รีเซต

เพชรชมพู กิจบูรณะ คือใคร? พร้อมเปิดข้อกฎหมายการ 'สิ้นสุดสภาพ ส.ส.' มีอะไรบ้าง?

เพชรชมพู กิจบูรณะ คือใคร? พร้อมเปิดข้อกฎหมายการ 'สิ้นสุดสภาพ ส.ส.' มีอะไรบ้าง?
TeaC
19 ตุลาคม 2564 ( 12:44 )
805

เพชรชมพู กิจบูรณะ คือใคร? นาทีนี้แวดวงข่าวสารการเมืองหลายคนอาจยังไม่รู้จักเธอคนนี้ หลังจากที่มีข่าวประกาศลาออกจากพรรครวมพลังประชาชาติไทย "ลุงกำนัน" หรือนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หัวหน้าพรรค ส่งผลให้สถานภาพ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (ส.ส.) สิ้นสภาพลงทันที วันนี้จะพาไปรู้จักประวัติของเธอคนนี้ พร้อมทั้งเปิดข้อกฎหมายการสิ้นสุดสภาพการเป็น ส.ส. นั้นมีข้อกำหนด หรือหลักเกณฑ์อะไรบ้าง? 

 

ประวัติ  เพชรชมพู กิจบูรณะ

 

สำหรับ เพชรชมพู กิจบูรณะ เป็นนักการเมืองชาวไทย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25 โดยเธอเกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ที่กรุงเทพมหานคร เข้าเรียนระดับประถมในประเทศไทย จากนั้นเข้าเรียนชั้นมัธยมในประเทศสิงคโปร์ ต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี Bachelor of Arts (Philosophy, Politics & Economics) จากมหาวิทยาลัยเดอรัม ประเทศอังกฤษ และ Bachelor of Law BPP UNIVERSITY ประเทศอังกฤษ

 

ส.ส.ที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25

 

ในเส้นทางทางการเมือง เพชรชมพูเคยขึ้นปราศรัยบนเวที กปปส. รวมถึงยังเคยเป็นตัวแทนประเทศขึ้นเวทีระดับโลกอย่าง One Young World เมื่อปี 2557 ที่ประเทศไอร์แลนด์ และนอกจากเป็น ส.ส.แล้ว เธอยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรครวมพลังประชาชาติไทย และเป็นโฆษกของพรรคอีกด้วย กระทั่งล่าสุดในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 เพชรชมพู ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก “เพชรชมพู กิจบูรณะ - Phetchompoo Kijburana” ประกาศลาออกจาการเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย ส่งผลให้เธอพ้นจากสมาชิกภาพ ส.ส. ในทันที

 

 

เปิดข้อกฎหมาย การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

 

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน ประกอบด้วย สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 350 คน และสมาชิกซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองจำนวน 150 คน โดยสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเริ่มตั้งแต่วันเลือกตั้ง

ส่วนการสิ้นสุดสมาชิกภาพของ ส.สงเป็นไปตามมาตรา 101 โดยมี 13 ข้อหลักด้วยกัน ดังนี้


1. เมื่อถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎรหรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร

2. เมื่อตาย กล่าวคือ สภาพบุคคลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อตาย

3. เมื่อลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

4. เมื่อพ้นจากต าแหน่งตามมาตรา 93

5. เมื่อขาดคุณสมบัติการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 97

6. เมื่อมีลักษณะต้องห้ามการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 98

7. เมื่อกระท าการอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามมาตรา 184 หรือมาตรา 185

8. เมื่อลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก

9. เมื่อพ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก

10. เมื่อขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง แต่ในกรณีที่ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองเพราะมีค าสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิกและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีค าสั่งยุบพรรคการเมือง ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันถัดจากวันที่ครบก าหนดหกสิบวันนั้น

11. เมื่อพ้นจากต าแหน่งเพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม

12. เมื่อขาดประชุมเกินจ านวนหนึ่งในสี่ของจ านวนวันประชุมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ก

13. เมื่อต้องค าพิพากษาถึงที่สุดให้จ าคุก แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระท าโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท

 

สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ รัฐสภาไทย

 

ภาพ : FB เพชรชมพู กิจบูรณะ - Phetchompoo Kijburana

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง