รีเซต

ศบค.จ่อใช้สถานกักโรคของรัฐเก็บตัวผู้เสี่ยงสูง สัปดาห์หน้าถกเคาะค่าใช้จ่าย

ศบค.จ่อใช้สถานกักโรคของรัฐเก็บตัวผู้เสี่ยงสูง สัปดาห์หน้าถกเคาะค่าใช้จ่าย
มติชน
5 กุมภาพันธ์ 2564 ( 13:40 )
53

วันนี้ (5 กุมภาพันธ์ 2564) พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)(ศบค.) กล่าวระหว่างแถลงรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า รายงานของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และองค์การอนามัยโลก สำนักงานภูมิภาคเอเซียใต้และเอเซียตะวันออก พบว่า พฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ไม่นำมือจับใบหน้า เว้นระยะห่าง และกินร้อนช้อนกลาง ของคนไทย ในกราฟช่วงแรกเดือนพฤษภาคม 2563 ค่อนข้างสูง และลดลงต่ำสุดในเดือนกันยายน ส่วนเดือนธันวาคม ที่มีการระบาดในจ.สมุทรสาคร คนเริ่มกลับมาป้องกันตัวใหม่ ทำให้กราฟพุ่งสูงขึ้นจนตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลง แต่หลังจากนั้นเมื่อมีการผ่อนคลายมาตรการ วันที่ 4 มกราคม กราฟดิ่งลงทันที ขณะที่ สถิติการเดินทางออกนอกจังหวัด ลดลงในเดือนธันวาคม เกิดจากความร่วมมือทั้งประเทศ แต่เมื่อผ่อนคลายมาตรการ วันที่ 4 มกราคม ก็เริ่มมีการเดินทางอีกครั้ง

 

 

“พฤติกรรมที่เราต้องช่วยกัน เวลาเราย้ำเพราะมีสถิติจริงๆ ที่ทุกคนสวมหน้ากากอนามัยจริง แต่ห้อยไว้ที่หู ใต้คาง หรือปากจมูกเปิดปาก โดยผู้นำชุมชนจะต้องทำให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วย เราจำเป็นต้องยกการ์ดสูง ดูแลสุขอนามัยต่อเนื่อง ยังไม่สามารถวางใจได้ และเมื่อไปไหนชุมชน อย่าลืมสแกนแอพพลิเคชั่นไทยชนะ และติดตั้งหมอชนะด้วย” พญ.อภิสมัย กล่าว

 

ทั้งนี้ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวว่า ขอเน้นย้ำว่าผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จะต้องกักตัวเอง แต่หากไม่สามารถกักตัวได้ ศบค.จึงศึกษาการบริหารสถานกักกันโรค สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในสถานกักกันโรคของรัฐ (State Quarantine) และท้องถิ่น (Local Quarantine) เป็นการกักตัวอย่างสมัครใจ โดยจะมีการพูดคุยกันในสัปดาห์หน้า รวมถึงเรื่องค่าใช้จ่ายด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง