รีเซต

มีเฮ! ครม. อนุมัติ มาตรการทางภาษี-ขยายเวลา-ลดภาษี ช่วยปชช.ช่วงโควิด

มีเฮ! ครม. อนุมัติ มาตรการทางภาษี-ขยายเวลา-ลดภาษี ช่วยปชช.ช่วงโควิด
มติชน
26 มกราคม 2564 ( 15:26 )
73
มีเฮ! ครม. อนุมัติ มาตรการทางภาษี-ขยายเวลา-ลดภาษี ช่วยปชช.ช่วงโควิด

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 26 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติมาตรการช่วยเหลือประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ ขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภงด.90, ภงด.91 ของปีภาษี 2563 ที่จะยื่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่จากเดิมจะต้องยื่นภายในเดือนมีนาคม 64 จะเลื่อนออกไปเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 64

 

ส่วนการขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการนำส่งและชำระภาษีของเดือนมกราคม 64-พฤษภาคม 64 ที่ต้องยื่นภายในเดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายน 64 นั้น ก็จะเลื่อนออกไปเป็นเดือนสุดท้ายของเดือนนั้นๆ เฉพาะการยื่นผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

 

นายอนุชา กล่าวว่า มาตราการต่อมาคือ มาตราการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และลดค่าทำเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย โดยให้ลดภาษีในอัตราร้อยละ 90 ของจำนวนภาษีตามมาตรา 42 หรือมาตรา 95 แล้วแต่กรณี สำหรับการจัดเก็บภาษีปี 64 สำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างดังต่อไปนี้ 1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างในการประกอบเกษตรกรรม 2.ที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย 3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกเหนือจากเกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย 4.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ

 

นายอนุชา กล่าวอีกว่า ต่อมาคือมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย โดยลดค่าทำเนียมในการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ จากเดิมร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 และลดค่าจะทะเบียนอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 1 เหลือร้อยละ 0.01 เฉพาะการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังนี้ 1.ที่ดินพร้อมอาคารประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว หรืออาคารพานิชย์จากผู้จัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยกาจัดสรรที่ดิน 2.ห้องชุดจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนอาคารชุดในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อหน่วย

 

ทั้งนี้ การจดทะเบียนการโอน และการจำจำนองอสังหาริททรัพย์ต้องจดในคราวเดียวกัน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแตถัดจากการประกาศในราชกิจานุเบกษาจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นี้

 

อย่างไรก็ตาม การลดการจัดเก็บภาษีนี้จะทำให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะต้องสูญเสียรายได้ประมาณ 41,445 ล้านบาท ซึ่ง ครม. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงบฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบฯ เพื่อชดเชยให้แก่ อปท. ตามความเหมาะสม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง