รีเซต

บสย. คาดยอดค้ำประกันปี 64 พุ่งเกิน 2.4 แสนล้านบาท

บสย. คาดยอดค้ำประกันปี 64 พุ่งเกิน 2.4 แสนล้านบาท
มติชน
15 ธันวาคม 2564 ( 15:18 )
49

ข่าววันนี้ นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ รักษาการผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า ในปี 2564 บสย. ประสบผลสำเร็จการดำเนินด้านการค้ำประกันสินเชื่อ ช่วยผู้ประกอบการ เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุน ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทการค้ำประกันสินเชื่อ โดยคาดว่าผลดำเนินงาน บสย. ณ สิ้นสุดปี 2564 จะมีการเติบโตในทุกมิติ คาดว่าจะปิดยอดค้ำประกันสินเชื่อมากกว่า 240,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลการดำเนินงานที่สร้างสถิติใหม่สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่ก่อตั้ง บสย.

 

 

นางวสุกานต์ กล่าวว่า โดยผลการดำเนินงาน บสย. ณ 13 ธันวาคม 2564 มียอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 234,992 ล้านบาท ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี 207,537 ราย และอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อ 224,104 ฉบับ โดยมีโครงการที่โดดเด่น 3 โครงการได้แก่ 1.โครงการค้ำประกันสินเชื่อตาม พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 124,912 ล้านบาท 2.โครงการ พีจัเอส-9 วงเงินค้ำประกันสินเชื่อ 78,799 ล้านบาท และ 3. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ไมโคร 4 วงเงิน 19,257 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินค้ำประกันสินเชื่อในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก. สินเชื่อฟื้นฟู และโครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. ดังนี้คือ

 

 

1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ ตาม พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู เฟส 1-2 คิดเป็นสัดส่วน 53.2%


– ยอดอนุมัติค้ำประกันสินเชื่อ 124,912 ล้านบาท อนุมัติ LG 39,380 ฉบับ
– จำนวนลูกค้า 36,776 ราย
– เกิดสินเชื่อจากการค้ำประกัน 127,310 ล้านบาท
– วงเงินค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย 3.17 ล้านบาทต่อฉบับ
– เกิดการจ้างงานรวม 1,206,367 ราย
– เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ รวม 515,885 ล้านบาท
– ธุรกิจที่มีการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดภายใต้โครงการ 3 ลำดับ ได้แก่ 1. ธุรกิจบริการ 28% 2.ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 10% 3. ธุรกิจยานยนต์ 9%

 

 

2. โครงการค้ำประกันสินเชื่อของ บสย. คิดเป็นสัดส่วน 46.8% ประกอบด้วยโครงการ PGS-9 โครงการไมโคร4 และโครงการอื่นๆ
– ยอดอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อกว่า 110,080 ล้านบาท อนุมัติ LG 184,724 ฉบับ
จำนวนลูกค้า 176,525 ราย
– วงเงินค้ำประกันสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย 0.60 ล้านบาทต่อฉบับ
– เกิดสินเชื่อจากการค้ำประกัน 122,038 ล้านบาท
– เกิดการจ้างงานรวม 1,320,732 ราย
– เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 454,634 ล้านบาท
– ธุรกิจที่มีการค้ำประกันสินเชื่อสูงสุด ได้แก่ 1. ธุรกิจบริการ 29% 2.ธุรกิจการผลิตสินค้าและ การค้าอื่นๆ 16% 3. เกษตรกรรม 10%

 

 

นางวสุกานต์ กล่าวว่า สถานการณ์ โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2563-2564 เป็นต้นมา ธุรกิจขาดสภาพคล่อง ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก โดย บสย. ได้ทำพันธกิจสำคัญในการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้เข้าถึงสินเชื่อผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มบทบาทการเป็นเพื่อนคู่คิดให้ธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาด้านเงินทุน สภาพคล่อง โดยใช้ศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงินเอสเอ็มอี หรือ บสย.F.A. Center ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ฟรี บริการลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาทางการเงิน ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างหนี้ พัฒนาธุรกิจ และเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรต่างๆ และ บสย. ยังได้ร่วมให้คำปรึกษาในโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่ดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ขอใช้บริการลงทะเบียนขอรับคำปรึกษาทางการเงิน ปรึกษาด้านการปรับโครงสร้างหนี้ พัฒนาธุรกิจ และเข้าร่วมการอบรมหลักสูตรต่างๆ รวมกว่า 7,238 ราย โดยยังได้ร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์เพื่อให้คำปรึกษาทางการเงินในโครงการจับคู่กู้เงิน ความร่วมมือในโครงการส่งเสริมการลงทุนและบริการทางการเงิน ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อร่วมฟื้นเศรษฐกิจผ่านการค้ำประกันสินเชื่อให้กับ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รายย่อย กลุ่มนำเข้า-ส่งออก และ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S-curve )

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง