รีเซต

กมธ.ดีอีเอสลงพื้นที่ชุมพร ศึกษาเทคโนโลยีเกษตร-ภัยพิบัติ

กมธ.ดีอีเอสลงพื้นที่ชุมพร ศึกษาเทคโนโลยีเกษตร-ภัยพิบัติ
มติชน
7 สิงหาคม 2563 ( 15:43 )
65
กมธ.ดีอีเอสลงพื้นที่ชุมพร ศึกษาเทคโนโลยีเกษตร-ภัยพิบัติ

กมธ.ดีอีเอสลงพื้นที่ชุมพร ศึกษาเทคโนโลยีเกษตร-ภัยพิบัติ ‘กัลยา’เล็งนำข้อมูลช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตเกษตร-เตือนภัย ยกเคสกรณีน้ำท่วมเลยเฉียบพลัน ขณะที่ ‘สราวุธ’ชี้ต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน หวังช่วยสร้างแอพเตือนภัยพิบัติ

 

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง(ชุมพร) คณะกรรมาธิการ การสื่อสาร โทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เดินทางมาศึกษาดูงาน “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเกษตร” และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ” ของสถานีอุตุนิยมวิทยา

 

น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ในฐานะประธานกมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า วันนี้เราได้นำคณะกมธ.มาศึกษาดูงานใน จ. ชุมพร การลงพื้นที่ศึกษาดูงานในครั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาด้านการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่สามารถนำมาช่วยเกษตรกรได้ ทั้งการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ ดูราคาภาพรวมของสินค้ามีอะไรเป็นที่ต้องการ และยังมีเทคโนโลยีที่สามารถช่วยพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพมากกว่าเดิม รวมถึงการแปรรูปเพิ่มมูลค่าของสินค้าต่างๆได้ ซึ่งที่นี่มีการวิจัยและพัฒนาหลายอย่างที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจมาก ส่วนเทคโนโลยีการป้องกันนั้น หลายครั้งที่ผ่านมาในประเทศไทยมีเหตุการณ์จากภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง อย่างล่าสุดน้ำป่าไหลทะลักเข้าท่วมอย่างหนักที่ จ.เลย ซึ่งทางกรมอุตุจะมีการตรวจสภาอากาศทุก 15 นาที หากเรามีเทคโนโลยีการแจ้งเตือนที่เข้าถึงประชาชนได้ จะช่วยลดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้เป็นอย่างมาก ซึ่งทางกมธ.เราจะนำข้อมูลที่ได้ในวันนี้กลับไปประชุมเพื่อพิจารณาหาทางพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด

 

 

ด้านนายสราวุธ อ่อนละมัย ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกมธ.ดีอีเอส กล่าวว่า เทคโนโลยีเพื่อการเกษตรนั้น ขณะนี้มีหลายรูปแบบ ทั้งการดูราคาแบบเรียลไทม์ การใช้เทคโนโลยีมาช่วยการดูราคา ผลผลิตที่มีคุณภาพ รวมถึงเรื่องการตลาด ซึ่งเราต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน เพราะในยุคใหม่จะเน้นการขายผ่านทางออนไลน์ ซึ่งทางสถาบันพระจอมเกล้าฯ มีการทำวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ ส่วนการป้องกันภัยพิบัติ ที่จ.ชุมพรมีสถานีอุตุฯ ซึ่งตนในฐานะคนพื้นที่ ที่ผ่านมาชุมพรมีภัยพิบัติเกิดขึ้นบ่อย ทั้งพายุ น้ำท่วมและน้ำป่า ซึ่งการมีการแจ้งเตือนจากกรมอุตุนั้นทำให้สามารถดูรายงานก่อนเกิดเหตุได้ สามารถแจ้งเตือนกับประชาชน ทำให้ชาวบ้านระวังตัว ไม่เกิดความประมาท ดูทิศทางของพายุ และเรายังมีสถานีวิทยุประจำจังหวัด วิทยุชุมชนในการช่วยแจ้งเตือนด้วย ส่วนแอพพิเคชั่นกำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนา ซึ่งทางกมธ.จะได้ช่วยเหลือเรื่องเครื่องมือ และประสานเครือข่ายมาวางระบบให้ดีขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง