รีเซต

คณะก้าวหน้า ชูแม่วากโมเดล แก้ปัญหาไฟป่า ย้ำต้องคืนอำนาจให้พื้นที่

คณะก้าวหน้า ชูแม่วากโมเดล แก้ปัญหาไฟป่า ย้ำต้องคืนอำนาจให้พื้นที่
ข่าวสด
22 กรกฎาคม 2563 ( 15:52 )
68
คณะก้าวหน้า ชูแม่วากโมเดล แก้ปัญหาไฟป่า ย้ำต้องคืนอำนาจให้พื้นที่

 

คณะก้าวหน้า ชูแม่วากโมเดล แก้ปัญหาไฟป่า ย้ำต้องคืนอำนาจให้พื้นที่

วันที่ 22 ก.ค. นางเยาวลักษณ์ วงษ์ประภารัตน์ กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า เปิดเผยว่า ในการแก้ปัญหาไฟป่าและส่งเสริมการปลูกป่าในระยะยาว คณะก้าวหน้าได้ลงพื้นที่จ.เชียงใหม่ โดยชูแม่วากโมเดลในการปัญหาดังกล่าว ด้วยโมเดลระบบน้ำเพื่อการเกษตรกับการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นการจัดการที่เน้นการเกื้อกูล แบ่งปันกัน นับว่าเป็นโมเดลที่น่าทึ่งมาก เพราะนอกจากจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวบนภูเขาและสร้างรายได้ให้เกษตรกรแล้ว ยังได้เห็นการพึ่งพา ช่วยเหลือกันของคนในชุมชน

นางเยาวลักษณ์ อธิบายว่า เริ่มจากการสร้างบ่อเก็บน้ำ ที่เรียกว่า บ่อแม่ เป็นจุดเริ่มต้นแรกของระบบน้ำสำหรับใช้ในพื้นที่เกษตร โดยปกติแล้วการจะให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชชนิดอื่นเพื่อทดแทนข้าวโพดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เนื่องจากพื้นที่จัดสรรบนภูเขาราว 600 ไร่เศษ ไม่มีระบบน้ำชลประทานใดๆ ดังนั้นการจะโน้มน้าวหรือชักชวนให้ปลูกพืชอื่นทดแทนข้าวโพด ก็ต้องมาพร้อมกับระบบน้ำที่ดี และการคัดพันธุ์พืชที่เหมาะสม ไปจนถึงการออกแบบแปลน

ดังนั้นนักวิชาการเกษตรที่เป็นคนในพื้นที่ ที่ได้ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จึงต้องวางแผนและทำงานอย่างละเอียด เริ่มต้นจากการหาแหล่งน้ำ ที่ห่างออกไปราว 8 กิโลเมตร ซึ่งมีลำน้ำสาขาที่ไหลมาจากดอยอินทนนท์ โดยใช้แรงงานจากชาวบ้านในการช่วยกันต่อท่อลำเลียงน้ำลงมาจากดอยสูง (งบประมาณมีจำกัด) เพื่อดึงน้ำเข้ามายังบ่อพักน้ำ ที่เรียกว่าบ่อแม่ และนำไปใช้ในพื้นที่เกษตรในแปลงโดยรอบได้ ขณะที่แปลงที่ห่างออกไปก็จะมีการต่อท่อส่งน้ำไปยังบ่อต่างๆเรียกชื่อต่างกันไปว่า บ่อลูก บ่อหลาน ตามลำดับ

นางเยาวลักษณ์ กล่าวว่า ที่น่าสนใจคือการออกแบบพืชเพื่อปลูกหมุนเวียน ถูกแบ่งเป็นกลุ่มพืชผักสวนครัว ที่ผลผลิตส่งลงมาจำหน่ายยังโรงเรียนภายในอำเภอแม่แจ่ม ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม มีแปลงต้นไม้ยืนต้นจำพวกผลไม้ที่ใช้เวลาปลูก 6 เดือนถึงหนึ่งปีขึ้นไป

เช่น มะม่วง เงาะ เสาวรส อโวคาโด้ กล้วย และทุเรียน และแน่นอนพืชเศรษฐกิจที่ใช้เวลาปลูกราว 3ปีขึ้นไปคือต้นไผ่

ล่าสุดโครงการปลูกผักปลอดสารของโครงการแม่วากโมเดล กำลังอยู่ระหว่างหาทุนสร้างโรงเรือนคัดแยกและบรรจุหีบห่อ เพื่อพัฒนาให้เป็นระบบห่วงโซ่อุปทานแบบเต็มรูปแบบคือ ผลิตผลจากแปลงผักจะนำมาเข้าโรงคัดแยก บรรจุหีบห่อให้ได้ตามมาตรฐาน GMP เพื่อส่งมอบไปยังผู้รับซื้อได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ดังนั้นรายได้จะเข้าสู่เกษตรกรโดยตรงในรูปแบบสหกรณ์

สรุปแล้วการแก้ปัญหาตั้งแต่เรื่องการเผาป่า ปัญหาหมอกควัน ไปจนถึงสิทธิในที่ดินทำกิน คงไม่ใช่แค่การที่ผู้มีอำนาจมาลงพื้นที่ นั่งหัวโต้ะ รับฟังปัญหา ชี้แจงนโยบายกว้างๆ เปิดป้ายโครงการแล้วเดินทางกลับ ซึ่งพอดีกับที่นายกรัฐมนตรีจะลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่เพื่อเปิดโครงการปลูกป่าและป้องกันไฟป่า วันที่ 24 ก.ค. นี้ แต่ต้องคืนอำนาจให้พื้นที่ได้แก้ปัญหาจัดการด้วยตนเอง ดูแลพื้นที่ป่า อยู่ร่วมกับป่า จัดสรรงบประมาณเพื่อร่วมแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และเป็นระบบ เพื่อเราจะไม่ต้องกลับมาเริ่มต้นแก้ปมปัญหานี้กันใหม่ทุกปี” นางเยาวลักษณ์ กล่าวย้ำ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง