รีเซต

รู้หรือไม่! เล่นมือถือในที่มืด เสี่ยง 'เทคโนโลยีซินโดรม' ก่อภาวะเครียด-สูญเสียการมองเห็น

รู้หรือไม่! เล่นมือถือในที่มืด เสี่ยง 'เทคโนโลยีซินโดรม' ก่อภาวะเครียด-สูญเสียการมองเห็น
มติชน
7 กันยายน 2563 ( 05:33 )
127
รู้หรือไม่! เล่นมือถือในที่มืด เสี่ยง 'เทคโนโลยีซินโดรม' ก่อภาวะเครียด-สูญเสียการมองเห็น

บางพฤติกรรมหากไม่ปรับเปลี่ยนก็อาจจะส่งผลร้ายตามมาอย่างคาดไม่ถึงก็เป็นได้ โดยเฉพาะกับเรื่องการใช้งานเทคโนโลยี ที่แทบจะกลายเป็นอวัยวะที่ 33 ของร่างกายคนในยุคดิจิทัลไปแล้ว

 

สำหรับ ‘โทรศัพท์มือถือ’ หรือ ‘สมาร์ทโฟน’ ที่นอกจากจะยกระดับความสามารถขึ้นเรื่อยๆ แล้ว ยังหลอมรวมเอาทุกฟังก์ชันอำนวยความสะดวกมาไว้ในที่เดียว โดยเฉพาะเรื่องของความบันเทิง

 

ระยะเวลาในการใช้งาน และจดจ่ออยู่กับหน้าจอที่มี “แสงสีฟ้า” สะท้อนออกมาตลอดเวลาจึงยาวนานขึ้น

แต่ทราบหรือไม่ว่า ในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมชอบปิดไฟเล่นมือถือ หรือเล่นมือถือในที่มืด รวมไปถึงอุปกรณ์ไอทีอื่นๆ จะเกิดโรคที่เรียกว่า “เทคโนโลยีซินโดรม” ซึ่งสร้างความเครียดผู้ใช้ เพราะต้องเพ่งสายตาที่จอ ทำให้ความดันในลูกตาสูง เสี่ยงเกิดโรคต้อหินถึงขั้นตาบอดได้

 

สำหรับ วิธีใช้เครื่องมือให้ปลอดภัยกับสุขภาพ คือ

1.เปิดไฟดูทีวี หรือดูสมาร์ทโฟนในที่สว่าง ใช้ 25 นาที ให้พัก 5 นาที หรือใช้ 30 นาที พัก 10 นาที

2.หากรู้สึกปวดตา ให้นอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมง

3.ดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดวงตา

4.พร้อมแนะประชาชนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป พบจักษุแพทย์ปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจค้นหาโรคต้อหิน โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป 5-7 เท่าตัว หากพบและรักษาทันท่วงทีจะลดการสูญเสียการมองเห็นได้

 

อย่างไรก็ตาม สามารถดูแลตัวเองด้วยวิธีง่ายๆ คือนอนหลับเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจะเป็นการรักษาที่ให้ผลดีที่สุด และดื่มน้ำบ่อย ๆ เพื่อเพิ่มน้ำให้ตาให้ชุ่มชื้นขึ้น หรือทำประคบเย็น โดยให้ใช้ผ้าขนหนูหนาหรือผ้าเช็ดหน้า พับ 3 ส่วน นำไปแช่น้ำที่มีน้ำแข็งจนเย็น บิดหมาด ๆ วางปิดตั้งแต่ขมับให้ทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก หากหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นใหม่อีกครั้ง ติดต่อกันอย่างน้อย 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา

 

นอกจากนี้ควรเปิดไฟดูทีวี การอ่านหนังสือในที่แสงสว่างเพียงพอ ดีที่สุดควรใช้เทคโนโลยีเท่ที่จำเป็น ใช้ให้ปลอดภัย เหมาะสม คือใช้นานประมาณ 25 นาที และให้พัก 5 นาที หรือใช้นาน 30 นาที และพัก 10 นาที เปลี่ยนอิริยาบถสลับกันไป จะช่วยได้ให้เหมาะสม ถ้าไม่จำเป็นอย่ายุ่งกับเทคโนโลยี ให้ควบคุมใจตัวเอง

ที่มา : โรงพยาบาลตำรวจ, กระทรวงสาธารณสุข

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง