รีเซต

"หมอธีระวัฒน์" แนะ 3 วิธี จัดการป้องกันโควิดระบาดระลอกสอง

"หมอธีระวัฒน์" แนะ 3 วิธี จัดการป้องกันโควิดระบาดระลอกสอง
มติชน
20 พฤษภาคม 2563 ( 20:22 )
114

“หมอธีระวัฒน์” แนะ 3 วิธี จัดการป้องกันโควิดระบาดระลอกสอง

เมื่อวันที่ 20 พ.ค. นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก เกี่ยวกับเรื่อง การเตรียมการเพื่อป้องกันระลอกสอง” โดยมีรายละเอียดว่า การประเมินความเสี่ยงที่จะมีการติด แพร่ จนถึงระบาดหรือไม่?

ความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรักษาวินัย ไม่ให้มีการติด และแพร่เชื้อระหว่างบุคคลจนเป็นลูกโซ่ ยังควรเสริมด้วยการทราบสถานภาพ อย่างรวดเร็ว ทันการณ์ โดย

1.ควรสามารถระบุ ยืนยันและเก็บกักตัวผู้ติดเชื้อที่มีอาการได้อย่างครบถ้วน ทั้งที่มีอาการแบบปกติ (ไข้ ไอ เพลีย) และแบบไม่ปกติ ที่อาการออกไปทางระบบอื่น รวมกระทั่งผู้มีความสุ่มเสี่ยงสูงและทำงานบริการสาธารณะ เช่นรถประจำทาง ที่มีโอกาศติดเชื้อและแพร่ต่อได้สูง
การตรวจแยงจมูกหาเชื้อด้วยวิธีพีซีอาร์

2.การตรวจคัดกรอง (Screening)
อาจมีความจำเป็น อย่างยิ่ง แม้บุคคลนั้นๆ จะดูปกติก็ตามแต่มีโอกาศที่จะต้องเข้าไปทำกิจกรรม ในสถานที่ไม่กว้างขวางนัก และอยู่ด้วยกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง เช่นสถานศึกษา ในกรณีเช่นนี้ 4 วันก่อนหน้าที่จะเริ่มเข้าทำกิจกรรม ต้องระวังตนสูงสุด ให้แน่ใจว่าไม่ได้รับเชื้อ
และ ณ วันนั้น ประเมินสถานะภาพ ว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ (นั่นคือ ติดเชื้อก่อนหน้า 4 วันนี้หรือนานกว่านั้น) ด้วยการเจาะเลือด

ทั้งนี้เนื่องจากภูมิคุ้มกันระดับที่หนึ่ง ที่เรียกว่า IgM จะปรากฎตัวขึ้นหลังจากติดเชื้อประมาณวันที่ 4 ถึงวันที่ 6
และถ้ามี IgM ต้องเฝ้าระวังว่าอาการจะรุนแรงหรือไม่ และช่วงนี้จะเป็นช่วงที่แพร่เชื้อได้มากโดยควรต้องแยงจมูกด้วย

ทั้งนี้ต้องกักตัว 14 วันและต้องยืนยันว่า ไม่แพร่เชื้อต่อ จึงจะออกจากการกักตัวได้ และ จากนั้น กักตัวที่บ้านต่ออีก 14 วัน เพื่อแน่ใจว่าเชื้อจะไม่หลุดออกมาอีก

ในกรณีที่เจาะเลือดเลือดผลออกมาเป็นภูมิคุ้มกันระดับที่สองที่เรียกว่า IgG แสดงว่ามีการติดเชื้อระยะหนึ่งแล้ว อาจจะอย่างน้อย 12-14 วัน ความเสี่ยงอันตรายต่อชีวิตแม้ว่าจะน้อยลง แต่ยังอาจจะแพร่เชื้อได้ ในกรณีนี้ อาจให้กักตัวที่บ้านระวังการแพร่เชื้อ 14 วัน

ลักษณะภูมิระดับที่สองนี้เป็นภูมิที่สำคัญ และควรตรวจหาว่า ในตัวภูมิ IgG นี้มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ ( eutralizing antibody) ได้มากน้อยเพียงใด

ในขณะนี้ ยังไม่ทราบว่าภูมินี้จะอยู่ได้นานกี่เดือน และร่างกายจะมีภูมิคุ้มกัน “ระบบความจำ” ได้ดีเพียงใด (Immunological memory) ซี่งถ้าความจำดี แม้มีติดใหม่ ร่างการจะสร้างภูมิมาสู้กับไวร้สได้ทันที

ลักษณะของการตรวจเช่นนี้ อาจต้องมีการประเมินเป็นระยะ เพื่อสะท้อนให้เห็น ระบบและระเบียบวินัยในการป้องกันโรคว่ายังคงเข้มแข็งหรือไม่

3.การประเมินภาพรวมทั้งประเทศว่ามีการติดเชื้อมากมายเพียงใดแล้ว และมีประโยชน์ในการวางแผนการฉีดวัคซีนในคนที่ไม่เคยติดเชื้อ ด้วยการตรวจหาภูมิ นอกจากนั้น อาจเลือกวิธีแยงจมูก 10 คน และตรวจครั้งเดียว เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยกรณีที่การติดเชื้อที่กำลังแพร่ อยู่ในระดับไม่สูงมาก ประมาณ 1-2% (วารสาร j Med Virol in press)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง