รีเซต

นักวิชาการ ลั่น ไม่รู้ศก.ขึ้นจากเหวได้หรือไม่ ฟันธง ต้องสู้อย่างน้อย 2 ปี ชี้ เงินอุดหนุนเด็กเล็ก ใช้งบน้อยกว่าเรือดำน้ำ 2 ลำ

นักวิชาการ ลั่น ไม่รู้ศก.ขึ้นจากเหวได้หรือไม่ ฟันธง ต้องสู้อย่างน้อย 2 ปี ชี้ เงินอุดหนุนเด็กเล็ก ใช้งบน้อยกว่าเรือดำน้ำ 2 ลำ
มติชน
29 สิงหาคม 2563 ( 17:08 )
99

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) จัดงานเสวนาวิชาการ “ผ่าทางตันรัฐธรรมนูญไทย: ไม่แก้ไข เขียนใหม่เท่านั้น” เพื่อเป็นเวทีในการสรรค์สร้างสังคมประชาธิปไตย และหาทางออกเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนทุกคน ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วม

 

ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด นักวิชาการอิสระ กล่าวถึงประเด็นเศรษฐกิจกับรัฐธรรมนูญว่า มองเห็นเบื้องต้น 2 ปี เป็นอย่างเร็ว ในความหมายทางเศรษฐกิจ ทุกคนทราบดีว่าเราอยู่ในจุดเหว และไม่รู้ว่าจะขึ้นจากเหวได้หรือไม่ จะลงเหวอีกหรือไม่ กล่าวคือ เคลื่อนตัวอย่างช้าๆ และเปราะบางในทางเศรษฐกิจ จาก

  1. การระบาดซ้ำของโควิด
  2. การฟื้นตัวของต่างประเทศ ที่ัเหมือนไม่มีอะไรดีขึ้น
  3. ปัญหาการเมือง 2 ปีนี้เราอยู่ในบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ชนชั้นนำทางสังคมเริ่มกังวลกับการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ 60 เหมือนเดิม

 

ซึ่งตอนนี้เกิดปรากฏการณ์ 2 อย่างที่คิดว่าจะนำได้ แต่ไม่มีฝีมือเท่าไหร่ เศรษฐกิจไม่ดีขึ้น และที่คิดว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนทำได้ยาก ก็ดูเหมือนจะตรงกันข้าม สร้างความไม่ชอบธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างแรงกดดัน จนฝ่ายที่คิดว่าเผด็จการจะให้ประโยชน์กับตัวเองมากกว่า ก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเองคิดผิด กดดัน จนให้ยอมมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจที่จะเป็นประเด็นสำคัญอย่างมาก เช่น รัฐธรรมนูญ ปี 40 ก็มีโจทย์ทางเศรษฐกิจ ในวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งตอนนี้ก็มี แต่ไม่ปะทุเท่าการเมือง ที่รัฐธรรมนูญนี้ แย่กว่า รัฐธรรมนูญ ปี 35 เพราะ เมื่อพ้นเดือนตุลาคมไป จะหมดระยะยืดหนี้ ซึ่งจะเกิดแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จะเปราะบางมาก และผู้นำเศรษฐกิจต้องลดความเสี่ยงลง จึงเป็นเหตุให้มีการส่งสัญญาณว่า อาจให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการ ส.ส.ร.

 

โดยจะแบ่งช่วงเวลาสำคัญ คือ ภายในปีนี้ หรือ 4-5 เดือนจากนี้ รัฐบาลคิดเกมรอบคอบพอสมควร ถอยมาจุดต่ำสุดที่เขายืดได้ ที่อย่างน้อยยืดไป 2 ปี แม้ไม่ได้อยากอยู่จุดนี้ แต่ด้วยภาวะที่รับแรงกัดดันไม่ไหว ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ แค่อยากย้ำว่า ใน 4 เดือนนี้ เขายังหาโอกาสพลิกเกมเสมอ เพราะไม่ไม่ได้มีความรู้สึกว่าอยากแก้ ดูได้จากข้อเสนอ บอกแค่ว่า ยอมถอยเรื่องไหน เราชัด รัฐบาลไม่ชัด จึงหาจุดต่ำจุดที่พอจะเสียได้ ดังนั้น 4 เดือนต่อจากนี้จึงต้องรักษาโมเมนตัมเอาไว้ให้ได้บรรยากาศทางการเมืองไปสู่การตั้ง ส.ส.ร เป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการแก้ไขรายมาตราก็สำคัญ เราไม่ได้อยากเป็นผู้ชนะฝ่ายเดียว แต่อยากมีกติการ่วมกันจริงๆ วิธีเดียวคือได้ ได้คนร่างที่มาจาการเลือกตั้ง

 

“ดังนั้น 2 เกือบปี กว่าจะเลือก ส.ส.ร. และเริ่มร่างได้ ทั้งนี้ เรื่องเนื้อหาจะถกกันอย่างเข้มข้นในหลายประเด็น เช่น วิธีการเลือกตั้งที่ดีคืออะไร การได้มาซึ่งรัฐบาล เรื่อง ส.ว. ที่ไม่ใช่แค่มาจากการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง แต่ไปสู่ การที่ว่า เราจำเป็นต้องมี ส.ว.หรือไม่ มีหลายหัวข้อที่เราต้องคุยกัน ซึ่งตอนนี้ยังมีคำถามกับองค์กรอิสระอย่างมาก และ กระบวนการยุติธรรม แม้จะไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่ตั้งคำถาม จากการรอดเพราะนามสกุล เหล่านี้ เป็นประเด็นที่ต้องคุยกันอีกยาว เลยไปจนถึงเรื่องสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ว่า ที่หายไป ไม่เฉพาะการเมือง ลามไปถึงการศึกษา เป็นการศึกษาฟรีได้หรือไม่ กระทั่งการรักษาพยาบาล จาก 30 บาท เติมคำว่าผู้ยากไร้เข้ามา ก็ทำได้ เพียงแต่รัฐบาลไม่ทำ เราจะทำแบบรัฐธรรมนูญ 40 หรือ คืบหน้าไปกว่านั้น เราทำได้” ดร.เดชรัตน์กล่าว

 

ดร.เดชรัตน์ กล่าวว่า ข้อเสนอหนึ่งของพี่น้องคนจน คือ เลือกตั้งผู้ว่าฯ จังหวัด แต่โจทย์ใหญ่คือ ผู้ว่าอยู่ในส่วนภูมิภาค ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคดีหรือไม่ ให้เป็นมาจากส่วนกลาง กับท้องถิ่น เป็นต้น คือตัวอย่างที่ถกเถียงได้ ถ้ารักษาบรรยากาศนี้ได้ ยังมีโจทย์อีกมากที่ต้องพูดคุย ไม่ใช่แค่จำกัดอำนาจฝ่ายเผด็จการนิยม แต่ยังหมายถึงการสร้างอนาคตให้เห็นทางออกของพวกเราด้วย

 

“สุดท้ายเมื่อ ส.ส.ร.ร่างเสร็จ เลือกตั้ง และได้รัฐบาลใหม่ กลับมาสู่โจทย์สำคัญคือ ส.ว. จึงเสนอว่าปิดสวิตช์ ส.ว.ไปเลย น่าจะดี รวม เวลา 2 ปี แต่ใน 4 เดือนแรกที่ต้องเริ่มทำ คือ การเลือกตั้งท้องถิ่น ไม่มีเหตุอะไรให้ต้องรอ รัฐบาลก็ยื้อไปเรื่อยๆ ซึ่งควรจะเลือกตั้งไปนานแล้ว เราต้องสร้างกระแสเรื่องนี้กลับมา ทวงได้เป็นสิทธิของเรา ระบุไว้ แม้แต่ในรัฐธรรมนูญ 60 ก็ตาม

 

สุดท้าย สวัสดิการภาคประชาชน ไม่ว่าการเปลี่ยนเบี้ยยังชีพ ให้เป็นบำนาญแห่งชาติ ซึ่งจะปลดล็อกที่เราต้องไปขอพึ่งรัฐบาล บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ออกนโยบายที่กดดันให้เกิดเงินบำนาญ เงินอุดหนุนเด็กเล็ก ซึ่งใช้งบน้อยกว่าเรือดำน้ำ 2 ลำ การจะเข้มแข็งขึ้นมาทางการเมืองและเศรษฐกิจ เราต้อง สู้ไปอีก 2 ปี” ดร.เดชรัตน์กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง