รีเซต

เช็คสิทธิประกันสังคม ม.40 คุ้มครองอะไรบ้าง ได้รับเงินเท่าไหร่ มีสิทธิรักษาพยาบาลไหม?

เช็คสิทธิประกันสังคม ม.40 คุ้มครองอะไรบ้าง ได้รับเงินเท่าไหร่ มีสิทธิรักษาพยาบาลไหม?
Ingonn
25 พฤศจิกายน 2564 ( 14:10 )
100K
เช็คสิทธิประกันสังคม ม.40 คุ้มครองอะไรบ้าง ได้รับเงินเท่าไหร่ มีสิทธิรักษาพยาบาลไหม?

มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพ หรือแรงงานอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือผู้ประกันตนมาตรา 39 อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปี บริบูรณ์ โดยได้รับความคุ้มครองมากที่สุด 5 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร ตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ

 

ผู้ประกันตน ม.40 จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือหยุดพักรักษาตัว แต่มาตรา 40 ไม่สามารถส่งเงินสมทบย้อนหลังได้ แต่สามารถส่งเงินสมทบล่วงหน้าได้ 12 เดือน เพื่อรักษาสิทธิ ม.40 ไว้อย่าลืมส่งเงินสมทบเป็นประจำด้วย 

 

สมัครผู้ประกันตน ม.40 อาชีพอิสระ ค้าขาย ฟรีแลนซ์ ไม่กระทบสิทธิบัตรทอง หรือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังคงได้รับสิทธิเหมือนเดิม ล่าสุดสำนักงานประกันสังคมได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น และปรับลดเงินสมทบให้แก่ผู้ประกันตน ถึงวันที่ 31 ม.ค. 65 โดยผู้ประกันตนเลือกสมัครได้ 3 ทางเลือก ไดัแก่

  • จ่ายเงินสมทบ 42 บาท/เดือน (จาก 70 บาท/เดือน) คุ้มครอง 3 กรณี
  • จ่ายเงินสมทบ 60 บาท/เดือน (จาก 100 บาท/เดือน) คุ้มครอง 4 กรณี
  • จ่ายเงินสมทบ 180 บาท/เดือน (จาก 180 บาท/เดือน) คุ้มครอง 5 กรณี

 

วันนี้ TrueID จึงจะมารวบรวม "สิทธิประกันสังคมมาตรา 40" ได้สิทธิรักษาโรงพยาบาลไหม ได้รับเงินช่วยเหลืออะไรบ้าง พร้อมเงื่อนไขการเข้าสมัครและจ่ายเงินเป็นผู้ประกันตน ม.40

 

ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 40

 

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน 

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  3  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

 

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท

 

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท

 

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท

 

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน 

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง  4  กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ

 

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท

 

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท

 

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท

 

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 50 บาท
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

 

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน 

สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี  คือ  กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

 

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 90 วัน/ปี
  • ไม่คุ้มครอง ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง)

 

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระนะเวลา ตลอดชีวิต
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท

 

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  • ไม่คุ้มครอง การจ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต

 

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 150 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้  1,000 บาท

 

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) คนละ 200 บาท(คราวละไม่เกิน 2 คน)

 

ช่องทางจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ม.40

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11)
  • เคาน์เตอร์เทสโก้โลตัส
  • เคาน์เตอร์บิ๊กซี
  • เคาน์เตอร์เซ็นเพย์
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • Mobile Application ShoppyPay
  • ตู้บุญเติม

ฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง

 

สมัครเป็นผู้ประกันตน ม.40 เพียงใช้บัตรประชาชนใบเดียวได้ที่ เว็บไซต์ www.sso.go.th ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) Big C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ หรือเซเว่น-อีเลฟเว่น

 

 

ข้อมูลจาก สำนักงานประกันสังคม

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง