รีเซต

ปธ.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ คลายข้อข้องใจ การคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด แนะให้ฉีด-ไม่ควรหยุดยา

ปธ.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ คลายข้อข้องใจ การคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด แนะให้ฉีด-ไม่ควรหยุดยา
มติชน
30 พฤษภาคม 2564 ( 22:44 )
80
ปธ.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ คลายข้อข้องใจ การคุมกำเนิดกับการรับวัคซีนโควิด แนะให้ฉีด-ไม่ควรหยุดยา

ปธ.ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ ชี้ คุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว แม้ไม่ฉีดวัคซีน แนะรับวัคซีนต้านโควิด ป้องกันเกิดอาการเสี่ยงดังกล่าว ย้ำ ไม่ควรหยุดใช้ยาเม็ด-แผ่นแปะ-วงแหวนช่องคลอด

 

 

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พล.อ.ท.นายแพทย์อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยทาง เฟซบุ๊ก คลายความสงสัยกรณีการคุมกำเนิดกับการเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ว่า ในฐานะของหมอเมดไม่ใช่หมอสูติ เลยต้องอ้างอิงข้อแนะนำของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศอังกฤษ (Royal College of Obstretricians & Gynecologists) โดย Faculty of Sexual and Reproductive Healthcare (FSRH) เรื่องการคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมกับการรับวัคซีนโควิด-19 สรุปให้อ่านกันตามนี้ครับ

 

 

การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวม เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำเพิ่มขึ้น (ถึงแม้ไม่ได้ฉีดวัคซีน) ซึ่งผู้รับการคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมยอมรับต่อความเสี่ยงนี้ เมื่อเทียบกับผลดีจากการใช้การคุมกำเนิดดังกล่าว

 

 

มีรายงานการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำเพียงไม่กี่รายหลังจากได้รับวัคซีนโควิด-19 โดยยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากวัคซีนหรือไม่ และไม่มีข้อมูลว่าการคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมทำให้ความเสี่ยงนั้นเพิ่มขึ้น

 

 

“การได้รับวัคซีนโควิด-19 ช่วยป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 และป้องกันความรุนแรงของโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ อีกมากมาย

 

 

จากข้อมูลที่มีอยู่จึงแนะนำให้ทุกคน รวมถึงผู้ใช้การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 เมื่อมีโอกาสได้รับ และอย่ารอช้าในการรอวัคซีนบางชนิด

 

 

ผู้ใช้การคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมไม่ควรหยุดใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แผ่นแปะ หรือวงแหวนช่องคลอดเมื่อถูกเรียกให้ฉีดวัคซีน ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนไปใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่น เนื่องจากไม่ต้องการเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำในอนาคตก็สามารถทำได้

 

 

“อย่างไรก็ตาม ถึงพบน้อย แต่ควรทราบถึงอาการของลิ่มเลือดอุดตันที่หลอดเลือดดำ เช่น ปวดหัวต่อเนื่อง หายใจไม่ออก ไอเป็นเลือด บวมที่ขา หรือปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งควรรีบมาพบแพทย์ อ่านข้อแนะนำฉบับเต็มได้ตาม link นี้ครับ คลิก” 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง