การนำพืชสมุนไพรมาใช้เป็นยารักษาโรคและแก้อาการต่าง ๆ นั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งคนสมัยโบราณรู้จักสมุนไพรแต่ละชนิดเป็นอย่างดีจนสามารถจำแนกได้ว่า สมุนไพรชนิดไหนควรนำมาใช้รักษาอาการเจ็บป่วยแบบไหน และใช้อย่างไร ซึ่งก็ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ของคนรุ่นก่อนและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่ในปัจจุบันนี้คนเริ่มรู้จักสมุนไพรและมีการนำมาใช้รักษาอาการต่าง ๆ น้อยลง อีกทั้งสมุนไพรบางชนิดก็เริ่มหายาก ผู้เขียนจึงมีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งในการนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะและสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดมาเผยแพร่ ให้ทุกท่านได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ และเห็นถึงคุณค่าความสำคัญของพืชสมุนไพร และในบทความนี้ผู้เขียนได้นำข้อมูลของพืชสมุนไพรที่มีความเก่าแก่อีกหนึ่งชนิดมาบอกเล่า สมุนไพรชนิดนี้มีชื่อว่า “โกฐจุฬาลัมพาไทย” ซึ่งผู้เขียนคิดว่าอาจจะไม่คุ้นหูนักแต่มีสรรพคุณไม่น้อยเลยทีเดียวภาพถ่ายโดยผู้เขียนลักษณะของต้อน “โกฐจุฬาลัมพาไทย” จัดเป็นพืชตระกูลล้มลุก อายุสั้นซึ่งจะมีอายุได้ประมาณ 1 ปี ลำต้นจะแตกกิ่งออกมา เป็นต้นอ่อนสีเขียวแกมน้ำตาล ขึ้นตรงคล้ายทรงต้นสน ลำต้นจะกลมและมีร่อง โคนต้นจะเป็นเหง้าติดกับพื้นดิน กิ่งของมันจะแตกออกจากกลางต้น ใบจะเป็นแฉกมีลักษณะคล้ายใบผักชีแต่ใหญ่กว่า จะมีรอยหยักรอบใบคล้ายกับใบเรื่อย และมีผิวเรียบ ใบที่แตกออกแฉกออกจะเป็นซี่ปลายแหลม จะมีดอกเล็ก ๆ เป็นสีขาวออกเป็นกลุ่มตามซอกใบเชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง ส่วนผลหรือเมล็ดเป็นรูปไข่ มีลักษณะกลมรี พื้นผิวเกลี้ยงไม่มีขน ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดภาพถ่ายโดยผู้เขียนสรรพคุณของ “โกฐจุฬาลัมพาไทย” บำรุงร่างกาย เป็นยาถ่าย บำรุงน้ำนม ช่วยย่อยอาหาร แก้ไข้มาลาเรีย ช่วยลดเสมหะ แก้หืดหอบ แก้ไข ช่วยขับเหงื่อ แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับลม แก้ท้องขึ้นจุกเสียด ห้ามเลือดกำเดา เป็นยาถ่ายพยาธิ บำรุงมดลูก ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวดข้อปวดกระดูกสมัยที่ผู้เขียนเป็นเด็กนั้น ที่สวนหลังบ้านมีสมุนไพรชนิดนี้ปลูกอยู่จำนวนหนึ่ง ปู่ของผู้เขียนเคยนำต้นของสมุนไพรมาตากให้แห้ง จากนั้นนำมาบดให้เป็นผล แล้วนำมาละลายน้ำดื่ม ซึ่งปู่บอกว่าเป็นน้ำสมุนไพรที่ช่วยทำให้หายไอ แล้วให้ผู้เขียนลองดื่มดู ก็รู้สึกว่าดื่มแล้วชุ่มคอขึ้น ก็รสชาติก็จะจืดเหมือนชาทั่วไป เพียงแต่มีกลิ่นฉุนนิดหน่อย และนอกจากดื่มแก้ไปแล้ว ยังเป็นยาช่วยบำรุงตับ และขับเสมหะได้เป็นอย่างดีที่กล่าวมานั้นเป็นเพียงสรรพคุณส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนมีประสบการณ์มา ซึ่งสมุนไพรชนิดนี้สามารถนำมาผสมในเครื่องยาจีนใช้ทำยาแก้อาการได้อีกหลายอย่าง และผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะทำให้ผู้อ่านทุกท่านหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับพืชสมุนไพรมากยิ่งขึ้น ภาพถ่ายโดยผู้เขียน