'โลกาภิวัฒน์-โรคจากสัตว์สู่คน' หนุนแพร่กระจาย 'โควิด-19 กลายพันธุ์'

ลอนดอน, 19 ก.ย. (ซินหัว) -- ระลอกคลื่นโรคระบาดที่แตกต่างกันเกิดขึ้นตามความแตกต่างของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ชนิดกลายพันธุ์ โดยแหล่งเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์เหล่านี้สามารถเดินทางข้ามพรมแดนและปรากฏอยู่ในสัตว์
นิวส์ เมดิคัล (News Medical) ศูนย์กลางข้อมูลการแพทย์และวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่เข้าถึงได้แบบเสรี เผยแพร่บทความที่ระบุว่าการติดเชื้อไวรัสฯ ในเอเชียมีลักษณะเป็นเส้นกราฟระฆังคว่ำ ด้านกลุ่มประเทศซีกโลกตะวันตกมีการติดเชื้อลักษณะเดียวกัน แต่มีจุดสูงสุดของเส้นกราฟ 1-2 จุด
บทความดังกล่าวที่อ้างอิงผลการศึกษาจากเมดอาร์เอ็กซ์ไอวี (medRxiv) เว็บไซต์เผยแพร่เอกสารการแพทย์ที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์ ระบุว่ากระแสโลกาภิวัฒน์ (globalization) และโรคจากสัตว์สู่มนุษย์ (zoonosis) ยังมีบทบาทต่อการอุบัติและการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ด้วย
กลุ่มประเทศที่แยกตัวโดดเดี่ยว ไม่ว่าทางภูมิศาสตร์หรือทางการเมือง เผชิญการระบาดเพียงหนึ่งครั้ง (episode) และมีลักษณะเส้นกราฟระฆังคว่ำเพียงอันเดียว แตกต่างกับยุโรปและสหรัฐฯ ที่พบการระบาดหลายครั้งต่อเนื่อง ซึ่งเกี่ยวพันกับเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์
นอกจากนั้นการระบาดของโรคในสัตว์ (epizootics) ในฝูงสัตว์ไม่ได้ถูกพิจารณาอยู่ในการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ และการส่งผ่านเชื้อไวรัสฯ สู่มนุษย์ ขณะที่มีการค้นพบว่าตัวมิงก์มีบทบาทสำคัญในการขยายขอบเขตของโรคระบาดใหญ่
ด้วยเหตุนี้ คณะผู้เขียนบทความข้างต้นจึงสรุปว่าการควบคุมพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและการตรวจตราฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นประจำอาจช่วยลดการอุบัติของเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ สายพันธุ์ใหม่ และการระบาดระลอกใหม่
(แฟ้มภาพซินหัว : ประชาชนเดินริมแม่น้ำเทมส์ในกรุงลอนดอน เมืองหลวงของสหราชอาณาจักร วันที่ 30 ส.ค. 2021)[/caption]