รีเซต

5 หายนะทางวิทยาศาสตร์ตลอดกาล ตั้งแต่เหตุการณ์ระดับชาติ จนถึงเหตุการณ์หายนะด้านอวกาศ

5 หายนะทางวิทยาศาสตร์ตลอดกาล ตั้งแต่เหตุการณ์ระดับชาติ จนถึงเหตุการณ์หายนะด้านอวกาศ
TNN ช่อง16
1 มกราคม 2567 ( 12:01 )
72
5 หายนะทางวิทยาศาสตร์ตลอดกาล ตั้งแต่เหตุการณ์ระดับชาติ จนถึงเหตุการณ์หายนะด้านอวกาศ

วิทยาศาสตร์เป็นหนึ่งในองค์ความรู้ที่ส่งผลกับโลกในทางที่ดีและสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล แต่ก็มีเหตุการณ์ที่วิทยาศาสตร์ได้ส่งผลเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด ด้วยความผิดพลาดในการใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ ซึ่ง TNN Tech ได้รวบรวมมาเป็น 5 เหตุการณ์หายนะทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษยชาติเคยประสบมาก่อน


5 หายนะทางวิทยาศาสตร์ตลอดกาล

โดยเหตุการณ์หายนะทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ นั้นเป็นการรวบรวมข้อมูลจากอินเทอร์เรสติง เอ็นจิเนียริง (Interesting Engineering) บล็อกรายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชื่อดังที่เลือกจากความร้ายแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้นในอดีต

1. วิกฤตการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

ย้อนกลับไปในปี 1986 ยุคที่ยังมีสหภาพโซเวียต ในเมืองเคียฟ ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Nuclear power plant) ที่มีความทันสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่การละเลยมาตรการความปลอดภัยในการผลิตไฟฟ้า เป็นเหตุให้เตาปฏิกรณ์เกิดความร้อนสะสมจนเกินกว่าระบบหล่อเย็นจะยับยั้งได้ เป็นเหตุให้เกิดระเบิดขึ้น จนมีผู้เสียชีวิตจากการระเบิด 30 คน ในขณะที่การระเบิดยังทำให้สารกัมมันตรังสีรั่วไหลอย่างรุนแรง และทำให้ผู้เสียชีวิตรวมมากกว่า 9,000 คน และจนถึงปัจจุบันนี้ผลกระทบจากการรั่วไหลยังคงมีอยู่รอบพื้นที่ไฟฟ้าแม้ว่าจะผ่านมาเกือบ 40 ปี แล้วก็ตาม

2. การต่อต้านแนวคิดโลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric model)

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศาสนจักรที่มีศูนย์กลางอำนาจอยู่ในโรมัน เชื่อว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล และต่อต้านแนวคิดโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ที่มีการนำเสนอโดยนักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ในยุคนั้น รวมไปถึงกาลิโลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์ชื่อดัง ที่นำเสนอและเผยแพร่ข้อมูลว่าโลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางจักรวาล จนโดนศาสนจักรสั่งขังในบ้านตัวเองตลอดชีวิต แต่นับว่ายังโชคดีกว่าจอร์ดาโน บรูโน (Giordano Bruno) นักคณิตศาสตร์ผู้สนับสนุนทฤษฎีของกาลิเลโอที่โดนประหารชีวิตจากการพยายามเปลี่ยนความเชื่อนี้

3. Mars Climate Orbiter ยานสำรวจดาวอังคารพังเพราะใช้หน่วยผิด

ในปี 1999 องค์การบริหารการบินและอวกาศ หรือนาซา (NASA) ได้ส่งยานสำรวจดาวอังคารที่มีชื่อว่า มาร์ส ไคลเมต ออบิตเตอร์ (Mars Climate Orbiter)

จากฐานยิงในรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมุ่งหน้าไปโคจรรอบดาวอังคาร แต่ทว่า ปัญหาในการวางระบบที่ NASA ออกแบบและคำนวณในระบบเมตริก แต่ ล็อกฮีด มา์ติน (Lockheed Martin) ผู้ที่ได้รับสัญญาประกอบและสั่งการตัวยาน ใช้ระบบอิมพีเรียลในการคำนวณ ส่งผลยานสำรวจหลุดระยะวงโคจรดาวอังคารไปจากจุดที่ควรอยู่ถึง 145 กิโลเมตร ก่อนโดนชั้นบรรยากาศดาวอังคารทำลาย


4. การค้นพบทวีปอเมริกา ที่คิดว่าเป็นอินเดียตะวันออก !

ในหน้าประวัติศาสตร์นั้นระบุไว้ว่าคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกา แต่ว่าแท้จริงแล้ว ตัวคริสโตเฟอร์นั้นคิดว่าเป็นอินเดียตะวันออก ! โดยตลอดการเดินทางทั้ง 4 รอบของโคลัมบัสระหว่างปี 1492-1504 เจ้าตัวเข้าใจว่าเมืองต่าง ๆ ที่ค้นพบเป็นส่วนหนึ่งของทวีปอินเดียตะวันออก เนื่องจากเข้าใจว่าโลกมีขนาดเล็ก และตนได้เดินทางรอบโลกแล้ว ตามแผนที่ภูมิศาสตร์ที่ผิดพลาดมาจากการคำนวณเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกที่ผิดพลาดเช่นกัน


5. โครงกระดูกมนุษย์โบราณลวงโลก

ในปี 1912 นักบรรพชีวินวิทยาสมัครเล่นชาวอังกฤษอ้างว่าพบโครงกะโหลกมนุษย์โบราณอายุ 500,000 ปี ในเขตพิลต์ดาวน์ (Piltdown) เขตชนบาททางตอนใต้ของกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ โดยโครงกระดูกนี้เชื่อว่าจะเป็นส่วนประกอบสำคัญ (Missing Link) ทางด้านบรรพชีวินวิทยาที่อธิบายวิวัฒนาการของมนุษย์ได้ โดยตั้งชื่อโครงกระดูกว่าพิลต์ดาวน์แมน (Piltdown Man) แต่ทว่าในปี 1953 กลับพบว่า Plitdown Man เป็นเพียงการเอาโครงกระดูกสัตว์ตระกูลลิงมารวมกับกระโหลกมนุษย์เท่านั้น นับเป็นความเสียหายทางวิชาการที่ต้องใช้เวลากว่า 40 ปี ในการค้นพบความจริง


ที่มาข้อมูล Interesting Engineering


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง