รีเซต

เลือกตั้ง 2566 ประวัติ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล

เลือกตั้ง 2566 ประวัติ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล
TNN ช่อง16
15 พฤษภาคม 2566 ( 08:51 )
217
เลือกตั้ง 2566 ประวัติ "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" แคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล

เลือกตั้ง 2566 เปิดประวัติ "ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ " แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี "พรรคก้าวไกล" ลงชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของไทย


ประวัติ ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2523 เป็นบุตรชายคนโตในบรรดาพี่น้อง 2 คนของ นายพงษ์ศักดิ์ ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ นางลิลฎา ลิ้มเจริญรัตน์ และยังมีศักดิ์เป็นหลานลุงของนาย ผดุง ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และตามใจ ขำภโต อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย ซึ่งเป็นญาติฝ่ายมารดา โดยมีน้องชาย 1 คนคือ เทียน-ภาษิณ ลิ้มเจริญรัตน์



ภาพจาก พรรคก้าวไกล

 



การศึกษา


เข้าเรียนที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงมัธยมศึกษาตอนต้น จากนั้นไปศึกษาต่อชั้นมัธยมตอนปลายที่ประเทศนิวซีแลนด์ และจบปริญญาตรี สาขาการเงิน (ภาคภาษาอังกฤษ) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโท การเมืองการปกครอง สาขาการบริหารภาครัฐ ที่ John F. Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ปริญญาโท การบริหารธุรกิจ Sloan สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์


ชีวิตส่วนตัว

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เคยสมรสกับนักแสดงชื่อดัง "ต่าย ชุติมา" เมื่อปี 2555 ก่อนที่จะหย่าร้างกันไป โดยมีบุตรสาว 1 คนคือ น้องพิพิม ลิ้มเจริญรัตน์


งานการเมือง

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก้าวเข้าสู่วงการเมืองด้วยการสมัครเป็นสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ และได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคในลำดับที่ 4 และได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในครั้งแรกที่ลงรับเลือกตั้ง โดยได้รับเลือกให้เป็นประธานคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ในสัดส่วนของพรรคอนาคตใหม่

การอภิปรายครั้งแรกในสภาของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เรื่องนโยบายทางการเกษตรของรัฐบาล โดยเฉพาะปัญหา กระดุม 5 เม็ด ได้รับการตอบรับที่ดีจาก ประชาชน ผู้ชมผู้ฟังการประชุมสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถึงขนาดที่ พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ยังเอ่ยปากชื่นชม

ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยยุบพรรคเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ในวันที่ 8 มีนาคม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็ได้ย้ายไปสังกัดพรรคก้าวไกลร่วมกับอดีตสมาชิกพรรคอนาคตใหม่อีก 54 คน 



ภาพจาก พรรคก้าวไกล

 



ภาพจาก พรรคก้าวไกล

 




การเลือกตั้ง 2566  


ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นแคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกล คือ เบอร์ 31 ซึ่งได้มีการจัดเลือกตั้งล่วงหน้าไปเมื่อในวันที่ 7 พฤษภาคมนี้ และ วันเลือกตั้งจริงในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566


ผลนับคะแนนไม่เป็นทางการ คิดเป็น 99 %  จากเว็บไซต์ https://www.ectreport.com/overview ข้อมูล ณ เวลา 04:15 น. (15 พ.ค.66)

ส.ส.แบบแบ่งเขต ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการดังนี้


- พรรคก้าวไกล 113 ที่นั่ง
- พรรคเพื่อไทย 111 ที่นั่ง
- พรรคภูมิใจไทย 68 ที่นั่ง
- พรรคพลังประชารัฐ 39 ที่นั่ง

ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ (บัญชีรายชื่อรวม) ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการดังนี้

- พรรคก้าวไกล 14,031,418 คะแนน
- พรรคเพื่อไทย 10,666,830 คะแนน
- พรรครวมไทยสร้างชาติ 4,666,641 คะแนน
- พรรคภูมิใจไทย 1,114,356 คะแนน

-พรรคประชาธิปัตย์ 905,064 คะแนน


ยอดรวม ส.ส. ทั้ง 2 ระบบ อย่างไม่เป็นทางการ

อันดับ 1 พรรคก้าวไกล ได้ 151 ที่นั่ง
อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย ได้ 141 ที่นั่ง
อันดับ 3 พรรคภูมิใจไทย ได้ 70 ที่นั่ง
อันดับ 4 พรรคพลังประชารัฐ ได้ 40 ที่นั่ง
อันดับ 5 พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ 36 ที่นั่ง
อันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 25 ที่นั่ง
อันดับ 7 พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ 10 ที่นั่ง
อับดับ 8 พรรคประชาชาติได้ 9 ที่นั่ง
อันดับ 9 พรรคไทยสร้างไทย ได้ 6 ที่นั่ง
อันดับ 10 พรรคชาติพัฒนากล้า ได้ 2 ที่นั่ง







ที่มา TNN Online รวบรวม/ wikipedia

ภาพจาก พรรคก้าวไกล

 

ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก TNN: https://www.tnnthailand.com/home

ข่าวที่เกี่ยวข้อง