รีเซต

ยาน Voyager 1 กลับมาสื่อสารกับทีมงานบนโลกได้สำเร็จ หลังจากเกิดปัญหามานาน 5 เดือน

ยาน Voyager 1 กลับมาสื่อสารกับทีมงานบนโลกได้สำเร็จ หลังจากเกิดปัญหามานาน 5 เดือน
TNN ช่อง16
24 เมษายน 2567 ( 02:23 )
21
ยาน Voyager 1 กลับมาสื่อสารกับทีมงานบนโลกได้สำเร็จ หลังจากเกิดปัญหามานาน 5 เดือน

ทีมงานนักวิทยาศาสตร์ของนาซาประสบความสำเร็จในการกู้ระบบการสื่อสารของยานวอยเอจเจอร์ 1 หลังจากเกิดปัญหามานาน 5 เดือน ทำให้ยานอวกาศาสตร์สามารถส่งข้อมูลสำคัญด้านวิทยาศาสตร์กลับมายังโลกอีกครั้ง


ก่อนหน้านี้ยานวอยเอจเจอร์ 1 ประสบปัญหาด้านระบบการสื่อสารส่งข้อมูลกลับมายังโลกในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2023 ต่อมาในเดือนมีนาคม 2024 ทีมนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการขับเคลื่อนไอพ่นของนาซายืนยันได้ว่า ปัญหาระบบการสื่อสารดังกล่าวเกิดขึ้นจากคอมพิวเตอร์หนึ่งในสามบนยานขัดห้อง บริเวณระบบย่อยข้อมูลการบิน (FDS)


ทีมงานค้นพบว่าชิปตัวเดียวที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลของหน่วยความจำของระบบย่อยข้อมูลการบิน (FDS) บางส่วนไม่ทำงาน การสูญเสียระบบดังกล่าวทำให้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมไม่สามารถใช้งานได้ ทีมงานจึงตัดสินใจย้ายโค้ดข้อมูลที่ได้รับผลกระทบไปไว้ที่อื่นในหน่วยความจำระบบย่อยข้อมูลการบิน (FDS) แต่ไม่มีพื้นที่ใหญ่พอที่จะเก็บส่วนของโค้ดข้อมูลทั้งหมด 


ทีมงานจึงแบ่งโค้ดข้อมูลออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้ระบบยังคงทำงานได้อยู่ ทีมงานส่งข้อมูลคำสั่งดังกล่าวไปยังระบบย่อยข้อมูลการบิน (FDS) เมื่อวันที่ 18 เมษายนสัญญาณวิทยุใช้เวลาประมาณ 22.30 ชั่วโมง เพื่อไปถึงยานวอยเอจเจอร์ 1 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกมากกว่า 24,000 ล้านกิโลเมตร และใช้เวลาอีก 22.30 ชั่วโมง สำหรับสัญญาณกลับมายังโลก 


ทีมงานได้รับการติดต่อกลับจากยานอวกาศเมื่อวันที่ 20 เมษายน พบว่ากระบวนการแก้ไขระบบประสบความสำเร็จ และนับเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน ที่สามารถตรวจสอบสถานะการทำงานของยานวอยเอจเจอร์ 1 และยานเริ่มส่งข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กลับมายังโลก


สำหรับยานวอยเอจเจอร์ 2 ยานฝาแฝดที่เคยถูกส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อ 46 ปีก่อน ในตอนนี้ยังคงทำภารกิจได้ตามปกติ และนับเป็นยานอวกาศที่ถูกส่งออกไปสำรวจอวกาศที่เดินทางได้ไกลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยยานวอยเอจเจอร์ 1 เดินทางผ่านดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ส่วนยานวอยเอจเจอร์ 2 เดินทางผ่านดาวยูเรนัสและดาวเนปจูน ปัจจุบันยานอวกาศทั้ง 2 ลำ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 19,900-24,000 ล้านกิโลเมตร 


ที่มาของข้อมูล blogs.nasa.gov 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง