บทนำ สวัสดีพบกับเรานักศึกษาบ้าพลัง เราก็เป็นนักศึกษาคนหนึ่งที่อยู่ในโลกของการศึกษา เนื่องจากมีบทความหลายที่ หนังสือหลายเล่ม หรือสื่อในหลายช่องทางพูดถึงการอ่านยังไงให้จำได้ คราวนี้เราก็จะพูดในมุมกลับกันว่าอ่านหนังสือยังไงให้เหมือนไม่เคยอ่านมันมาก่อน ทุกคนน่าจะเคยเป็นกัน ช่วงมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 เราก็อ่านหนังสือมาเรื่อยๆพอสอบหมอมันต้องอ่านหลายวิชามาก พอช่วงที่เก็บเนื้อหาเสร็จเรื่องที่อ่านไปแรกๆดันลืมสะงั้น หรือบางเรื่องเหมือนอย่างกับไม่เคยอ่านมาก่อน บทความนี้เราจะมาบอกสิ่งที่ทำแล้วคุณจะจำเนื้อหาที่อ่านมาไม่ได้Chapter 1 กลไกการลืม ก่อนจะรู้ว่ากลไกการลืมเราอยากให้ทุกคนมารู้จักคำสามคำนี้ก่อน-การเรียน : การรับข้อมูลเข้ามาใหม่-ความจำ : การเก็บข้อมูลและสามารถดึงข้อมูลมาใช้ได้-การลืม : การที่ความจำที่ถูกเก็บอยู่สูญเสียไป หรือ ไม่สามารถดึงข้อมูลออกมาใช้ได้ เมื่อเราได้รับข้อมูลเข้ามาผ่านประสาทสัมผัสทั้งหลายผ่านระบบประสาท เช่น อ่านหนังสือด้วยการมองเห็น เรียนด้วยการเขียน ฟังอาจารย์ด้วยการฟัง ข้อมูลที่เรารับจะถูกเปลี่ยนเป็น sensory memory เป็นความจำทันทีมีความจุมหาศาลแต่ถ้าข้อมูลใหม่เข้ามาข้อมูลเก่าจะหายไป เช่น สมมุติเราเป็นพนักงานร้านสะดวกซื้อ พอลูกค้าแจ้งเบอร์สมาชิก เราก็จะจำเบอร์สมาชิกของลูกค้าได้ทันที แต่พอลูกค้าคนนี้ผ่านไป คนต่อไปมาแจ้งเบอร์สมาชิก เราก็จะจำเบอร์คนที่สองได้ แต่ก็ลืมเบอร์ลูกค้าคนแรกไปแล้วในเวลาสั้นๆ แล้วเราจะเปลี่ยน sensory memory เป็น short term memory ได้ด้วยการใช้ พลัง, สมาธิ, ความตั้งใจ,อารมณ์ และการทบทวนซ้ำๆ สมองจะหลั่งสารสื่อประสาท เช่น dopamine หรือ norepinephrine จะทำให้แคลเซียมคลั่งที่ปลายประสาท ทำให้สัญญาณประสาทอยู่ได้นานขึ้น และยังมีกลไกอื่นๆเช่น เกิดการที่เซลล์ประสาทย้อนกลับมากระตุ้นตัวเอง เกิดการลด threshold ในการการตุ้นเซลล์ประสาทความจำ กระบวนการที่จะเปลี่ยน sensory memory เป็น short term memory เราเรียกว่า encoding ส่วนถ้าเราจะเปลี่ยนจาก short term memory เป็น long term memory ก็จะมี step เพิ่มขึ้นมา ด้วยการใช้สารสื่อประสาทที่เรียกว่า glutamate ซึ่ง glutamate ก็จะทำให้แคลเซียมในปลายประสาทเพิ่มขึ้นและก็ย้อนกลับไปกระตุ้นทำให้เกิดการหลั่ง glutamate มากขึ้น ยิ่งมีการทบทวนมากเท่าไหร่ เซลล์ประสาทก็เชื่อมกัน (ไซแนปส์) เป็นเครื่องข่ายมากขึ้น ยิ่งมีเครื่องขายมากเท่าไหร่ glutamate ก็จะมาเยอะขึ้นความจำก็จะอยู่ได้นานขึ้น เมื่อเรารู้กลไกความจำแล้วคราวนี้เราก็จะมาอธิบายกลไกการลืมกันIneffective encoding : เกิดจากระบบที่เรา input ข้อมูลเข้าไปในสมองไม่มีประสิทธิภาพเช่นอ่านแบบผ่านแต่ไม่เข้าใจDecay of memory เซลล์ประสาทหรือเครือข่ายประสาทนั้นสลายไปInterference; retroactive vs. proactive interference ข้อมูลใหม่เข้ามารบกวนข้อมูลเก่าRetrieval Failure การดึงข้อมูลล้มเหลว เปลี่ยนจาก input เป็น output ไม่ได้สิ่งที่เราอธิบายเป็นหลักการทำงานของสมองคราว ๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจได้ง่าย โดยสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำมีหลายส่วนมาก ๆ เช่น สมองส่วน hippocampus และ medial temporal lobe เป็นต้นChapter 2 ineffective encoding Encoding คือกระบวนการนำข้อมูลเข้าไปในสมองโดยวิธีการต่างๆ วิธีที่ทำให้เกิด ineffective encoding หรือการ encode ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ได้แก่อ่านพอๆให้จบ : เรายังเชื่อว่ายังมีคนที่มี mindset ที่ว่ายิ่งอยากเก่งยิ่งอ่านเยอะ การอ่านที่ไม่มีประสิทธิภาพยกตัวอย่างให้เห็นเช่นในเวลาใกล้สอบ เราก็จะอ่านพอให้จบเพื่อที่จะได้มี input เพียงพอครอบคลุมเนื้อหาที่สอบ แต่แทนที่เราจะอ่านผ่านๆไป จับประเด็นไม่ได้ ลองมาเปลี่ยนดูข้อสอบเก่าก่อน ลองฝึกเกร็งข้อสอบจะได้จับเนื้อหาประเด็นที่เราคิดว่ามันสำคัญได้ เมื่อเราคิดว่าประเด็นนี้มันสำคัญ สมองก็จะจดจำข้อมูลนั้น ยิ่งเรียนรู้จากสิ่งผิดพลาด ข้อที่เคยทำผิด สมองจะเกิด specific encoding ก็ยิ่งจะจดจำข้อที่ทำผิดได้ดีอ่านมากเกินไป : พูดง่ายคือเราต้องมองว่าเราเป็นมนุษย์คนหนึ่ง สมองก็เป็นอวัยวะอันหนึ่ง เราทุกคนไม่ใช่เครื่องจักรอ่านหนังสือ ยิ่งในสมัยนี้เห็นชัดว่าหลายคนคิดว่าจำนวนชั่วโมงในการอ่านเยอะ ๆ ในหนึ่งวัน ยิ่งแปลว่าน่าจะมีคลังข้อมูลเยอะ นี่เป็นความคิดที่ผิด input ไม่ได้เท่ากับ output ถ้าข้อมูลที่เรารับเข้ามามันมากเกินไปมันจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า overload เมื่อสมองล้าและขาดสมาธิ สมองก็จดจำไม่ได้ จากตัวผู้เขียนที่เคยอ่านหนังสือวันละ 11 ชั่วโมง เราขอบอกเลยว่ามันไม่ทำให้เราเก่งกว่าคนอื่นเลยแถมยังเสียเวลาต้องมาอ่านเรื่องเดิมเพราะจำไม่ได้ข้อมูลซับซ้อนเกินไป ยกตัวอย่างถ้าให้ทุกคนข้ามไปเรียนกรดเบส ทั้งที่ ปริมาณสารสัมพันธ์ที่เป็นพื้นฐานยังไม่แน่น เราก็อ่านแบบขี้เกียจก็ท่องจำไปให้มันจบๆ พูดง่ายคืออ่านแบบไม่เข้าใจยังไงก็ลืมความเครียด นอกจากจะมีผลต่อร่างกาย ผลต่อจิตใจและยังมีผลการเรียน ความเครียดจะไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่ง cortisol ซึ่งจะไปรบกวนสมองส่วน hippopotamus ในการ encoding ข้อมูล เพราะฉะนั้น การบริหารความเครียดในช่วงระหว่างเตรียมสอบก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่หลายคนมักมองข้ามอยู่เหมือนกันChapter 3 Decay of memory อย่างที่เราพูดไปก่อนหน้านี้ การที่จะเปลี่ยน short term memory ให้เป็น long term memory มันต้องผ่านการทำซ้ำๆ สมองถึงจะเปลี่ยน short term memory เป็น long term memory ได้ กระบวนที่สมองเปลี่ยน short term memory เป็น long term memory ทางประสาทวิทยาเราเรียกว่า consolidationอ่านแล้วไม่รีบทวน สมมุติเราเรียนพิเศษจากการฟังเทปติว การฟังมันก็คือการ encode แล้วการที่เราจดตาม ตั้งใจ คิดตามติวเตอร์ ก็เพื่อที่จะได้เกิดเป็น memory แต่ memory ที่ได้มาเป็นเพียง short term memory ถ้าเราเอาที่เรียนของวันนี้มาทบทวน ทำเหมือนเป็นสอนตัวเองโดยภาษาตัวเองมันก็จะเกิด consolidation ของสมอง และเปลี่ยนเป็น long term memory ยิ่งทบทวนบ่อยเครื่องข่ายประสาทยิ่งแข็งแกร่ง ยิ่งจำได้นานขึ้นอ่านแล้วทิ้งแน่นอนละว่าการสอบที่เนื้อหาไม่เยอะ ใช้เวลาไม่นาน อย่างเช่นสอบปลายภาค กลางภาค อันนี้อ่านวันเดียวใช้ short term memory ก็อาจจะทัน แต่ในการเตรียมตัวในการสอบที่เนื้อหาเยอะ ๆ แล้วใช้เวลานานเช่น สอบเข้ามหาลัย ทำให้ต้องใช้ long term memory เป็นอาวุธ ช่วงที่เราเป็นเด็ก admission เราก็ใช้วิธีอ่านทีละสองวิชา เนื้อหาจะได้ต่อเนื่อง แต่การอ่านแบบนี้พอวิชาหนึ่งจบแล้วทิ้งไว้ พอถึงเวลาไม่ถึงสองเดือน เราก็เริ่มลืมเนื้อหาที่อ่านจบแล้ว นั้นเป็นเพราะเราขาดการอ่านแบบเว้นช่วงจากกราฟ ถ้าสมมุติเราอ่านไว้แล้วไม่ทวน กราฟความจำก็จะลดลง สุดท้ายก็จะลืม ยิ่งเวลาทวนน้อย ยิ่งปล่อยไว้นานความจำก็จะลดลงมาก สุดท้ายก็ต้องเสียเวลาไปอ่านเรื่องนั้นใหม่ในทางกลับกันถ้าเราทวนบ่อย กราฟความจำก็จะลดลงไม่เยอะ เวลาที่ใช้ทวนก็น้อยลง เนื้อหาที่จำได้มากขึ้น เนื้อหาที่ลืมก็ลดลง ยิ่งทวนบ่อยยิ่งใช้เวลาทบทวนน้อย เราจะยกตัวอย่างเช่นสมมุติเราอ่านชีวะ เรื่องระบบย่อยอาหารรอบแรกใช้เวลาสองชั่วโมง หนึ่งวันผ่านทวนรอบที่สองใช้เวลาทวนแค่ 30 นาทีผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ทวนรอบที่สามใช้เวลาทวนเรื่องนี้แค่ 15 นาที รอบที่ 4 ใช้เวลา 10 นาที ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่ายิ่งทวนบ่อย เวลาที่ใช้ทวนก็จะสั้นลง ตามกราฟการเรียนแบบเว้นช่วง ยิ่งทวนบ่อยเครือข่ายประสาทที่สมองสร้างก็จะแข็งแกร่งขึ้นด้วย ความจำก็อยู่ได้นานมากขึ้นChapter 4 Interference; retroactive vs. proactive interference เราจะแก้ปัญหาอ่านหน้าแล้วลืมหลังได้อย่างไร ในเมื่อข้อมูลใหม่มันมารบกวนข้อมูลเก่า แต่สิ่งนี้ไม่ได้เกิดกับทุกคน ข้อมูลใหม่จะรบกวนข้อมูลเก่าต่อเมื่อเราไม่สามารถเปลี่ยน sensory memory เป็น short term memory ไม่ได้ แล้วก็เปลี่ยน short term memory เป็น long term memory ไม่ได้ และเมื่อเกิดการทบทวนซ้ำแบบที่เราพูดไปใน chapter 3 จาก long term ก็จะเป็น late long term memory ซึ่งความจำนี้จะอยู่ได้ นานกว่า long term memory ธรรมดา แล้วลืมได้ยากกว่า หรืออีกไอเดียหนึ่งถ้าเรามีข้อมูลเดิมที่แม่นพอ พอแล้วเรามีข้อมูลใหม่แล้วสามารถเอาข้อมูลใหม่ไปเชื่อมโยงกับข้อมูลเดิมมันก็จะเป็นการ encode ที่มีประสิทธิภาพและถ้าเราเข้าใจเนื้อหาอย่างแท้จริง เนื้อหาใหม่และเนื้อหาเก่านอกจากจะเชื่อมโยงกันได้ยังป้องกันการสับสนที่เกิดขึ้นChapter 5 Retrieval Failure เคยเป็นกันบ้างไหม พอเข้าห้องสอบเราเจอข้อสอบข้อหนึ่งที่อ่านมาละ คิดไว้ด้วยว่าครูจะออกจุดนี้แต่ดันนึกไม่ออก สิ่งนี้เกิดจากที่เราดึงข้อมูลออกมาใช้ไม่ได้ หรือ ดึงข้อมูลล้มเหลว ซึ่งเกิดจากการฝึกนึกที่ไม่พอ ฝึกนึกไม่พอคือการที่เรารับแต่ input แต่ไม่เคยฝึกกระบวนการเปลี่ยน input ให้ออกมาเป็น output การฝึกนึกมีหลายวิธีเช่นฝึกทำข้อสอบ หรือ ฝึกทำโจทย์ใช้แฟลชการ์ดถามตอบกับเพื่อน หรือ ถามตอบกับตัวเองเขียนหัวข้อแต่ละเรื่องไว้ เรานึกรายละเอียดตามหัวข้อนั้นๆการติวให้เพื่อน สรุปที่เราจะบอก วิธีที่อ่านแล้วทำให้จำไม่ได้อ่านพอผ่าน ๆ อ่านให้จบอ่านมากเกินไปข้อมูลที่อ่านซับซ้อนเกินไปเนื้อหายังไม่แน่นบริหารความเครียดไม่ดีอ่านแล้วไม่รีบทวนอ่านแล้วทิ้ง อ้างอิงภาพปก โดยผู้เขียนบทความภาพที่ 1 และ 3 โดยผู้เขียนบทความภาพที่ 2 โดย TungArt7ภาพที่ 4 โดย weisanjiang เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !