รีเซต

ดีจีเอ เตรียมจัดงานวิชาการนานาชาติ หวังต่อยอดเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล แย้ม ปรับแผน 'บิ๊กดาต้า' เร่งเปิดข้อมูลเจาะกลุ่มเป้าหมาย

ดีจีเอ เตรียมจัดงานวิชาการนานาชาติ หวังต่อยอดเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล แย้ม ปรับแผน 'บิ๊กดาต้า' เร่งเปิดข้อมูลเจาะกลุ่มเป้าหมาย
มติชน
30 มิถุนายน 2564 ( 07:19 )
134
ดีจีเอ เตรียมจัดงานวิชาการนานาชาติ หวังต่อยอดเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัล แย้ม ปรับแผน 'บิ๊กดาต้า' เร่งเปิดข้อมูลเจาะกลุ่มเป้าหมาย

 

นายสุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือดีจีเอ เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานได้ดำเนินการสร้างแพลตฟอร์มมาตรฐานกลางในการทำข้อมูลดิจิทัลเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างมีคุณภาพและสามารถนำมาใช้งานระหว่างหน่วยงานได้ นอกจากนี้ยังได้เดินหน้าให้ความรู้กับบุคลากรหระทรวงต่างๆกว่า 20 กระทรวง เกี่ยวกีบการจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ และมีแผนอย่างต่อเนื่องในกรให้ความรู้บุคลากรทุกหน่วยงานในการสร้างมาตรฐานด้านข้อมูลที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่องผ่านระบบการอบรมแบบออนไลน์ด้วย

 

 

ทั้งนี้ ความสำคัญของการนำข้อมูลไปใช้นั้น ข้อมูลจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพและเป็นประโยชน์ อีกทั้งต้องจัดเก็บภายใต้มาตรฐานเดียวกัน จึงจะเป็นข้อมูลที่นำไปเปิดให้หน่วยงานหรือประชาชนใช้งานร่วมกันได้ จากสถานการณ์โควิด-19 ยิ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของ การใช้เทคโนโลยีในการทำงานของภาครัฐ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานภาครัฐ จำเป็นต้องเตรียมการรับมือ กับสถานการณ์ ด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาเป็นสื่อกลางใน การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

 

 

 

การพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (บิ๊กดาต้า) เพื่อนำเสนอข้อมูลต่อฝ่ายนโยบายในการกำหนดนโยบาย ทิศทาง แผนงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำช่วยให้การตัดสินใจในเชิงนโยบายทันต่อสถานการณ์สำคัญ และเป็นปัจจุบัน (เรียลไทม์) โดยสิ่งสำคัญที่สุดทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้ อย่างสะดวก และรวดเร็ว

 

 

 

 

 

 

นายสุพจน์ กล่าวว่า สำนักงานกำลังเตรียมปรับแผนงานการนำบิ๊ก ดาต้า ไปใช้งาน โดยจะเริ่มจากความสำคัญของการใช้งานเป็นหลักด้วยการแบ่งหมวดหมู่ของอุตสาหกรรม หรือ กลุ่มเป้าหมาย ที่ต้องการใช้งาน เช่น ภาคการเกษตรการศึกษา เอสเอ็มอี จากนั้นจึงมาวิเคราะห์ว่าในกลุ่มดังกล่าวต้องการให้ภาครัฐเปิดเผยข้อมูลร่วมกันอย่างไรบ้าง เพื่อกำหนดเจ้าภาพในการดำเนินการ เช่น ภาคการเกษตร ก็มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นเจ้าภาพเป็นต้น โดยสำนักงานจะเน้นการทำงานแบบสตาร์ท อัป ข้อมูลไหนเสร็จก่อน พร้อมก่อน เราต้องเร่งบูรณาการและเปิดข้อมูลให้ใช้งานได้ทันที ไม่ต้องรอเสร็จพร้อมกันทั้งหมด

 

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของการเป็นรัฐบาลดิจิทัลคือองค์ความรู้ ดังนั้น สำนักงานจึงได้จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ

 

 

The International Conference on Digital Government Technology and Innovation (DGTI-Con 2021) เพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับภาครัฐ (Digital Government) รวมทั้งเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาครัฐระหว่างนักวิจัย นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัย บทความทาง วิชาการด้านต่างๆ ระหว่างกันโดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 สิงหาคม 2564 ในรูปแบบ LIVE ผ่านทางเพจ Facebook และ YouTube DGA Thailand (https://www.facebook.com/DGAThailand https://www.youtube.com/c/DGAThailand)

 

 

การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ จึงถือเป็นเวทีสากลในการนำเสนอผลงานวิชาการและผลงานวิจัย อันเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างนักวิจัย นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้น ผลงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยีใน 5 สาขาดังนี้ 1.เทคโนโลยีเพื่อสาธารณะประโยชน์ (Technology for Public Sector) 2.การเกษตรและความยั่งยืน (Agricultural and Sustainability) 3.การบริการและสวัสดิการสังคม (Services and Welfare) 4.วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises SME) 5.การศึกษายุคดิจิทัล (Smart Education) เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดผลงานวิจัย และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ ในงานบริการของภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการภาครัฐที่มี ประสิทธิภาพ ครบวงจร และรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

 

“ความพิเศษของงานนี้ คือผลงานวิจัยหรือบทความวิชาการ ที่ผ่านการคัดเลือก จากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะได้รับการเชิญให้เข้าร่วมนำเสนอผลงานใน งานประชุมวิชาการนานาชาติ นี้ และนำไปเผยแพร่ลงในฐานข้อมูลนานาชาติของ Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) รวมทั้งผลงานที่ผ่านการคัดเลือกบางส่วนจะได้รับโอกาสในการเผยแพร่และตีพิมพ์ใน Journal of Intelligent Informatics and Smart Technology อีกด้วย โดยสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงาน นักวิจัย นักวิชาการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่สนใจสามารถร่วม ส่งบทความวิจัยได้ตั้งแต่วันนี้ ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในวันที่ 15 สิงหาคม 2564” นายสุพจน์ กล่าว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง