รีเซต

มาเลเซียสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 1.5 แสนคอร์ส จากเมิร์ค สิงคโปร์เซ็นซื้อด้วย แต่ไม่เผยจำนวน

มาเลเซียสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 1.5 แสนคอร์ส จากเมิร์ค สิงคโปร์เซ็นซื้อด้วย แต่ไม่เผยจำนวน
มติชน
7 ตุลาคม 2564 ( 17:08 )
52
มาเลเซียสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 1.5 แสนคอร์ส จากเมิร์ค สิงคโปร์เซ็นซื้อด้วย แต่ไม่เผยจำนวน

ข่าววันนี้ 7 ตุลาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า มาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นอีกสองชาติในเอเชีย ที่ทำข้อตกลงสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ ยาเม็ดสำหรับรักษาโรคโควิด-19 จาก เมิร์ค บริษัทยายักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน ผู้พัฒนายาดังกล่าวร่วมกับบริษัท ริดจ์แบค ไบโอเธราพิวติค โดยนายไครี จามาลุดดิน รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย เปิดเผยในวันเดียวกันนี้ว่า รัฐบาลมาเลเซียได้ลงนามในข้อตกลงสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์จำนวน 150,000 คอร์ส จากบริษัทเมิร์คในวันพฤหัสบดีนี้ การตัดสินใจนี้มีขึ้นในขณะที่เราเตรียมเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นโรคระบาดประจำถิ่น ที่เราสามารถอยู่ร่วมกับไวรัสไ้โดยมีวิธีรักษาที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ซึ่งจะเป็นอาวุธในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 นอกเหนือจากวัคซีนและมาตรการด้านสาธารณสุขอื่นๆที่มีอยู่แล้ว

 

วันเดียวกัน เมิร์คประกาศว่าได้ทำข้อตกลงจัดหายาโมลนูพิราเวียร์ให้กับทางสิงคโปร์ด้วย ด้านกระทรวงสาธารณสุขของสิงคโปร์ได้แต่เพียงยืนยันว่าได้ทำข้อตกลงดังกล่าว แต่ปฏิเสธที่จะเปิดเผยถึงจำนวนการสั่งซื้อตัวยาดังกล่าวว่าเป็นจำนวนเท่าใด โดยอ้างเหตุผลด้านความอ่อนไหวเชิงพาณิชย์

 

อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ระบุว่า ยาโมลนูพิราเวียร์จะสามารถใช้ได้หลังจากเมิร์คได้ยื่นข้อมูลเกี่ยวกับตัวยาดังกล่าวให้กับสำนักงานวิทยาศาสตร์สุขภาพ(เอชเอสเอ)ของสิงคโปร์ได้พิจารณาเพื่ออนุมัติให้ใช้ได้ในสิงคโปร์แล้ว และว่า การมียาโมลนูพิราเวียร์เพิ่มเข้ามาในการรักษาโรคโควิด-19 จะเป็นหลักประกันว่าเรามีทางเลือกที่หลากหลายในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มต่างๆ

 

ทั้งนี้ มาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นสองชาติล่าสุดในเอเชียที่สั่งซื้อยาโมลนูพิราเวีย นอกเหนือจากออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย ที่รอยเตอร์ระบุว่าได้เจรจาเพื่อสั่งซื้อยาเม็ดรักษาโรคโควิด-19 ตัวนี้แล้ว โดยการเร่งช่วงชิงสั่งซื้อยาโมลนูพิราเวียร์มีขึ้นหลังจากเมิร์คได้เปิดเผยข้อมูลผลการทดลองทางคลินิกออกมาเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยาเม็ดรักษาโรคโควิด-19 สามารถลดความเสี่ยงที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงอาการรุนแรงลงได้ถึง 50 เปอร์เซ็นต์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง