีความคาดหวังว่า จะมีทิศทางด้านกฎระเบียบต่างๆ ซึ่งอาจส่งผลให้สินทรัพย์มีฐานที่แน่นขึ้น
รวมไปถึงความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีบล็อคเชนที่มีผลต่อสถานการณ์การเงิน เช่นความคืบหน้าของ Polygon ที่จัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับบล็อกเชนต่าง ๆ เพื่อสื่อสารระหว่างกัน อาจเพิ่มความสะดวกในการใช้งานของเหรียญจำนวนมาก
3. โควิด-19 ปีที่ 3 มีผลต่อตลาดเงินตลาดทุนแน่นอน
การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก เป็นอิทธิพลที่มีผลต่อการกำหนดนโยบายของเฟดและธนาคารกลางอื่น ๆ อีกหลายๆประเทศ และล่าสุด ไวรัสโควิดกลายพันธุ์ โอมิครอน ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรปและขณะนี้กระจายอยู่ใน 43 จาก 50 รัฐของสหรัฐอเมริกาแล้ว แม้ว่าปัจจุบันจะมีการพัฒนายาตัวใหม่ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับโอมิครอน แต่ก็ยังสร้างความกังวลให้กับประชาชนและนักลงทุนอยู่
ซึ่งประเด็นเหล่านี้ มีผลต่อการวางแผนนโยบายการเงินของบรรดาหน่วยงานด้านเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะธนาคารกลาง ในการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นลดอัตราดอกเบี้ยของเฟด เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อตลาดคริปโทฯเช่นกัน
4. สรรพากรไทยเรียกเก็บภาษีคริปโทฯ
เมื่อไม่นานมานี้ กรมสรรพากร ได้ออกมาประกาศชัดเจนแล้วว่า จะเริ่มจัดเก็บภาษี "สินทรัพย์ดิจิทัล" (digital asset) อย่าง คริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งเป็นไปตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ในประมวลกฎหมายรัษฎากร จะถือเป็น เงินได้ตามมาตรา 40(4) เงินได้จากผลประโยชน์หรือกำไร ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี หรือโทเคนดิจิทัล นักลงทุนจะต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% และแม้ว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 15% แต่ยังคงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมาคำนวณรวมกับเงินได้อื่นๆ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปี ตามปีที่ได้กำไรด้วย ส่วนนิติบุคคลจะถือเป็น กิจการต้องนำกำไรไปรวมคำนวณภาษีประจำปี
แน่นอนว่าประเด็นดังกล่าวเป็นที่ฮือฮาและดรามากันมากๆในตลาดคริปโทฯ ให้แสดงความเห็นกันต่างๆนานา ไม่แน่ว่าอาจจะมีผลให้นักลงทุนไทยลดวอลุ่มลงทุนในตลาดลงหรือไม่ เพราะว่าอัตราภาษีที่จะหักคิดตามสัดส่วนมูลค่ากำไร ยิ่งเป็นรายที่ได้กำไรจากการซื้อขายจำนวนมากๆแล้วก็อาจจะทำให้คิดหนักกันอยู่หากจะต้องมาเสียภาษีหลายต่อ แต่นั่นก็เป็นความเห็นและกำลังของแต่ละบุคคล เพราะการลงทุนมีความเสี่ยงเสมอที่จะได้กำไรหรือไม่ได้กำไร
ภาพประกอบ : AFP
ในปี 2022 นี้ยังเป็นปีที่โลก คริปโทเคอร์เรนซี ถูกจับตา และจะได้มีโอกาสเห็นกฎหมายใหม่ๆ จากภาครัฐออกมาควบคุมเข้มข้นขึ้น ขณะที่ฝั่งเอกชนที่สนับสนุนเงินคริปโทฯฯ จะมีการนำมาประยุกต์ใช้ในวงการธุรกิจ ซึ่งอาจจะหนุนให้มูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันเมื่อภาครัฐเข้ามาควบคุมมากขึ้น ก็อาจจะเป็นอุปสรรคในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ถึงอย่างไรก็ยังมีนักวิเคราะห์ในวงการฯที่คาดหวังว่า ในปีนี้จะได้เห็นมูลค่ารวมของตลาดสกุลเงินดิจิทัลเพิ่มขึ้นเป็น 3-5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพราะแม้จะมีความเสี่ยงแต่นักลงทุนก็คือนักลงทุน อยู่วันยังค่ำ
อ้างอิง : th.investing.com,กรมสรรพากร
ภาพประกอบ : AFP ,