รีเซต

วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน? เช็กปฏิทินวันพระ-วันสำคัญตลอดปีได้ที่นี่

วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน? เช็กปฏิทินวันพระ-วันสำคัญตลอดปีได้ที่นี่
TNN ช่อง16
12 มิถุนายน 2566 ( 08:05 )
290

วันเข้าพรรษา 2566 ตรงกับวันไหน? มีความสำคัญอย่างไร เช็กปฏิทินวันพระ-วันสำคัญเดือนกรกฎาคม และ ตลอดปีได้ที่นี่


วันเข้าพรรษา จัดเป็นพิธีกรรมของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 จนถึงวันขึ้น 18 ค่ำเดือน 11 เรียกว่า ครบไตรมาส คือ 3 เดือนนี่เป็นการเข้า "พรรษาต้น" ส่วนการเข้า "พรรษาหลัง" เริ่มตั้งแต่วันแรมค่ำ 1 เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 โดยปี 2566 ตรงกับวันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 แรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง(88) ปีเถาะ



 



ความเป็นมาของการเข้าพรรษา


ประวัติพิธีเข้าพรรษาของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนามีเรื่องเล่าว่า ในประเทศอินเดียในสมัยโบราณ เมื่อถึงฤดูฝน น้ำมักท่วม ผู้ที่สัญจรไปมาระหว่างเมือง เช่น พวกพ่อค้า ก็หยุดเดินทางไปมาชั่วคราว พวกเดียรถีย์และปริพาชกผู้ถือลัทธิต่าง ๆ ก็หยุดพัก ณ สถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งตลอดฤดูฝน ทั้งนี้เพราะการคมนาคมไม่สะดวก ทางเป็นหลุมเป็นโคลน เมื่อเกิดพระพุทธศาสนาแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกเผยแพร่พระศาสนาต่อไป นับเป็นพุทธจริยาวัตรและในตอนแรกที่ยังมีพระภิกขุสงฆ์ไม่มาก พระภิกขุสงฆ์ปฏิบัติประพฤติตามพระพุทธเจ้า ความครหานินทาใด ๆ ก็ไม่เกิดมีขึ้นจึงไม่ต้องทรงตั้งบัญญัติพิธีอยู่จำพรรษา ครั้นพอพระพุทธศาสนาแผ่ขยายออกไปกว้าง พระภิกขุสงฆ์ได้เพิ่มปริมาณเพิ่มขึ้น


วันหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์ มีพระภิกขุ ๖ รูป ฉัพพัคคีย์ แม้เมื่อถึงฤดูฝน ก็ยังพากันจาริกไปมา เที่ยวเหยียบย่ำข้าวกล้าหญ้าระบัด และสัตว์เล็กสัตว์น้อยให้เกิดความเสียหายและตายไป ประชาชนจึงพากันติเตียนว่าไฉนพระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล พากันเหยียบย่ำข้าวกล้าและต้นไม้ตลอดจนทั้งสัตว์หลายตายจำนวนมาก แม้พวกเดียรถีย์และปริพาชก ก็ยังหยุดพักในฤดูฝนหรือจนแม้แต่นกก็ยังรู้จักทำรังเพื่อพักหลบฝน งงง


เมื่อความเรื่องนี้ทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษาในที่แห่งเดียวตลอด 3 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ห้ามมิให้พระภิกษุเที่ยวไปค้างคืนที่อื่น หากมีธุระกิจเป็นอันชอบด้วยพระวินัย จึงไปได้ด้วยการทำสัตตาหกรณียะ คือต้องกลับมาที่พักเดิมภายใน 7 วัน นอกจากนั้นห้ามเด็ดขาด และปรับอาณัติแก่ผู้ฝ่าฝืนล่วงละเมิดพระบัญญัติพิธีการปฏิบัติในวันเข้าพรรษา มีความเป็นมาดังกล่าวนี้



 



หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ


ระหว่างเทศกาลเข้าพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวาย ทาน รักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่วบำเพ็ญความดีและชำระจิตให้สะอาดแจ่มใสเคร่งครัดยิ่งขึ้น หลักธรรมสำคัญที่สนับสนุน คุณความดีดังกล่าวก็คือ "วิรัติ"คำว่า "วิรัติ" หมายถึงการงดเว้นจากบาป และความชั่วต่าง ๆ จัดเป็นมงคลธรรมข้อหนึ่ง เป็นเหตุนำบุคคลผู้ปฏิบัติตามไปสู่ความสงบสุขปลอดภัยและความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นไปวิรัติ การงดเว้นจากบาปนั้น จำแนกออกได้เป็น 3 ประการ คือ

1. สัมปัตตวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยเกิดความรู้สึกละอาย (หิริ) และเกิดความรู้สึกเกรงกลัวบาป(โอตตัปปะ) ขึ้นมาเอง เช่น บุคคลที่ได้สมาทานศีลไว้ เมื่อถูกเพื่อนคะยั้นคะยอให้ดื่มสุรา ก็ไม่ย่อมดื่มเพราะละอาย และเกรงกลัวต่อบาปว่าไม่ควรที่ชาวพุทธจะกระทำเช่นนั้นในระหว่างพรรษา

2. สมาทานวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยการสมาทานศีล ๕ หรือศีล ๘ จากพระสงฆ์โดยเพียรระมัดระวังไม่ทำให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย แม้มีสิ่งยั่วยวนภายนอกมาเร้าก็ไม่หวั่นไหวหรือเอนเอียง

3. สมุจเฉทวิรัติ ได้แก่การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาดโดยตรงเป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้า ถึงกระนั้นสมุจเฉทวิรัติ อาจนำมาประยุกต์ใช้กับบุคคลผู้งดเว้นบาปความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ในระหว่างพรรษากาลแล้ว แม้ออกพรรษาแล้วก็มิกลับไปกระทำหรือข้องแวะอีก เช่นกรณีผู้งดเว้นจากการดื่มสุราและสิ่งเสพติดระหว่างพรรษากาล แล้วก็งดเว้นได้ตลอดไป เป็นต้น



เปิดปฏิทินวันพระ และ วันสำคัญตลอดปี 2566 ได้ที่นี่


วันพระ เดือนกรกฎาคม 2566

-วันอาทิตย์ที่ 2 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด

-วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนแปด

-วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนแปด

-วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนแปด


วันสำคัญ เดือนกรกฎาคม 2566
1 กรกฎาคม 2566 วันหยุดครึ่งปีธนาคาร / วันสถาปนาลูกเสือแห่งชาติ
4 กรกฎาคม 2566 วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ฯ
6 กรกฎาคม 2566 วันจูบสากล
7 กรกฎาคม 2566 วันพูดความจริง
11 กรกฎาคม 2566 วันประชากรโลก / วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
13 กรกฎาคม 2566 วันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
17 กรกฎาคม 2566 วันอีโมจิโลก (World Emoji Day)
28 กรกฎาคม 2566 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว / วันตับอักเสบโลก
29 กรกฎาคม 2566 วันภาษาไทยแห่งชาติ / วันอนุรักษ์เสือโลก (International Tiger Day)
30 กรกฎาคม 2566 วันมิตรภาพสากล (International Friendship Day) / วันผู้พิทักษ์ป่าสากล

วันพระ เดือนสิงหาคม 2566

-วันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนแปด (วันอาสาฬหบูชา)

-วันพุธที่ 2 สิงหาคม 2566 แรม 1 ค่ำ เดือนแปด (วันเข้าพรรษา)

-วันพุธที่ 9 สิงหาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนแปด

-วันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนแปด

-วันพฤหัสบดีที่ 24 สิงหาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนเก้า

-วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนเก้า


วันสำคัญ เดือนสิงหาคม 2566

1 สิงหาคม 2566 วันอาสาฬหบูชา / วันสตรีไทย
2 สิงหาคม 2566 วันเข้าพรรษา
4 สิงหาคม 2566 วันสื่อสารแห่งชาติ / วันสัตวแพทย์ไทย
7 สิงหาคม 2566 วันรพี
8 สิงหาคม 2566 วันแห่งคนอ้วน (ญี่ปุ่น)
10 สิงหาคม 2566 วันขี้เกียจสากล / วันเกิดสนูปปี้
12 สิงหาคม 2566 วันแม่แห่งชาติ / วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง / วันเยาวชนสากล
13 สิงหาคม 2566 วันคนถนัดซ้ายสากล
16 สิงหาคม 2566 วันสันติภาพไทย
17 สิงหาคม 2566 วันยกย่องแมวดำ
18 สิงหาคม 2566 วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ
19 สิงหาคม 2566 วันมนุษยธรรมโลก
23 สิงหาคม 2566 วันระลึกการค้าทาสและการเลิกทาสสากล
25 สิงหาคม 2566 วันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
26 สิงหาคม 2566 วันสุนัขโลก
29 สิงหาคม 2566 วันแห่งเนื้อย่าง (ญี่ปุ่น)
30 สิงหาคม 2566 วันสารทจีน / วันแห่งการรำลึกถึงผู้ถูกบังคับสูญหายสากล


วันพระ เดือนกันยายน 2566

-วันศุกร์ที่ 8 กันยายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนเก้า

-วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือนเก้า

-วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบ

-วันศุกร์ที่ 29 กันยายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ


วันพระ เดือนตุลาคม 2566

-วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบ

-วันเสาร์ที่ 14 ตุลาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนสิบ

-วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด

-วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด (วันออกพรรษา)


วันพระ  เดือนพฤศจิกายน 2566

-วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด

-วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน 2566 แรม 14 ค่ำ เดือนสิบเอ็ด

-วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนสิบสอง

-วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบสอง (วันลอยกระทง)


วันพระ  เดือนธันวาคม 2566

-วันอังคารที่ 5 ธันวาคม 2566 แรม 8 ค่ำ เดือนสิบสอง (วันคล้ายวันเฉลิมฯ ร.9, วันพ่อ)

-วันอังคารที่ 12 ธันวาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือนสิบสอง

-วันพุธที่ 20 ธันวาคม 2566 ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย

-วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย






ที่มา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ / TNN รวบรวม

ภาพจาก TNN Online

ข่าวที่เกี่ยวข้อง