รีเซต

โควิดทำพิษ 'ไม่มีเงินจ่าย' สรุปดราม่าร้อน!

โควิดทำพิษ 'ไม่มีเงินจ่าย' สรุปดราม่าร้อน!
TeaC
8 กรกฎาคม 2564 ( 12:47 )
192
โควิดทำพิษ 'ไม่มีเงินจ่าย' สรุปดราม่าร้อน!

'จ่ายหนี้ไม่ไหว' ควรทำอย่างไร? ใครช่วยได้บ้าง?  อีกหนึ่งปัญหาในยุคโรคโควิดระบาดรุนแรง "ค่าครองชีพ" "หนี้ครัวเรือน" ยังสร้างความเดือดร้อนระยะยาวนาน บางคนตกงานขาดรายได้ บางคนหนี้สินเก่าไม่ทันจาง หนี้สินใหม่ก่อตัวขึ้นจนกลายเป็นดินพอกหางหมู จะสลัด "หนี้เสีย" ออกให้พ้นตัวในยุคที่ยังต้องเข้มงวดมาตรการใส่หน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ไปพื้นที่เสี่ยง เพื่อช่วยหยุดเชื้อเพื่อชาติ หน่วยงาน ภาคเอกชน ภาครัฐต่าง ๆ ออกมาตรการเยียวยาสารพัด แต่ต้องยอมรับว่า มีทั้งคนที่ได้รับการช่วยเหลือ และยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือการช่วยเหลือไม่ทั่วถึง หรืออาจเป็นไปได้ที่การสื่อสารยังไปไม่ถึง หรือไม่ได้รับข่าวสาร ไม่เข้าใจ ซึ่งประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมต่าง ๆ สะท้อนอะไรได้บ้าง?

 

อย่ากรณีล่าสุดประเด็นร้อนแรงสนั่นโซลเชียลฯ จนเกิดเป็นข่าวที่คนต่างติดตาม ให้ความสนใจ เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานา ลุงโวยลั่นการไฟฟฟ้า โควิดกระทบ ไม่มีเงินจ่าย ขอเงินผ่อนผัน 

 

สรุปปมร้อน ไม่มีเงินจ่าย ขอเงินผ่อนผัน ค่าไฟ

 

1. ผู้ใช้ Tiktok ชื่อ bananakak8 โดยคลิปเป็นภาพชายคนหนึ่งเสียงดังอยู่กลางการไฟฟ้าระหว่างบทสนทนากับเจ้าหน้าที่ ว่า ไม่มีเงินจ่ายค่าไฟ อยากขอผ่อนจ่ายค่าไฟ เพราะได้รับผลกระทบจากโควิด ทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าไฟได้ 

 

2. และมีช่วงหนึ่งของคลิปดังกล่าว ชายคนดังกล่าวได้พูดว่า “พวกคุณอยู่บ้านมีเงินเดือน ผมทำมาหากินไม่ได้ ขอแค่นี้ขอไม่ได้หรือไง ผมก็บอกแล้วว่า ไม่มี ไม่มีแล้ว ขอจ่ายแค่สองเดือน ขอผ่อนจ่าย”

 

3. ขณะที่ด้านเจ้าหน้าที่คนหนึ่ง พยายามบอกว่า ให้ค่อย ๆ พูดดี ๆ ใจเย็น ๆ

 

4. ผู้โพสต์ระบุว่า “การไฟฟ้าน่าจะเห็นใจกันบ้างนะช่วงนี้ ผ่อนผันได้ก็น่าจะช่วยกันไป อยู่บ้านก็เสียค่าไฟ ออกไปข้างนอกก็กลัวโควิด เป็นใครก็เครียด #การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค”

 

5. โดยคลิปดังกล่าวเมื่อถูกแชรืออกไปแล้ว มีการเข้าชมกว่า 3 ล้านครั้ง และเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ต่าง ๆ นานาจำนวนมาก

 

6. กระทั่ง การไฟฟ้านครหลวง ได้ออกมาชี้แจงประเด็ร้อนแรงดังว่า เบื้องต้นได้ตรวจสอบพบว่า ผู้ใช้ไฟฟ้ารายดังกล่าว ได้เดินทางมาชำระค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้านครหลวง เขตธนบุรี โดยต้องการชำระค่าไฟฟ้าจำนวน 2 เดือน และขอค้างชำระอีกจำนวน 6 เดือน ซึ่งในขณะเกิดเหตุ MEA ได้ตรวจสอบข้อมูลและให้การผัดยอดค้างชำระค่าไฟฟ้าโดยยังไม่มีการตัดกระแสไฟฟ้าแล้ว

 

7. MEA เล็งเห็นถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากไม่สามารถรับภาระการชำระค่าไฟฟ้าได้ตามสถานการณ์ปกติ อย่างไรก็ตาม MEA มีนโยบายผัดชำระค่าไฟฟ้าโดยขอให้ผู้ใช้ไฟฟ้าติดต่อเพื่อแจ้งความประสงค์ และระบุสาเหตุการผัดชำระ

 

8. ประเด็นดังกล่าวเกิดกระแสสังคมอย่างมาก กระทั่ง รายการโหนกระแส ทางช่อง 3 ดำเนินรายการโดยคุณหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ได้เชิญชายที่อยู่ในคลิป และเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ร่วมถกประเด็นดังกล่าวถึงแง่ความเดือดร้อนของประชาชนในสถานการณ์ที่โควิดระบาดหนัก ขณะที่ การไฟฟ้า พร้อมเจรจายืดหยุ่นประชาชนทุกคน โดยขอประชาชนผู้ใช้ไฟเข้าเจรจา เพื่อประเมินความช่วยเหลือเป็นเคส ๆ ไป

 

 

'ไม่มีเงินจ่าย' โควิดทำพิษสะท้อนอะไรได้บ้าง?

 

ต้องยอมรับว่าโรคโควิดระบาดหนักอย่างมากส่งให้ประชาชนทุกระดับเดือดร้อน ทั้งค่าใช้จ่ายที่สวนทางกับรายได้ บางคนตกงาน ไม่มีรายได้ บางคนต้องปิดกิจการเพราะสู้พิษเศรษฐกิจไม่ไหว ส่งผลให้เกิดหนี้สินล้นตัว ซึ่งเรื่องดังกล่าวหากลองนั่งทบทวน จะพบว่า

 

1. การออมเงิน การเก็บเงินของคนไทยนั้น ยังคงมีพฤติกรรมเมื่อได้รายได้มาแล้วมักจะ ใช้ ก่อนเก็บเสมอ ทั้ง ๆ ที่การสร้างความมั่นคงทางการเงินนั้นคือ "ออมเงิน" ก่อน " ใช้" เสมอ"

 

2. พฤติกรรมการใช้จ่าย หลายคนยังติดนิสัยใช้เงินฟุ่มเฟือย ใช้เงินอนาคต บางคนติดกับดักของป้าย sale โปรโมชั่นต่าง ๆ ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เผลอใช้เทคโนโลยีที่รวดเร็วในการช้อป สั่งซื้อ พอสิ้นเดือนบิลมากลับบ่นเสียดายทีหลัง และยังคงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบเดิม

 

3. ขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องการเงิน ตั้งแต่เรื่องพื้นฐานเก็บเงิน เช่น เก็บเงินฉุกเฉิน เก็บเงินระยะสั้น ระยะยาว ฯลฯ การลงทุนที่ขาดการศึกษา 

 

4. การติดตามข่าวสาร การกรั่นกรองมาตรการจากภาครัฐ ภาคเอกชนต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือ มาตรการการเยียวยา เช่น ลดหนี้ ลดดอกเบี้ย ผ่อนผัน ยืดชำระหนี้ เป็นต้น ที่ถูกต้อง 

 

5. เสพติดการพนัน จนเข้าสู่การกู้หนี้นอกระบบ กลายเป็นหนี้สินล้นตัว 

 

ขณะที่ ภาครัฐ ตั้งแต่หน่วยงานระดับใหญ่ จนถึงระดับพนักงาน ลูกจ้าง แม้จะออกมาตรการช่วยเหลือ แต่ก็กลับมีช่องโหว่

 

  • ทั้งในแง่นโยบายการบริหารจัดการ การสื่อสารที่ไม่ครอบคลุม อาจเป็นไปได้ที่จะสร้างความตระหนก สร้างความสับสนให้แก่ประชาชนได้ 
  • การบูรณาการหลายภาคส่วนที่มากจนเกินไป ทั้ง ๆ ที่บางส่วนอาจลดขั้นตอนที่ล่าช้า หรือหากตัดขั้นตอนบางอย่างอาจทำให้การสื่อสารที่ชัดเจน ถูกต้องมากขึ้น รวดเร็ว ตอบโจทย์ครบทุกมิติ
  • การสร้างความเข้าใจให้พนักงานที่ต้องใกล้ชิดกับประชาชน เช่น เรื่องนโยบาย ข่าวประชาสัมพันธ์ การสื่อสารที่ชัดเจน ฯลฯ เพื่อให้พนักงานได้รับทราบ เข้าใจ ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สื่อสารได้อย่างเข้าใจได้ดี

 

เห็นแบบนี้แล้ว คงสะท้อนให้เห็นถึงบริบทของแต่ละคนได้บ้าง เพื่อจะได้สื่อสารกันด้วยความเข้าใจ หาทางช่วยกันและกัน มากกว่าการสื่อสารที่อาจเป็นไปได้ที่จะสร้างปัญหาให้ทั้งสองฝ่ายได้

 

 

'จ่ายหนี้ไม่ไหว' ควรทำอย่างไร? ใครช่วยได้บ้าง?

 

สำหรับใครที่จ่ายหนี้ไม่ไหว ควรทำอย่างไรนั้น สิ่งแรกที่ลูกหนี้ต้องสำรวจคือ มีหนี้เท่าไหร่ รายได้เท่าไหร่ หากจ่ายไม่ไหว ควรเข้าเจรจากับเจ้าหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กร สถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อขอผ่อนผัน หรือขอคำแนะนำ เจรจา ทั้งการพัก ชำระหนี้ ยืดระยะเวลา และต้องติดตามข่าวสาร มาตรการต่าง ๆ จากภาครัฐ และสิ่งสำคัญศึกษาหาความรู้เรื่องการเงิน 

 

ขณะที่ หน่วยงานต่าง ๆ ก็ต้องพร้อมให้บริการด้วยใจ ต้องพร้อมให้คำแนะนำในการช่วยเหลือ เพราะในสถานการณ์ที่โควิดระบาดหนักแบบนี้ กระทบประชาชนทุกระดับ การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ต้องสื่อสารด้วยความถูกต้องจากข้อเท้จจริง ด้วยความจริงใจ ไม่เลือกการให้บริการ เพราะทุกคนตกอยู่ในสถานการณ์เลวร้ายเช่นกัน ส่วนผู้ใช้บริการต่าง ๆ ก็ต้องเปิดใจรับฟัง ศึกษาข้อมูล เพื่อร่วมหาทางแก้ปัญหา อย่าให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแบกรับความเดือดร้อนเพียงลำพัง หากสามารถช่วยเหลือ หรือผ่อนผันกันได้ ก็จับมือช่วยกันเถอะ

 

 

แล้วเราจะผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน 

 

ข้อมูลแลภาพ : ข่าวสด

 

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง