รีเซต

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางไหน อันตรายไหม และมีอาการอย่างไร เช็กที่นี่

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางไหน อันตรายไหม และมีอาการอย่างไร เช็กที่นี่
Ingonn
12 พฤษภาคม 2565 ( 07:07 )
663
ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางไหน อันตรายไหม และมีอาการอย่างไร เช็กที่นี่

ไวรัสตับอักเสบบี ถือเป็นอีกโรคใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม และองค์การอนามัยโลก ยังเฝ้าระวังโรคตับอักเสบระบาดรุนแรงในเด็ก มากขึ้น หลังจากพบเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี ป่วยสูงขึ้น รวมถึงคกก.พัฒนาระบบยาฯ เห็นชอบปรับปรุง “ยาไวรัสตับอักเสบซี-ตับอักเสบบีดื้อยา” เข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ ช่วยคนไทยเข้าถึงยามากขึ้น ราคายาไม่แพง และผลิตได้เองในประเทศ

 

วันนี้ TrueID จึงจะพามารู้จัก โรคไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางไหน อันตรายไหม และมีอาการอย่างไร

 

รู้จักโรคไวรัสตับอักเสบ คืออะไร

“ไวรัสตับอักเสบ” จัดเป็นโรคร้ายแรงชนิดหนึ่ง แม้อาการของโรคจะไม่รุนแรงก็ตาม ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้มากกว่า 350 ล้านคน โดยไวรัสตับอักเสบ สามารถถ่ายทอดเชื้อสู่ผู้อื่นได้ และเป็นสาเหตุนำไปสู่ภาวะตับอักเสบ ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ โดยมี 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบที่เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ บีและซี โดยสามารถแบ่งอาการออกเป็น 2 ระยะ คือ โรคตับอักเสบเฉียบพลัน และโรคตับอักเสบเรื้อรัง

 

สำหรับอาการของโรคตับอักเสบเฉียบพลัน คือ ตัวเหลือง ตาเหลือง มีไข้ ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา เซลล์ตับถูกทำลาย ซึ่งผู้ที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี มีเพียงร้อยละ 5-10 ที่มีโอกาสเป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนโรคไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง จะมีอาการนานเกินกว่า 6 เดือน   

 

ไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อทางไหน?

  • มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยาง การจูบกันจะไม่ติดต่อถ้าปากไม่มีแผล 
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน 
  • ใช้เข็มสักตามตัวหรือสีที่ใช้สักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู 
  • ใช้แปรงสีฟันร่วมกัน มีดโกน ที่ตัดเล็บ 
  • แม่ที่มีเชื้อสามารถติดต่อไปยังลูกได้ขณะคลอด ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90 % และให้นมตัวเอง
  • ถูกเข็มตำจากการทำงาน 
  • รักร่วมเพศกับผู้ที่มีเชื้ออยู่ 
  • โดยการสัมผัสกับ เลือด น้ำเลือด น้ำคัดหลั่ง โดยผ่านเข้าทางบาดแผล   

 

ไวรัสตับอักเสบบี อาการอย่างไร?

  • มีไข้สูง
  • อ่อนเพลียตลอดเวลาคล้ายเป็นหวัด
  • ตัวเหลืองตาเหลือง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ไม่อยากอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • เจ็บบริเวณช่องท้อง
  • จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต
  • คันตามผิวหนัง
  • เจ็บตามกล้ามเนื้อและข้อต่อ
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม และอุจาระเป็นสีเทาหรือซีด

 

เว็บไซต์โรงพยาบาลวิภาวดีระบุว่า อาการไวรัสตับอักเสบบี จะเกิดหลังได้รับเชื้อประมาณ 45-90 วัน บางรายอาจจะนานถึง 180 วัน ผู้ป่วยที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดตามตัวมีไข้ แน่นท้อง ถ่ายเหลวเป็นอยู่ 4-15 วันหลังจากนั้นจะมี ตัวเหลืองตาเหลือง ปัสสาวะสีเข็ม อาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไปภายใน 1-4 สัปดาห์บางรายอาจเป็นนานถึง 6 สัปดาห์ จึงสามารถทำงานได้ปกติ

 

วิธีตรวจหาไวรัสตับอักเสบบี

  • เจาะเลือดตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function test)
    เจาะเลือดตรวจเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
  • ตัดชิ้นเนื้อจากตับไปตรวจ แต่การตรวจนี้ไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกราย ทำเฉพาะในผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังที่ต้องการติดตามการดำเนินไปของโรค 

 

วิธีการลดความเสี่ยงของโรคไวรัสตับอักเสบ

  1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะการตรวจเช็คตับให้ได้ปีละครั้ง
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสร้างเสริมภูมิต้านทานโรค

 

 

 

ข้อมูล โรงพยาบาลวิภาวดี , โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ , เพจเฟซบุ๊ก PR รพ.กลาง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง