รีเซต

"นพ.เรวัต" เตือนรัฐ "ตราหน้า" คนออกต่างจังหวัดในวันหยุดยาว แนะรีบตรวจ-เก็บข้อมูล

"นพ.เรวัต" เตือนรัฐ "ตราหน้า" คนออกต่างจังหวัดในวันหยุดยาว แนะรีบตรวจ-เก็บข้อมูล
มติชน
4 พฤษภาคม 2563 ( 10:21 )
333
"นพ.เรวัต" เตือนรัฐ "ตราหน้า" คนออกต่างจังหวัดในวันหยุดยาว แนะรีบตรวจ-เก็บข้อมูล

“นพ.เรวัต” เตือนรัฐ “ตราหน้า” คนออกต่างจังหวัดในวันหยุดยาว แนะรีบตรวจ-เก็บข้อมูล

เตือนรัฐ- เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม นพ.เรวัต วิศรุตเวช ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเสรีรวมไทย (สร.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ตราหน้าคนออกต่างจังหวัดในวันหยุดยาว ระบุว่า การวิพากษ์วิจารณ์โดยให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการแก้ปัญหา ไม่ใช่วิจารณ์เพียงอย่างเดียว โดยไม่มีเจตนาจะโจมตีรัฐบาล ซึ่งตนเองได้ปฎิบัติเช่นนี้ทั้งในและนอกสภาอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่รัฐบาลปล่อยให้มีการนำเข้าของเชื้อโควิดมายังประเทศไทยโดยไม่ทำการกักกันอย่างเข้มงวดตั้งแต่แรก

นพ.เรวัต กล่าวว่า ด้วยเหตุที่มีประสบการณ์ตรงในการรับมือกับการระบาดของโรคซาร์ส ไข้หวัดนก เมอร์ส และไข้หวัดใหญ่ 2009 มาก่อน ในขณะดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ รองปลัดกลุ่มภารกิจ รับผิดชอบ อย. กรมวิทย์ และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ข้อเสนอหลายอย่างที่ได้เคยเสนอต่อรัฐบาล รัฐบาลก็ได้ดำเนินการที่เป็นคุณกับประชาชน แต่บางอย่างที่ล่าช้าก็เกิดความเสียหายร้ายแรงในมิติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการระบาดของโรค เช่น เรื่องเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งควรต้องให้ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเพื่อให้เกิดความสมดุลย์ และเนื่องจากไม่มีใครบอกได้ว่าวิกฤตโควิด-19 จะยังอยู่ต่อไปอีกนานเท่าไร การรักษาความสมดุลย์ในทุกมิติจึงมีความสำคัญมาก

“เปรียบได้กับการรักษาของหมอ แม้มีฝีมือในการผ่าตัดดีเยี่ยม แต่เกิดความผิดพลาดจากการดมยาหรือเหตุใดๆ จนคนไข้เสียชีวิต ก็ต้องถือว่าการรักษานั้นล้มเหลว การแก้ปัญหาเรื่องโควิด-19 ก็เช่นเดียวกัน ควรต้องบริหารจัดการทุกๆ มิติคู่ขนานกันไป และที่ยังต้องเขียนถึงเรื่องโควิด-19 อยู่บ่อยๆ เพราะมีประเด็นที่ต้องติดตามอยู่ทุกวัน” นพ.เรวัต กล่าว

นพ.เรวัต ยังกล่าวในโพสต์ว่า เช่นวันนี้ มีประเด็นที่เห็นควรต้องทักไว้ก่อนเลย คือการกลับบ้านหรือเที่ยวต่างจังหวัดของประชาชนซึ่งมีทั้ง ความแออัด และการเคลื่อนย้ายของคนจำนวนมาก ขัดกับมาตรการ เว้นระยะห่างในวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ทำให้การจราจรหนาแน่นติดขัด ทั้งถนน มิตรภาพและเส้นทาง 304 ซึ่ง ศบค.ได้ตราหน้าคนเหล่านี้ไว้แล้วว่าจะเสี่ยงทั้งการติดโรคและแพร่โรค โดยสรุป คนกลุ่มนี้แม้จะเดินทางได้โดยไม่ป่วย ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าบางคนหรือหลายคนมีเชื้ออยู่ในตัว และจะแพร่โรคให้คนอื่น และโดยสมมติฐานนี้ คนกลุ่มนี้จึงน่าจะเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ ศบค. ควรต้องสั่งให้ทุกคนได้รับการตรวจหาเชื้อ ถ้าพบ ก็จะได้กักกันและแยกโรค (state หรือlocal quarantine) ซึ่งจะให้ผลทั้ง 2 อย่างคือ

1.เพื่อให้ ศบค. สามารถควบคุมการระบาดได้

2.ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อในคนกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก ก็จะทำให้ ศบค. มีหลักฐานอ้างอิงที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ เพื่อนำไปใช้กำหนดมาตรการต้องห้ามต่างๆที่ประชาชนจะโต้แย้งไม่ได้ และจะพูดได้เต็มปากว่าคนพวกนี้

แหละที่ก่อเหตุเพราะไม่เชื่อฟัง มิเช่นนั้นจะเป็นการกล่าวหาโดยไม่มีข้อพิสูจน์จริงๆ เหมือนรอบที่แล้วที่คนแห่กันกลับบ้าน เพราะตกงานเนื่องจาก กทม. สั่งปิด ห้าง และตลาด เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ซึ่งไม่มีการระดมตรวจหาเชื้อกับคนกลุ่มนั้นเพื่อเป็นข้อมูลเก็บไว้เลย

“รอบนี้ ต้องเอาให้ชัดนะครับ ว่าถ้าตัวเลขติดเชื้อเพิ่มเพราะคนตกงานเดินทางกลับบ้านหรือไปเที่ยวในวันหยุดยาว หรือเพิ่มขึ้นจากรัฐปล่อยให้คนนำเชื้อเข้ามาแล้วกักกันไม่ได้ดี หรือเพราะไม่สามารถทำ physical distancing ในบ้านเล็กๆ ที่อยู่กันหลายคนได้ นอกจากต้องเกาะเพดานหรือผนังบ้านได้เหมือนจิ้งจก เพื่อรักษาระยะห่าง 2 เมตร” นพ.เรวัต ระบุในโพสต์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง