รีเซต

เช็กด่วน! 21 จังหวัด ระวังน้ำท่วม-น้ำป่า 20-25 ส.ค.นี้

เช็กด่วน! 21 จังหวัด ระวังน้ำท่วม-น้ำป่า 20-25 ส.ค.นี้
TNN ช่อง16
17 สิงหาคม 2566 ( 20:06 )
160
เช็กด่วน! 21 จังหวัด ระวังน้ำท่วม-น้ำป่า 20-25 ส.ค.นี้

17 ส.ค. 2566 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.)  ได้ออกประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ

ฉบับที่ 15/2566

เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก




กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังปานกลาง จะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก กอนช. ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี พบว่าในช่วงวันที่ 20 – 25 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้ 


1. ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย ขุนตาล และแม่สรวย) 

จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอฝาง และแม่อาย) 

จังหวัดน่าน (อำเภอนาหมื่น และเวียงสา) 

จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอเขาค้อ)


2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี) 

จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอบุ่งคล้า) 

จังหวัดนครพนม (อำเภอ ท่าอุเทน และศรีสงคราม) 

จังหวัดสกลนคร (อำเภอพรรณานิคม สว่างแดนดิน และอากาศอำนวย) 

จังหวัดอุดรธานี (อำเภอบ้านดุง) 

จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ และหัวตะพาน) 

จังหวัดสุรินทร์ (อำเภอเมืองสุรินทร์) 

จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ) 

จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเขื่องใน)


3. ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี แก่งหางแมว และขลุง) 

จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง บ่อไร่ คลองใหญ่ และเกาะช้าง)


4. ภาคใต้ จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง และกะเปอร์) 

จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ทับปุด และท้ายเหมือง) 

จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) 

จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล และละงู) 

จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ปะเหลียน และวังวิเศษ) 

จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอพนม และบ้านตาขุน)



ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

1. ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน

2. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที

 

ประกาศ ณ วันที่   17    สิงหาคม 2566

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง